ข้อสังเกตปฏิกิริยาที่มีต่อข้อเสนอนิติราษฎร์
ที่มา Thai E-News
โดย Rayib Paomano
ที่มา Thais' Genuine Democracy Revival
เกือบ ๑ เดือน นับแต่ ๗ จารย์นิติราษฎร์แถลงข้อเสนอทางวิชาการ ๔ ประการ*(1)ในโอกาสครบรอบ ๕ ปีของรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นต้นมา
ปรากฏว่าก่อให้เกิดปฏิกิริยามากมายทั้งในทางลบ และบวก ทั้งในทางวิชาการ และในแวดวงสังคมโดยทั่วไป
จนผู้เขียนเห็นว่าน่าจะทำข้อสังเกตุโดยรวมเอาไว้สำหรับจับตาดูความเป็นไป ทั้งในอนาคตอันใกล้ และ/หรือระยะยาวของภาวะการณ์บ้านเมืองอันเกี่ยวเนื่องถึงเนื้อหาในข้อเสนอ เหล่านี้
เชื่อว่าเป็นที่กระจ่างแก่ทุกคนที่สนใจ ทุกภาคฝ่าย ทุกค่าย (พรรค) และแถบสีทางการเมืองแล้วว่า ข้อเสนอของนิติราษฎร์มีด้วยกัน ๔ ประเด็น แต่ถกเถียงกันมากในประเด็นลบล้างผลพวงของรัฐประหาร ๔๙ เท่านั้น
จะมีก็แต่ผู้บัญชาการทหารบกที่ประสาทไวเหลือหลายต่อในบางประเด็น ท่านได้ตอบโต้ประเด็นยกเลิกมาตรา ๑๑๒ แห่งประมวลกฏหมายอาญาอย่างทันควัน
แล้วต่อมาจึงมีด็อกเตอร์บางคนพาดพิงถึงประเด็น ม. ๑๑๒ นี้โดยอ้อม ด้วยการเสียดสีเหน็บแนมให้เข้าใจเขวไปว่าเป็นเรื่อง "ล้มเจ้า"
ส่วนประเด็นให้ความยุติธรรมตามกระบวนกฏหมาย (Due Process of Law) แก่ผู้ต้องหา และการเยียวยาผู้เสียหายจากผลพวงแห่งรัฐประหาร อันรวมถึงผู้เสียชิวิต บาดเจ็บ สูญหาย และได้รับเคราะห์กรรมจากการเข้าสลายชุมนุมเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน และ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
กับประเด็นยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่นั้น กล่าวได้ว่าไม่มีการถกเถียงในทางสาธารณะเลย
ผู้เขียนแม้ไม่ใช่นักวิชาการตามความหมายที่ว่าเป็นผู้มีอาชีพ หรือเคยมีอาชีพสอนหนังสือ ก็ขอแสดงความชื่นชมต่อการเสนอคำประกาศนิติราษฎร์ดังกล่าวว่าเป็นความกล้าหาญ "ทางวิชาการ" แม้จะมีกันเพียง ๗ ท่าน
เทียบจำนวนไม่ติดกับ ๒๓ คณาจารย์ หรือผู้มีตำแหน่งแห่งหนในมหาวิทยาลัย และสภาทนายความ
พวกท่านก็ทำให้ผู้ใฝ่รู้ได้ทราบข้อเท็จจริงในทางกฏหมาย จนเกิดความเข้าใจในเรื่องผิดผีผิดไข้ของกระบวนตุลาการแบบไทยๆ
เป็นการติดอาวุธทางปัญญาแก่มวลประชาชนให้รู้แจ้งถึงกลใน ว่าอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญแท้จริงนั้นเป็นของประชาชนผู้ซึ่งดำรงสถานะรัฐ าธิปัตย์
โดยเฉพาะคนที่อยู่นอกวงวิชาการทั้งหลายได้รับแสงสว่างของการเห็นจริง อันเนื่องจากการงอกงามทางความคิดในการวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนออย่างกว้างขวาง นี้ด้วย
นับเป็นความสำเร็จตามที่คณะนิติราษฎร์มุ่งหวังแล้วในขั้นหนึ่ง
ผู้เขียนเฝ้าจับตาการตื่นตัวของสาธารณะในข้อเท็จจริงต่างๆ รายล้อมข้อเสนอนิติราษฎร์นับแต่ต้นจนบัดนี้ไม่มีทีท่าว่าจะจืดจาง
พลันเมื่อมีคำประกาศนิติราษฎร์ออกมาเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน กับนายถาวร เสนเนียม ส.ส. ประชาธิปัตย์ ก็ทำหน้าที่ถนัดค้านสบัดทันทีว่านิติราษฎร์เสนอลบล้างความผิดให้แก่คนๆ เดียว
สื่อบางฉบับที่เป็นปฏิปักษ์กับอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร พรรคเพื่อไทย และนปช. มาตลอดอย่างไทยโพสน์ หรือที่พยายามทำตัวเป็นผู้มีความจงรักภักดีสุดโต่งอย่างสยามรัฐ ช่วยกันนำคำพูดของนายอภิสิทธิ์ และนายถาวรไปขยายผล
จนคณะนิติราษฎร์ต้องทำการแถลงข่าวชี้แจงเป็นครั้งที่สองในวันที่ ๒๕ กันยายน
ดังที่ อ.จันจิรา เอี่ยมยุรา กล่าวในการแถลงนำว่า เนื่องจาก "ส่วนหนึ่งก็เป็นไปในทิศทางการนำเสนอด้วยภาพลบอย่างยิ่ง ทำนองว่าข้อเสนอของนิติราษฎร์จะทำให้เกิดกลียุคในบ้านเมือง ระส่ำระสายวุ่นวาย นองเลือด"*(2)
ซึ่งก็คงไม่มีใครตอบการขยายผลคำพูดของนายอภิสิทธิ์ และนายถาวรได้ดีไปกว่า อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เองว่า "ผมยืนยันว่าผมไม่สนใจว่าข้อเสนอนั้นเป็นประโยชน์กับใคร ผมดูว่ามันเป็นหลักการที่ถูกต้องแล้วถ้าใครจะได้ประโยชน์ก็ให้เขาได้ ถ้าเขาเสียก็ให้เขาเสีย"... "ผมรู้สึกว่าคุณถาวร และคุณอภิสิทธิ์ ทั้งสองท่านไม่เข้าใจอะไร"..."เพราะถ้าท่านยังไม่รู้เรื่องยังมาเถียงกับผม ได้ยังไง และผมแปลกใจมากว่าทำไมพรรคประชาธิปัตย์ถึงเดือดร้อนนักกับข้อเสนออัน นี้"..."ไม่ต้องมาพูดว่า ประเทศนี้ต้องการนิติรัฐไม่ใช่นิติราษฎร์ ท่านเข้าใจหรือเปล่าว่านิติรัฐหมายความว่าอะไร"
คิดว่าหลังจากที่บทความโดย ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่อง "นิติรัฐ หรือนิติราษฎร์" ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน โดยมีเนื้อหาตอนหนึ่งว่า "นิติรัฐจึงต้องให้ความสำคัญสูงสุดแก่ความเสมอภาค จะเห็นได้ว่าแม้ในคำว่านิติรัฐ จุดเน้นก็อยู่ที่ราษฎรนั่นเอง เพราะรัฐเฉยๆ โดยไม่มีราษฎรเป็นแกนหลักนั้นไม่มี (ทั้งนี้ ยังไม่ต้องพูดในแง่ภาษาว่า รัฐกับราษฎร์นั้น ที่จริงคือคำเดียวกันในภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น)"*(3) ไปถึงเนตรถึงกรรณนายอภิสิทธิ์ และนายถาวรแล้ว ต่อไปคงจะรู้จักเก็บงำโวหารตะแบงมารไว้ใช้กับการเมืองล้วนๆ ไม่นำไปก้าวล้ำก่อกวนในขอบข่ายของการวิสาสะปัญญาอีกต่อไป
ต่อกรณีคำ "ฮึ่ม" ของพยัคฆ์ใหญ่แห่งบูรพา พล.อ. ประยุทธ จันทร์โอชา ที่หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งรายงานว่าท่าน ผบ.ทบ. เตือนว่าเสนออะไรต้องระวังสังคมแตกแยก วรเจตน์เขาตอบว่า
ในการแถลงข่าวครั้งที่สองนี้วรเจตน์ได้ให้ความกระจ่างต่อข้อเสนอของกลุ่มตน ในประเด็นอันเป็นหัวใจสำคัญ แต่ถูกสื่อมวลชนละเลย หรือมองข้าม นั่นคือการเสนอให้ลบล้างมาตรา ๓๖ และ ๓๗ ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๔๙ เพราะเป็นบทว่าด้วยการนิรโทษกรรมให้แก่คณะรัฐประหาร ซึ่งเป็นการปกป้องผู้กระทำรัฐประหารอย่างถึงที่สุดของแนวคิดเผด็จการ เป็นการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเลยว่าผู้ก่อการรัฐประหารชุดนี้ไม่มีความผิด ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต คณะนิติราษฎร์จึงเสนอทางแก้เงื่อนตายในรัฐธรรมนูญดังกล่าวด้วยตรรกะที่ว่า
หากจะสรุปว่าเหตุใดปฏิกิริยาในทางลบที่มีต่อข้อเสนอนิติราษฎร์จึงออกมา กระหน่ำอย่างฟาดหัวฟาดหาง ไม่ยอมเดินตามแนววิชาการ และท่วงทำนองของนิติราษฎร์ที่อิงหลักประชาธิปไตยเพื่อประชาชนเป็นแก่นกระพี้
คำตอบคงอยู่ในคำพูดของวรเจตน์อีกเช่นกันว่า
ซึ่งคำตอบเกี่ยวกับเรื่องคนๆ เดียวนี้ก็ชัดเจนอยู่ในคำอธิบายเพิ่มเติมข้อเสนอที่สองโดยวรเจตน์เช่นกันว่า "ไม่ใช่เป็นการนิรโทษกรรม อภัยโทษ หรือล้างมลทินของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด หากจะเริ่มดำเนินคดีกับบุคคลดังกล่าวใหม่ก็ทำได้ตามปกติ"
เหล่านี้คงพอฟันธงได้แล้วว่าการออกมาโต้โดยบิดเบี้ยวข้อเสนอนิติราษฎร์ของ นายอภิสิทธิ์ และ ผบ.ทบ. เป็นเรื่องปกป้องกล่องดวงใจ แม้ว่านายอภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์จะไม่ได้มีรายนามต่อท้าย คปค. (คณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) ชื่อย่อทางการของคณะรัฐประหาร
การไปจัดตั้งรัฐบาลของตนในกองพลทหารราบที่ ๑๑ และการไปขึ้นเวทีพันธมิตรแสดงความชื่นชมคณะรัฐประหาร ดังปรากฏหลักฐานคลิปยูทู้ปบนอินเตอร์เน็ต แม้กระทั่งเมื่อได้เป็นหัวหน้าฝ่ายค้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์แล้วก็ยังทำหน้าที่ หัวหอกทางการเมืองปกป้องทหาร เมื่อแสดงจุดยืนแข่งกับพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกลาโหม คัดค้านข้อเสนอของ นปช. ที่ขอให้มีการแก้ไขกฏหมายแต่งตั้งโยกย้ายทหาร*(4)
ก็เพียงพอยืนยันว่า ถ้าไม่ใช่ให้ท้ายรัฐประหารก็ต้องเป็นการเดินตามก้นคณะทหาร คมช. แน่นอน เช่นเดียวกับผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรง และอาณิสงค์จากผลพวงของรัฐประหารบางคนที่ออกมาเถียงข้างๆ คูๆ เบี่ยงเบนประเด็นกันต่อมา
นายสัก กอแสงเรือง แห่งสภาทนายความแห่งประเทศไทยคนหนึ่งละ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกคน ล้วนได้ดิบได้ดีจากรัฐประหารทั้งคู่
รวมทั้งนักวิชาการบางคนในกลุ่ม ๒๓ คณาจารย์ก็เคยรับงานนิติบริกรจากคณะรัฐประหารมาแล้วเช่นกัน ส่วน ดร. ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ ดูเหมือนจะเกาะกระแสเขียนบทความวิพากษ์คณะนิติราษฎร์อย่างสาดเสีย*(5) แถมยังบริภาษพาดพิงไปถึงผู้ที่เห็นคล้อยข้อเสนอนิติราษฎร์ด้วยวิธีการยกตน ข่มท่าน ดังที่ตีพิมพ์ใน น.ส.พ. มติชนว่า "แถมยังมีตัวช่วยระดับไพร่กลายเป็นอำมาตย์เพิ่มอีกเป็นอันมาก"
หวังว่าด็อกเตอร์ผู้ริอ่านเป็นนักเขียนเล่นสำนวนส่อเสียดจะได้ดังกับเขาบ้างอย่างที่ใจปรารถนา
สำหรับข้อโต้แย้งของนายสักที่เอาสมาชิกสภาทนายความ ๕ หมื่นคนมาพ่วงท้ายด้วยนั้น "ใบตองแห้ง"*(6) แห่งประชาไทออนไลน์ นักเขียนที่เด้งมาจากไทยโพสต์ เพราะโรจน์ งามแม้น เจ้าของหนังสือเขามีนโยบายตีพิมพ์ทุกอย่างที่ให้โทษทักษิณ ได้รับเอาไปสังคายนาเรียบร้อย แค่ที่ใบตองแห้งสะกิดสะเกาว่า
ผู้เขียนคงไม่จำเป็นต้องยกเนื้อความอื่นใดมาตั้งสังเกตอีก แต่ที่จำเป็นต้องเอ่ยถึงก็คือ ได้มีกลุ่มทนายความ และนักกฏหมายเพื่อสิทธิมนุษยชนออกแถลงการณ์มาซักค้านแถลงการณ์ของนายสักว่า "เป็นการทำลายหลักนิติธรรม และระบอบประชาธิปไตย อันนำความเสื่อมเสียมาสู่เกียรติภูมิของสภาทนายความ"
เช่นเดียวกับแถลงการณ์ของ ๒๓ คณาจารย์นิติศาสตร์ก็มีแถลงการณ์ของคณาจารย์ต่อต้านรัฐประหาร*(7) ขึ้นมาทัดทาน ด้วยการประกาศสนับสนุนข้อเสนอนิติราษฎร์ทั้ง ๔ ประเด็น แล้วยังชักชวนนักวิชาการอื่นๆ เข้าร่วม พร้อมทั้งเรียกร้องรัฐบาลให้ความสนใจนำไปศึกษาหาทางปฏิบัติ กับประณามการบิดเบือน และป้ายสีข้อเสนอนิติราษฎร์ ว่าเป็นการทำลายเสรีภาพทางวิชาการ และบรรยากาศประชาธิปไตย
ส่วนในเนื้อหาของแถลงการณ์ ๒๓ คณาจารย์นั้น ผู้เขียนเห็นว่าเป็นการตีขลุมบรรยายอย่างน้ำท่วมทุ่ง และตอบไม่ตรงประเด็นข้อกฏหมายที่นิติราษฎร์เสนอ เพียงเพื่อจะเบี่ยงประเด็นหาทางสรุปกล่าวหานิติราษฎร์ว่า "ยังคงมีอุดมการณ์ที่ยึดถือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และเป็นระบอบการปกครองที่ประเทศไทยยึดถือมาเป็นระยะเวลายาวนาน นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับแรกจนถึงฉบับปัจจุบันหรือไม่" เท่านั้นเอง
และแง่มุมแห่งข้อกฏหมายอันพึงมีในแถลงการณ์ ๒๓ คณาจารย์นั้น ก็มีนักศึกษากฏหมายปีสี่แห่งมหาวิทยาลัยรามคำแหงคนหนึ่งได้นำไปยำไว้บนหน้า เฟชบุ๊คแล้วอย่างถี่ถ้วน*(8) เช่นที่ว่า "ทาง ๒๓ คณาจารย์ควรสำเหนียกถึงหลักการพื้นฐานของหลักนิติรัฐ ที่ต้องประกันความเชื่อถือไว้วางใจของเอกชนที่มีต่อระบบกฎหมายของรัฐ สำหรับหลักต้นไม้เป็นพิษซึ่งเป็นหลักคิดในทางข้อเท็จจริงที่ส่งผลยุติเฉพาะ คู่ความเป็นรายคดี หาได้ส่งผลบังคับผูกพันเป็นการทั่วไปบังคับแก่บุคคลทั้งหลายไม่ การหยิบยกหลักดังกล่าวมาโจมตีข้อเสนอนิติราษฎร์จึงเป็นไปโดยความมักง่ายของ ๒๓ คณาจารย์โดยแท้"
หรือในตอนท้ายว่า
แนวคิดแบบ ๒๓ คณาจารย์ถูกนำมาตีไข่ใส่สีเสียมันย่องโดย ดร. ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ โดยเฉพาะในข้อที่อ้างถึงจิตวิทยาของอาชญากรว่า "คนที่ต้องการยกเลิกกฏหมายใด แสดงว่าเขาอยากทำผิดกฏหมายนั้น" แล้วทำทีเป็นมีอารมณ์ขันยกตัวอย่างว่าตนอยากให้ยกเลิกกฏหมายกระทำชำเรา โดยอ้างคำคมที่พวกจงรักภักดีเหนือกว่าใครๆ เคยอ้างกันบ่อยๆ ว่า "กฎหมายถึงจะมีโทษแรงแค่ไหน ผู้ที่ไม่คิดจะทำผิดกฎหมายย่อมไม่เดือดร้อน"
การกล่าวเช่นนี้เป็นวิธีใช้ตรรกะแบบศรีธนญชัยซึ่งมีแต่ด็อกเตอร์ผู้ได้รับ เศษอาหารของเผด็จการในประเทศไทย หรือทาสเผด็จการในประเทศอาหรับนิยมใช้กัน
ผู้คนที่เจริญแล้วในทางจิตสำนึก (Mentality) ประชาธิปไตยเขาจะไม่กล้าใช้ตรรกะนั้น เพราะมันแสดงถึงความป่าเถื่อนแบบสัตว์ที่ยังเป็นดิรัจฉาน ยังไม่ได้รับการฝึกให้เชื่อง หรือไม่สามารถทำให้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับมนุษย์อย่างสันติสุขได้ เมื่อการใช้เหตุ และผลไม่มีความหมาย จะต้องใช้วิธีการรุนแรง ทำร้าย และเข่นฆ่ากันให้หวาดกลัวเท่านั้น
น่าเสียดายที่ ดร. ทวีเกียรติเป็นผู้สอนวิชากฏหมาย แต่ไม่ทราบว่าหลักการทางอาชญวิทยานั้นให้กำหนดโทษเพียงพอเหมาะพอควรแก่ความ ผิด มิฉะนั้นจะเป็นการโหดร้ายทารุณ แถมทำให้ผู้ต้องโทษไม่หลาบจำด้วย..ฮ่วย
ที่จริงการกำหนดโทษรุนแรง และมีระวางโทษขั้นต่ำเพื่อให้เกิดการหวั่นเกรงมากเป็นพิเศษ ก็มีปรากฏในประเทศที่ระบบตุลาการเดินตามครรลองประชาธิปไตยอย่างสหรัฐอเมริกา เหมือนกัน ดังพบว่ามีการออกกฏหมายระบุความผิดขั้นรุนแรง (Capital Punishment) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในปัจจุบันมีการใช้ความหวาดกลัวโทษหนักเป็นเครื่องมือกำหราบ่ให้ผู้ ต้องหายอมรับสารภาพ (Plea Bargaining) ก่อนจะไปถึงการพิจารณาคดีแล้วจะได้รับลดหย่อนผ่อนโทษ
ถ้าใครยังฝืนสู้คดีต่อไปก็จะถูกอัยการเพิ่มกระทงข้อหา ซึ่งถ้าถูกพิพากษาผิดจะต้องรับโทษหนักขึ้นไปเป็นสิบเท่า กรณีเช่นนี้เรียกว่า โทษทัณฑ์ของการสู้คดี (Trial Penalty) กำลังถูกวิพากษ์อย่างมากว่าเป็นการบีบคั้น (Coercion) ที่ผิดเพี้ยนไปจากกระบวนการยุติธรรม ทำให้ผู้ต้องหาอาจรับสารภาพทั้งที่บริสุทธิ์ (ดังเช่นผู้ต้องหา ม.๑๑๒ จำนวนมากในประเทศไทย) เพราะไม่อยากติดคุกนาน หรือโดนโทษหนัก
นายริชาร์ด อี. ไมเออร์ ที่สอง อดีตผู้ช่วยอัยการรัฐบาลกลางสหรัฐ ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์สมทบภาควิชากฏหมาย มหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลน่า กล่าวว่าทางปฏิบัติซึ่งผู้ต้องหายอมรับสารภาพเพื่อหลีกเลี่ยงถูกอัยการเพิ่ม กระทงความผิดนี้ ทำให้อำนาจในการกำหนดโทษไปสะดุดอยู่ที่อัยการ แทนที่จะเป็นอำนาจวินิจฉัยของผู้พิพากษาล้วนๆ
เขาแสดงความเป็นห่วงว่าการเปลี่ยนมืออำนาจ "ถ้าไปอยู่ในมือที่ไม่เหมาะสม จะทำให้กระบวนการยุติธรรมทางคดีอาญาถูกกักเป็นตัวประกันได้"*(9)
สำหรับการที่อธิการบดีธรรมศาสตร์ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีต คตส. อีกผลพวงหนึ่งของ คปค. ร้อนใจจนต้องเขียนในเฟชบุ๊คยอกย้อนเสียดแทงนิติราษฎร์เป็นคำถามกึ่งไร้ เดียงสาถึง ๑๕ ข้อนั้ นได้มีผู้ที่ให้เกียรติต่อตำแหน่งอธิการบดีเขียนตอบกันมากมาย นับแต่อดีตคณะบดีนิติศาสตร์ มธ. อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ ผู้เคยเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ และเคยเป็นวุฒิสมาชิกจากการเลือกตั้ง กรุณาตอบด้วยหลักกฏหมายล้วนๆ เช่นว่า "ป.อาญา ม.๑๑๒ เท่าที่มีการตีความและใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีผลขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญแน่ นอน เพราะเป็นการลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนซึ่งเป็นสิทธิขั้น มูลฐานตามรธน.ของประชาชนโดยสิ้นเชิง"*(10)
นอกนั้นก็มี อ. ใจ อึ๊งภากรณ์ อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องระเห็จไปอยู่ลอนดอ นเพราะเขียนหนังสือวิพากษ์ทางวิชาการต่อคณะรัฐประหาร เลยโดนข้อหาหมิ่นสถาบันฯ ให้เกียรติ "จัดให้" เหมือนกันในข้อเขียนเรื่อง "ตอบนักวิชาการสลิ่ม.." ต่อท้ายเรื่อง "เบื้องหลังพวกเสื้อเหลืองที่คัดค้านข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์" เชิญทัศนากันเต็มๆ ที่ redthaisocialist.com
ดูเหมือนดร.สมคิดจะมีเสน่ห์มากเป็นพิเศษ ใครๆ ก็อยากตอบคำถาม ๑๕ ข้อของท่าน ไม่เพียงหนังสือพิมพ์ข่าวสดบรรจงตอบในคอลัมน์ "เหล็กใน" ว่า "โถ..อธิการบดี"*(11) แล้วคุณพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล นักศึกษากฏหมายช่วยจัดให้อย่างสมน้ำสมเนื้อ ดังตัวอย่างที่เขาตอบคำถามข้อ ๑๔ ว่า "คุณสมคิดครับ รัฐธรรมนูญเกิดทีหลัง ประชาชนซึ่งมีสิทธิเสรีภาพติดตัว (สิทธิมนุษยชน) มาก่อนรัฐธรรมนูญ ฉะนั้น แม้จะไม่มีหมวดสิทธิเสรีภาพ ถามว่าประชาชนจะไม่มีสิทธิเสรีภาพหรือ คำตอบคือเขายังมีบริบูรณ์ทุกประการ"*(12)
แต่ที่จัดให้ท่านอธิการบดี มธ. หนักกว่าใครๆ เห็นจะเป็นกลุ่มศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ที่เก่ามากๆ ย้อนไปถึงรุ่น ตมธก. ที่ไม่เพียงเขียนเป็นจดหมายเปิดผนึกเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม แล้วยังไปตั้งโต๊ะในธรรมศาสตร์ใกล้ประตูด้านสนามหลวงรณรงค์ขับไล่ ดร.สมคิดจากตำแหน่ง*(13) เนื่องจากในข้อเขียนคำถามย้อนคณะนิติราษฎร์ข้อ ๑๑ ของท่าน บังอาจหยามเหยียดผู้ประศาสน์การ ดร. ปรีดี พนมยงค์ เอาไปเทียบเคียงกับนักรัฐประหารอย่างสุจินดา ถนอม ประภาส สฤษดิ์ และจอมพล ป. จนเป็นที่ระคายเคืองให้ทายาทของท่านปรีดี นางดุษฎี บุญทัศนกุล ต้องเข้าไปโพสต์ถาม ดร.สมคิดในหน้าเฟชบุ๊คว่า "เข้าใจผิดอะไรหรือเปล่าคะ ที่พูดพาดพิงถึงนายปรีดีเกี่ยวกับการรัฐประหาร"
ต่อกรณีที่ ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ นักกฏหมายค่ายเยอรมนี เขียนคำวิจารณ์ต่อข้อเสนอนิติราษฎร์อย่างนักวิชาการแท้ๆ ก็ได้มีการวิภาษทางวิชาการจากนายพุฒิพงศ์นักศึกษากฏหมายแล้วเช่นกัน*(14) หากแต่มีบางตอนที่ ดร. กิตติศักดิ์ อ้างไว้ทำให้ผู้เขียนเกิดตะขิดตะขวง จะปล่อยเลยไปเพราะเหตุว่าท่านเป็นอาจารย์ได้ทุนไปลงแรงร่ำเรียนมามาก เหมือนอย่างที่ ดร.ทวีเกียรติใช้อ้างหลอกด่านิติราษฎร์ว่าเป็น "ต้นไม้พิษ" ก็เกิดอาการอึดอัดขัดขืนในใจ จึงขอร่วมวงวิภาษวิธีตรงนี้หน่อย
ดร. กิตติศักดิ์เขียนไว้ว่า "แม้ประชาชนจะลงประชามติไว้ว่าอย่างไรก็ตาม หากประชามติซึ่งเป็นการใช้อำนาจสูงสุดของประชาชนนั้นขัดต่อกฎหมาย ศาลซึ่งเป็นคนกลางที่เป็นอิสระก็มีอำนาจชี้ขาดว่าประชามตินั้นขัดต่อกฎหมาย และไม่มีผลบังคับ" แล้วยกตัวอย่างคดีที่ศาลสหรัฐพิพากษาแย้งประชามติการผ่านร่างข้อเสนอที่ ๘ ในแคลิฟอร์เนียห้ามบุคคลเพศเดียวกันจดทะเบียนแต่งงาน
ผู้เขียนคิดว่า ดร.กิตติศักดิ์สำคัญผิดในสถานภาพซึ่งแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเกี่ยวกับการ บังคับใช้กฏหมาย และจิตสำนึกของประชาชนต่อระบบการปกครองระหว่างสหรัฐอเมริกา และประเทศไทย
ในเรื่องห้ามบุคคลเพศเดียวกันแต่งงานในแคลิฟอร์เนียนั้น คำพิพากษาศาลรัฐบาลกลาง (ไม่ใช่ศาลสูงสุดสหรัฐ) ในคดีแพรีกับชว้าทซเน็กเกอร์เป็นเพียงตัดสินว่าการทำประชามติในข้อเสนอที่ ๘ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งฝ่ายสนับสนุนข้อเสนอนี้ได้ยื่นฎีกาต่อศาลสูงสุดแห่งมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ทันที ศาลรับคดีเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ ขณะนี้คดียังไม่สิ้นสุด ผลบังคับของประชามติยังคงดำรงอยู่
การที่ ดร. กิตติศักดิ์สรุปว่า "แต่ศาลสหรัฐอเมริกาก็ได้ยอมรับว่าเมื่อเสียงส่วนมากใช้ไปในทางที่ผิด ศาลซึ่งแม้เป็นเสียงข้างน้อยที่แสนจะน้อยก็มีหน้าที่ชี้ถูกชี้ผิดให้เสียง ข้างมากรับรู้ไว้" เป็นการสรุปที่ไม่ตรงประเด็น หรือเบี่ยงประเด็น เพราะคำพิพากษาอ้างรัฐธรรมนูญว่าการยื่นข้อเสนอ (ให้ประชาชนโหวต) นั้นผิด ไม่ใช่เสียงข้างมากที่โหวตออกมาผิด
ดังนั้นถ้าเป็นการต่อสู้คดีในอเมริกา ข้อโต้แย้งของ ดร.กิตติศักดิ์ถือว่าเสียเปล่าไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานได้
ท้ายที่สุดนี้ ดังได้กล่าวไว้ในเบื้องต้นแล้วว่าคุณูปการอันเกิดจากข้อเสนอนิติราษฎร์สำคัญ ที่สุด ก็คือก่อให้เกิดการถกเถียงอย่างกว้างขวาง และผลแห่งการแสดงปฏิกิริยาในทางลบต่อข้อเสนออย่างมีเลศนัยบ้าง อย่างเต็มไปด้วยโมหะจริตบ้าง อย่างตะแบงชนิดไร้เดียงสาบ้าง ล้วนทำให้มองเห็นประโยชน์ หรือข้อดีต่างๆ ของหลักการในข้อเสนอมากยิ่งขึ้น ข้อตำหนิจากนักวิชาการบางท่านว่าข้อเสนอนิติราษฎร์ยังไม่ละเอียด และไม่กระจ่างในบางเรื่องก็ค่อยๆ ผ่อนคลายไป
จนบัดนี้เริ่มเห็นแสงไฟที่ปลายทางบ้างแล้วว่า ความเลวร้ายทางการเมืองตลอด ๕ ปีที่ผ่านมาอันเต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำในการบังคับใช้กฏหมาย มายาคติของการแบ่งชนชั้นในสังคมระหว่าง "คนดี" ที่มีประกาศนียบัตร และปริญญาทางการศึกษา กับรากหญ้าที่มีจำนวนมากกว่าท่วมท้น และจิตสำนึกเยี่ยงสัตว์เดรัจฉานในการฆ่าหมู่ผู้คนที่ไม่ยอมนอบน้อมกราบไหว้ จะแก้ไขด้วยนามธรรมของการปรองดองอย่างเดียวไม่ได้
แต่จักต้องพร้อมกันลงมือจัดทำอย่างเป็นรูปธรรม ก้าวแรกอยู่ที่จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์
*(1) http://www.enlightened-jurists.com/blog/44
*(2) http://www.prachatai.com/journal/2011/09/37069
*(3) http://www.matichon.co.th/นิธิ เอียวศรีวงศ์
*(4) http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255410040292&tb=N255410
*(5) http://www.matichon.co.th/ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์
*(6) http://www.prachatai.com/journal/2011/09/37137
*(7) http://www.prachatai.com/journal/2011/10/37192
*(8) http://www.matichon.co.th/พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
*(9) http://www.nytimes.com/2011/09/26/us/tough-sentences-help-prosecutors
*(10) http://www.prachatai.com/journal/2011/09/37109
*(11) http://www.khaosod.co.th/โถ..อธิการบดี
*(12) http://www.enlightened-jurists.com/page/239
*(13) http://www.prachatai.com/journal/2011/10/37247
*(14) อ้างแล้วที่ (๑๒)
การ ที่ ดร. กิตติศักดิ์สรุปว่า "แต่ศาลสหรัฐอเมริกาก็ได้ยอมรับว่าเมื่อเสียงส่วนมากใช้ไปในทางที่ผิด ศาลซึ่งแม้เป็นเสียงข้างน้อยที่แสนจะน้อยก็มีหน้าที่ชี้ถูกชี้ผิดให้เสียง ข้างมากรับรู้ไว้" เป็นการสรุปที่ไม่ตรงประเด็น หรือเบี่ยงประเด็น เพราะคำพิพากษาอ้างรัฐธรรมนูญว่าการยื่นข้อเสนอ (ให้ประชาชนโหวต) นั้นผิด ไม่ใช่เสียงข้างมากที่โหวตออกมาผิด
โดย Rayib Paomano
ที่มา Thais' Genuine Democracy Revival
เกือบ ๑ เดือน นับแต่ ๗ จารย์นิติราษฎร์แถลงข้อเสนอทางวิชาการ ๔ ประการ*(1)ในโอกาสครบรอบ ๕ ปีของรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นต้นมา
ปรากฏว่าก่อให้เกิดปฏิกิริยามากมายทั้งในทางลบ และบวก ทั้งในทางวิชาการ และในแวดวงสังคมโดยทั่วไป
จนผู้เขียนเห็นว่าน่าจะทำข้อสังเกตุโดยรวมเอาไว้สำหรับจับตาดูความเป็นไป ทั้งในอนาคตอันใกล้ และ/หรือระยะยาวของภาวะการณ์บ้านเมืองอันเกี่ยวเนื่องถึงเนื้อหาในข้อเสนอ เหล่านี้
เชื่อว่าเป็นที่กระจ่างแก่ทุกคนที่สนใจ ทุกภาคฝ่าย ทุกค่าย (พรรค) และแถบสีทางการเมืองแล้วว่า ข้อเสนอของนิติราษฎร์มีด้วยกัน ๔ ประเด็น แต่ถกเถียงกันมากในประเด็นลบล้างผลพวงของรัฐประหาร ๔๙ เท่านั้น
จะมีก็แต่ผู้บัญชาการทหารบกที่ประสาทไวเหลือหลายต่อในบางประเด็น ท่านได้ตอบโต้ประเด็นยกเลิกมาตรา ๑๑๒ แห่งประมวลกฏหมายอาญาอย่างทันควัน
แล้วต่อมาจึงมีด็อกเตอร์บางคนพาดพิงถึงประเด็น ม. ๑๑๒ นี้โดยอ้อม ด้วยการเสียดสีเหน็บแนมให้เข้าใจเขวไปว่าเป็นเรื่อง "ล้มเจ้า"
ส่วนประเด็นให้ความยุติธรรมตามกระบวนกฏหมาย (Due Process of Law) แก่ผู้ต้องหา และการเยียวยาผู้เสียหายจากผลพวงแห่งรัฐประหาร อันรวมถึงผู้เสียชิวิต บาดเจ็บ สูญหาย และได้รับเคราะห์กรรมจากการเข้าสลายชุมนุมเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน และ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
กับประเด็นยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่นั้น กล่าวได้ว่าไม่มีการถกเถียงในทางสาธารณะเลย
ผู้เขียนแม้ไม่ใช่นักวิชาการตามความหมายที่ว่าเป็นผู้มีอาชีพ หรือเคยมีอาชีพสอนหนังสือ ก็ขอแสดงความชื่นชมต่อการเสนอคำประกาศนิติราษฎร์ดังกล่าวว่าเป็นความกล้าหาญ "ทางวิชาการ" แม้จะมีกันเพียง ๗ ท่าน
เทียบจำนวนไม่ติดกับ ๒๓ คณาจารย์ หรือผู้มีตำแหน่งแห่งหนในมหาวิทยาลัย และสภาทนายความ
พวกท่านก็ทำให้ผู้ใฝ่รู้ได้ทราบข้อเท็จจริงในทางกฏหมาย จนเกิดความเข้าใจในเรื่องผิดผีผิดไข้ของกระบวนตุลาการแบบไทยๆ
เป็นการติดอาวุธทางปัญญาแก่มวลประชาชนให้รู้แจ้งถึงกลใน ว่าอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญแท้จริงนั้นเป็นของประชาชนผู้ซึ่งดำรงสถานะรัฐ าธิปัตย์
โดยเฉพาะคนที่อยู่นอกวงวิชาการทั้งหลายได้รับแสงสว่างของการเห็นจริง อันเนื่องจากการงอกงามทางความคิดในการวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนออย่างกว้างขวาง นี้ด้วย
นับเป็นความสำเร็จตามที่คณะนิติราษฎร์มุ่งหวังแล้วในขั้นหนึ่ง
ผู้เขียนเฝ้าจับตาการตื่นตัวของสาธารณะในข้อเท็จจริงต่างๆ รายล้อมข้อเสนอนิติราษฎร์นับแต่ต้นจนบัดนี้ไม่มีทีท่าว่าจะจืดจาง
พลันเมื่อมีคำประกาศนิติราษฎร์ออกมาเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน กับนายถาวร เสนเนียม ส.ส. ประชาธิปัตย์ ก็ทำหน้าที่ถนัดค้านสบัดทันทีว่านิติราษฎร์เสนอลบล้างความผิดให้แก่คนๆ เดียว
สื่อบางฉบับที่เป็นปฏิปักษ์กับอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร พรรคเพื่อไทย และนปช. มาตลอดอย่างไทยโพสน์ หรือที่พยายามทำตัวเป็นผู้มีความจงรักภักดีสุดโต่งอย่างสยามรัฐ ช่วยกันนำคำพูดของนายอภิสิทธิ์ และนายถาวรไปขยายผล
จนคณะนิติราษฎร์ต้องทำการแถลงข่าวชี้แจงเป็นครั้งที่สองในวันที่ ๒๕ กันยายน
ดังที่ อ.จันจิรา เอี่ยมยุรา กล่าวในการแถลงนำว่า เนื่องจาก "ส่วนหนึ่งก็เป็นไปในทิศทางการนำเสนอด้วยภาพลบอย่างยิ่ง ทำนองว่าข้อเสนอของนิติราษฎร์จะทำให้เกิดกลียุคในบ้านเมือง ระส่ำระสายวุ่นวาย นองเลือด"*(2)
ซึ่งก็คงไม่มีใครตอบการขยายผลคำพูดของนายอภิสิทธิ์ และนายถาวรได้ดีไปกว่า อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เองว่า "ผมยืนยันว่าผมไม่สนใจว่าข้อเสนอนั้นเป็นประโยชน์กับใคร ผมดูว่ามันเป็นหลักการที่ถูกต้องแล้วถ้าใครจะได้ประโยชน์ก็ให้เขาได้ ถ้าเขาเสียก็ให้เขาเสีย"... "ผมรู้สึกว่าคุณถาวร และคุณอภิสิทธิ์ ทั้งสองท่านไม่เข้าใจอะไร"..."เพราะถ้าท่านยังไม่รู้เรื่องยังมาเถียงกับผม ได้ยังไง และผมแปลกใจมากว่าทำไมพรรคประชาธิปัตย์ถึงเดือดร้อนนักกับข้อเสนออัน นี้"..."ไม่ต้องมาพูดว่า ประเทศนี้ต้องการนิติรัฐไม่ใช่นิติราษฎร์ ท่านเข้าใจหรือเปล่าว่านิติรัฐหมายความว่าอะไร"
คิดว่าหลังจากที่บทความโดย ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่อง "นิติรัฐ หรือนิติราษฎร์" ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน โดยมีเนื้อหาตอนหนึ่งว่า "นิติรัฐจึงต้องให้ความสำคัญสูงสุดแก่ความเสมอภาค จะเห็นได้ว่าแม้ในคำว่านิติรัฐ จุดเน้นก็อยู่ที่ราษฎรนั่นเอง เพราะรัฐเฉยๆ โดยไม่มีราษฎรเป็นแกนหลักนั้นไม่มี (ทั้งนี้ ยังไม่ต้องพูดในแง่ภาษาว่า รัฐกับราษฎร์นั้น ที่จริงคือคำเดียวกันในภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น)"*(3) ไปถึงเนตรถึงกรรณนายอภิสิทธิ์ และนายถาวรแล้ว ต่อไปคงจะรู้จักเก็บงำโวหารตะแบงมารไว้ใช้กับการเมืองล้วนๆ ไม่นำไปก้าวล้ำก่อกวนในขอบข่ายของการวิสาสะปัญญาอีกต่อไป
ต่อกรณีคำ "ฮึ่ม" ของพยัคฆ์ใหญ่แห่งบูรพา พล.อ. ประยุทธ จันทร์โอชา ที่หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งรายงานว่าท่าน ผบ.ทบ. เตือนว่าเสนออะไรต้องระวังสังคมแตกแยก วรเจตน์เขาตอบว่า
""ผม กลับเห็นว่าการใช้กำลังเสียอีกที่ทำให้บ้านเมืองแตกแยก ที่บ้านเมืองแตกแยกวันนี้ไม่ได้เป็นผลจากการรัฐประหาร ๑๙ กันยา ๒๕๔๙ หรือครับ"..."ที่เรากำลังทำอยู่เพื่อให้สังคมเกิดการเรียนรู้ และป้องกันการรัฐประหาร มีคนบอกว่าข้อเสนอของเรากระตุ้นให้เกิดการรัฐประหารหรือเปล่า ผมคิดว่าความคิดแบบนี้เมื่อมันเปิดกรงออกไป และโบกบินสู่สังคมแล้ว ต่อให้นิติราษฎร์ทั้งเจ็ดคนไม่อยู่แล้ว แต่ความคิดนี้จะอยู่ในสังคม มันฆ่าไม่ตายแล้ว"
ในการแถลงข่าวครั้งที่สองนี้วรเจตน์ได้ให้ความกระจ่างต่อข้อเสนอของกลุ่มตน ในประเด็นอันเป็นหัวใจสำคัญ แต่ถูกสื่อมวลชนละเลย หรือมองข้าม นั่นคือการเสนอให้ลบล้างมาตรา ๓๖ และ ๓๗ ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๔๙ เพราะเป็นบทว่าด้วยการนิรโทษกรรมให้แก่คณะรัฐประหาร ซึ่งเป็นการปกป้องผู้กระทำรัฐประหารอย่างถึงที่สุดของแนวคิดเผด็จการ เป็นการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเลยว่าผู้ก่อการรัฐประหารชุดนี้ไม่มีความผิด ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต คณะนิติราษฎร์จึงเสนอทางแก้เงื่อนตายในรัฐธรรมนูญดังกล่าวด้วยตรรกะที่ว่า
"ถ้าประชาชนออกเสียงประชามติในรัฐธรรมนูญที่จะสถาปนาขึ้นใหม่ อำนาจนั้นสูงสุดพอที่จะประกาศได้ว่า นิรโทษกรรมนั้นเสียเปล่าได้ เท่ากับไม่เคยมีการนิรโทษกรรม และให้บุคคลที่ทำรัฐประหารต้องถูกลงโทษ"
หากจะสรุปว่าเหตุใดปฏิกิริยาในทางลบที่มีต่อข้อเสนอนิติราษฎร์จึงออกมา กระหน่ำอย่างฟาดหัวฟาดหาง ไม่ยอมเดินตามแนววิชาการ และท่วงทำนองของนิติราษฎร์ที่อิงหลักประชาธิปไตยเพื่อประชาชนเป็นแก่นกระพี้
คำตอบคงอยู่ในคำพูดของวรเจตน์อีกเช่นกันว่า
""มาตรา ๓๗ เป็นกล่องดวงใจของคณะรัฐประหาร ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์นั้นเป็นการทำลายกล่องดวงใจของคณะรัฐประหาร จึงเป็นที่เข้าใจว่า ทำไมข้อเสนอของเราจึงถูกทำให้กลายเป็นการช่วยคนๆ เดียวให้พ้นผิด"
ซึ่งคำตอบเกี่ยวกับเรื่องคนๆ เดียวนี้ก็ชัดเจนอยู่ในคำอธิบายเพิ่มเติมข้อเสนอที่สองโดยวรเจตน์เช่นกันว่า "ไม่ใช่เป็นการนิรโทษกรรม อภัยโทษ หรือล้างมลทินของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด หากจะเริ่มดำเนินคดีกับบุคคลดังกล่าวใหม่ก็ทำได้ตามปกติ"
เหล่านี้คงพอฟันธงได้แล้วว่าการออกมาโต้โดยบิดเบี้ยวข้อเสนอนิติราษฎร์ของ นายอภิสิทธิ์ และ ผบ.ทบ. เป็นเรื่องปกป้องกล่องดวงใจ แม้ว่านายอภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์จะไม่ได้มีรายนามต่อท้าย คปค. (คณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) ชื่อย่อทางการของคณะรัฐประหาร
การไปจัดตั้งรัฐบาลของตนในกองพลทหารราบที่ ๑๑ และการไปขึ้นเวทีพันธมิตรแสดงความชื่นชมคณะรัฐประหาร ดังปรากฏหลักฐานคลิปยูทู้ปบนอินเตอร์เน็ต แม้กระทั่งเมื่อได้เป็นหัวหน้าฝ่ายค้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์แล้วก็ยังทำหน้าที่ หัวหอกทางการเมืองปกป้องทหาร เมื่อแสดงจุดยืนแข่งกับพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกลาโหม คัดค้านข้อเสนอของ นปช. ที่ขอให้มีการแก้ไขกฏหมายแต่งตั้งโยกย้ายทหาร*(4)
ก็เพียงพอยืนยันว่า ถ้าไม่ใช่ให้ท้ายรัฐประหารก็ต้องเป็นการเดินตามก้นคณะทหาร คมช. แน่นอน เช่นเดียวกับผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรง และอาณิสงค์จากผลพวงของรัฐประหารบางคนที่ออกมาเถียงข้างๆ คูๆ เบี่ยงเบนประเด็นกันต่อมา
นายสัก กอแสงเรือง แห่งสภาทนายความแห่งประเทศไทยคนหนึ่งละ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกคน ล้วนได้ดิบได้ดีจากรัฐประหารทั้งคู่
รวมทั้งนักวิชาการบางคนในกลุ่ม ๒๓ คณาจารย์ก็เคยรับงานนิติบริกรจากคณะรัฐประหารมาแล้วเช่นกัน ส่วน ดร. ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ ดูเหมือนจะเกาะกระแสเขียนบทความวิพากษ์คณะนิติราษฎร์อย่างสาดเสีย*(5) แถมยังบริภาษพาดพิงไปถึงผู้ที่เห็นคล้อยข้อเสนอนิติราษฎร์ด้วยวิธีการยกตน ข่มท่าน ดังที่ตีพิมพ์ใน น.ส.พ. มติชนว่า "แถมยังมีตัวช่วยระดับไพร่กลายเป็นอำมาตย์เพิ่มอีกเป็นอันมาก"
หวังว่าด็อกเตอร์ผู้ริอ่านเป็นนักเขียนเล่นสำนวนส่อเสียดจะได้ดังกับเขาบ้างอย่างที่ใจปรารถนา
สำหรับข้อโต้แย้งของนายสักที่เอาสมาชิกสภาทนายความ ๕ หมื่นคนมาพ่วงท้ายด้วยนั้น "ใบตองแห้ง"*(6) แห่งประชาไทออนไลน์ นักเขียนที่เด้งมาจากไทยโพสต์ เพราะโรจน์ งามแม้น เจ้าของหนังสือเขามีนโยบายตีพิมพ์ทุกอย่างที่ให้โทษทักษิณ ได้รับเอาไปสังคายนาเรียบร้อย แค่ที่ใบตองแห้งสะกิดสะเกาว่า
"เอ๊ะ หรือว่าคุณสักจะอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์มาสนับสนุนรัฐประหาร หรืออ้างว่ารัฐประหารทำเพื่อสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ก็อ้างอย่างก้ำๆ กึ่งๆ ยังไงไม่รู้ ไม่เข้าใจตุ้ม ผมยังงงอยู่ว่าคุณสักแกเขียนเองหรือใช้ทนายฝึกหัดตัดแปะ แต่สรุปได้ว่าคำแถลงนี้นอกจากเลอะเทอะทางความคิดอุดมการณ์แล้ว ยังสอบตกเรื่องการทำสำนวน การใช้ภาษา การเรียงลำดับ สับสนไปมา"
ผู้เขียนคงไม่จำเป็นต้องยกเนื้อความอื่นใดมาตั้งสังเกตอีก แต่ที่จำเป็นต้องเอ่ยถึงก็คือ ได้มีกลุ่มทนายความ และนักกฏหมายเพื่อสิทธิมนุษยชนออกแถลงการณ์มาซักค้านแถลงการณ์ของนายสักว่า "เป็นการทำลายหลักนิติธรรม และระบอบประชาธิปไตย อันนำความเสื่อมเสียมาสู่เกียรติภูมิของสภาทนายความ"
เช่นเดียวกับแถลงการณ์ของ ๒๓ คณาจารย์นิติศาสตร์ก็มีแถลงการณ์ของคณาจารย์ต่อต้านรัฐประหาร*(7) ขึ้นมาทัดทาน ด้วยการประกาศสนับสนุนข้อเสนอนิติราษฎร์ทั้ง ๔ ประเด็น แล้วยังชักชวนนักวิชาการอื่นๆ เข้าร่วม พร้อมทั้งเรียกร้องรัฐบาลให้ความสนใจนำไปศึกษาหาทางปฏิบัติ กับประณามการบิดเบือน และป้ายสีข้อเสนอนิติราษฎร์ ว่าเป็นการทำลายเสรีภาพทางวิชาการ และบรรยากาศประชาธิปไตย
ส่วนในเนื้อหาของแถลงการณ์ ๒๓ คณาจารย์นั้น ผู้เขียนเห็นว่าเป็นการตีขลุมบรรยายอย่างน้ำท่วมทุ่ง และตอบไม่ตรงประเด็นข้อกฏหมายที่นิติราษฎร์เสนอ เพียงเพื่อจะเบี่ยงประเด็นหาทางสรุปกล่าวหานิติราษฎร์ว่า "ยังคงมีอุดมการณ์ที่ยึดถือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และเป็นระบอบการปกครองที่ประเทศไทยยึดถือมาเป็นระยะเวลายาวนาน นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับแรกจนถึงฉบับปัจจุบันหรือไม่" เท่านั้นเอง
และแง่มุมแห่งข้อกฏหมายอันพึงมีในแถลงการณ์ ๒๓ คณาจารย์นั้น ก็มีนักศึกษากฏหมายปีสี่แห่งมหาวิทยาลัยรามคำแหงคนหนึ่งได้นำไปยำไว้บนหน้า เฟชบุ๊คแล้วอย่างถี่ถ้วน*(8) เช่นที่ว่า "ทาง ๒๓ คณาจารย์ควรสำเหนียกถึงหลักการพื้นฐานของหลักนิติรัฐ ที่ต้องประกันความเชื่อถือไว้วางใจของเอกชนที่มีต่อระบบกฎหมายของรัฐ สำหรับหลักต้นไม้เป็นพิษซึ่งเป็นหลักคิดในทางข้อเท็จจริงที่ส่งผลยุติเฉพาะ คู่ความเป็นรายคดี หาได้ส่งผลบังคับผูกพันเป็นการทั่วไปบังคับแก่บุคคลทั้งหลายไม่ การหยิบยกหลักดังกล่าวมาโจมตีข้อเสนอนิติราษฎร์จึงเป็นไปโดยความมักง่ายของ ๒๓ คณาจารย์โดยแท้"
หรือในตอนท้ายว่า
"กรณีที่ท่านยังมีทรรศนะต่อประชาชนว่ายังไม่ ฉลาดเท่าทันนักการเมือง เช่นนี้คณาจารย์ทั้ง ๒๓ คนก็เป็นประชาชนของรัฐนี้ล่ะครับ ... และพึงสังวรณ์ถึงความป่าเถื่อนทางความคิดของคณาจารย์ทั้ง ๒๓ ที่วางเจตจำนงทางการเมืองของตนเป็นที่ตั้ง แล้วยัดเยียดความโง่ให้ประชาชนคนอื่นๆ ซึ่งอาจจะหมายถึงประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ของรัฐด้วยโดยนัย"เท่า นี้ก็คงพอทำให้เห็นตัวตนของ ๒๓ คณาจารย์ว่าไม่ต่างจากพวกที่ถือตนเป็นชนชั้นสูง นิยมวิธีแก้ปัญหาทางการเมืองโดยรัฐประหารล้มกระดาน หรือว่าใฝ่หามาตรา ๗ ซึ่งก็คือถวายคืนพระราชอำนาจทางการเมืองแก่กษัตริย์ และกลับสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
แนวคิดแบบ ๒๓ คณาจารย์ถูกนำมาตีไข่ใส่สีเสียมันย่องโดย ดร. ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ โดยเฉพาะในข้อที่อ้างถึงจิตวิทยาของอาชญากรว่า "คนที่ต้องการยกเลิกกฏหมายใด แสดงว่าเขาอยากทำผิดกฏหมายนั้น" แล้วทำทีเป็นมีอารมณ์ขันยกตัวอย่างว่าตนอยากให้ยกเลิกกฏหมายกระทำชำเรา โดยอ้างคำคมที่พวกจงรักภักดีเหนือกว่าใครๆ เคยอ้างกันบ่อยๆ ว่า "กฎหมายถึงจะมีโทษแรงแค่ไหน ผู้ที่ไม่คิดจะทำผิดกฎหมายย่อมไม่เดือดร้อน"
การกล่าวเช่นนี้เป็นวิธีใช้ตรรกะแบบศรีธนญชัยซึ่งมีแต่ด็อกเตอร์ผู้ได้รับ เศษอาหารของเผด็จการในประเทศไทย หรือทาสเผด็จการในประเทศอาหรับนิยมใช้กัน
ผู้คนที่เจริญแล้วในทางจิตสำนึก (Mentality) ประชาธิปไตยเขาจะไม่กล้าใช้ตรรกะนั้น เพราะมันแสดงถึงความป่าเถื่อนแบบสัตว์ที่ยังเป็นดิรัจฉาน ยังไม่ได้รับการฝึกให้เชื่อง หรือไม่สามารถทำให้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับมนุษย์อย่างสันติสุขได้ เมื่อการใช้เหตุ และผลไม่มีความหมาย จะต้องใช้วิธีการรุนแรง ทำร้าย และเข่นฆ่ากันให้หวาดกลัวเท่านั้น
น่าเสียดายที่ ดร. ทวีเกียรติเป็นผู้สอนวิชากฏหมาย แต่ไม่ทราบว่าหลักการทางอาชญวิทยานั้นให้กำหนดโทษเพียงพอเหมาะพอควรแก่ความ ผิด มิฉะนั้นจะเป็นการโหดร้ายทารุณ แถมทำให้ผู้ต้องโทษไม่หลาบจำด้วย..ฮ่วย
ที่จริงการกำหนดโทษรุนแรง และมีระวางโทษขั้นต่ำเพื่อให้เกิดการหวั่นเกรงมากเป็นพิเศษ ก็มีปรากฏในประเทศที่ระบบตุลาการเดินตามครรลองประชาธิปไตยอย่างสหรัฐอเมริกา เหมือนกัน ดังพบว่ามีการออกกฏหมายระบุความผิดขั้นรุนแรง (Capital Punishment) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในปัจจุบันมีการใช้ความหวาดกลัวโทษหนักเป็นเครื่องมือกำหราบ่ให้ผู้ ต้องหายอมรับสารภาพ (Plea Bargaining) ก่อนจะไปถึงการพิจารณาคดีแล้วจะได้รับลดหย่อนผ่อนโทษ
ถ้าใครยังฝืนสู้คดีต่อไปก็จะถูกอัยการเพิ่มกระทงข้อหา ซึ่งถ้าถูกพิพากษาผิดจะต้องรับโทษหนักขึ้นไปเป็นสิบเท่า กรณีเช่นนี้เรียกว่า โทษทัณฑ์ของการสู้คดี (Trial Penalty) กำลังถูกวิพากษ์อย่างมากว่าเป็นการบีบคั้น (Coercion) ที่ผิดเพี้ยนไปจากกระบวนการยุติธรรม ทำให้ผู้ต้องหาอาจรับสารภาพทั้งที่บริสุทธิ์ (ดังเช่นผู้ต้องหา ม.๑๑๒ จำนวนมากในประเทศไทย) เพราะไม่อยากติดคุกนาน หรือโดนโทษหนัก
นายริชาร์ด อี. ไมเออร์ ที่สอง อดีตผู้ช่วยอัยการรัฐบาลกลางสหรัฐ ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์สมทบภาควิชากฏหมาย มหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลน่า กล่าวว่าทางปฏิบัติซึ่งผู้ต้องหายอมรับสารภาพเพื่อหลีกเลี่ยงถูกอัยการเพิ่ม กระทงความผิดนี้ ทำให้อำนาจในการกำหนดโทษไปสะดุดอยู่ที่อัยการ แทนที่จะเป็นอำนาจวินิจฉัยของผู้พิพากษาล้วนๆ
เขาแสดงความเป็นห่วงว่าการเปลี่ยนมืออำนาจ "ถ้าไปอยู่ในมือที่ไม่เหมาะสม จะทำให้กระบวนการยุติธรรมทางคดีอาญาถูกกักเป็นตัวประกันได้"*(9)
สำหรับการที่อธิการบดีธรรมศาสตร์ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีต คตส. อีกผลพวงหนึ่งของ คปค. ร้อนใจจนต้องเขียนในเฟชบุ๊คยอกย้อนเสียดแทงนิติราษฎร์เป็นคำถามกึ่งไร้ เดียงสาถึง ๑๕ ข้อนั้ นได้มีผู้ที่ให้เกียรติต่อตำแหน่งอธิการบดีเขียนตอบกันมากมาย นับแต่อดีตคณะบดีนิติศาสตร์ มธ. อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ ผู้เคยเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ และเคยเป็นวุฒิสมาชิกจากการเลือกตั้ง กรุณาตอบด้วยหลักกฏหมายล้วนๆ เช่นว่า "ป.อาญา ม.๑๑๒ เท่าที่มีการตีความและใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีผลขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญแน่ นอน เพราะเป็นการลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนซึ่งเป็นสิทธิขั้น มูลฐานตามรธน.ของประชาชนโดยสิ้นเชิง"*(10)
นอกนั้นก็มี อ. ใจ อึ๊งภากรณ์ อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องระเห็จไปอยู่ลอนดอ นเพราะเขียนหนังสือวิพากษ์ทางวิชาการต่อคณะรัฐประหาร เลยโดนข้อหาหมิ่นสถาบันฯ ให้เกียรติ "จัดให้" เหมือนกันในข้อเขียนเรื่อง "ตอบนักวิชาการสลิ่ม.." ต่อท้ายเรื่อง "เบื้องหลังพวกเสื้อเหลืองที่คัดค้านข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์" เชิญทัศนากันเต็มๆ ที่ redthaisocialist.com
ดูเหมือนดร.สมคิดจะมีเสน่ห์มากเป็นพิเศษ ใครๆ ก็อยากตอบคำถาม ๑๕ ข้อของท่าน ไม่เพียงหนังสือพิมพ์ข่าวสดบรรจงตอบในคอลัมน์ "เหล็กใน" ว่า "โถ..อธิการบดี"*(11) แล้วคุณพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล นักศึกษากฏหมายช่วยจัดให้อย่างสมน้ำสมเนื้อ ดังตัวอย่างที่เขาตอบคำถามข้อ ๑๔ ว่า "คุณสมคิดครับ รัฐธรรมนูญเกิดทีหลัง ประชาชนซึ่งมีสิทธิเสรีภาพติดตัว (สิทธิมนุษยชน) มาก่อนรัฐธรรมนูญ ฉะนั้น แม้จะไม่มีหมวดสิทธิเสรีภาพ ถามว่าประชาชนจะไม่มีสิทธิเสรีภาพหรือ คำตอบคือเขายังมีบริบูรณ์ทุกประการ"*(12)
แต่ที่จัดให้ท่านอธิการบดี มธ. หนักกว่าใครๆ เห็นจะเป็นกลุ่มศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ที่เก่ามากๆ ย้อนไปถึงรุ่น ตมธก. ที่ไม่เพียงเขียนเป็นจดหมายเปิดผนึกเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม แล้วยังไปตั้งโต๊ะในธรรมศาสตร์ใกล้ประตูด้านสนามหลวงรณรงค์ขับไล่ ดร.สมคิดจากตำแหน่ง*(13) เนื่องจากในข้อเขียนคำถามย้อนคณะนิติราษฎร์ข้อ ๑๑ ของท่าน บังอาจหยามเหยียดผู้ประศาสน์การ ดร. ปรีดี พนมยงค์ เอาไปเทียบเคียงกับนักรัฐประหารอย่างสุจินดา ถนอม ประภาส สฤษดิ์ และจอมพล ป. จนเป็นที่ระคายเคืองให้ทายาทของท่านปรีดี นางดุษฎี บุญทัศนกุล ต้องเข้าไปโพสต์ถาม ดร.สมคิดในหน้าเฟชบุ๊คว่า "เข้าใจผิดอะไรหรือเปล่าคะ ที่พูดพาดพิงถึงนายปรีดีเกี่ยวกับการรัฐประหาร"
ต่อกรณีที่ ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ นักกฏหมายค่ายเยอรมนี เขียนคำวิจารณ์ต่อข้อเสนอนิติราษฎร์อย่างนักวิชาการแท้ๆ ก็ได้มีการวิภาษทางวิชาการจากนายพุฒิพงศ์นักศึกษากฏหมายแล้วเช่นกัน*(14) หากแต่มีบางตอนที่ ดร. กิตติศักดิ์ อ้างไว้ทำให้ผู้เขียนเกิดตะขิดตะขวง จะปล่อยเลยไปเพราะเหตุว่าท่านเป็นอาจารย์ได้ทุนไปลงแรงร่ำเรียนมามาก เหมือนอย่างที่ ดร.ทวีเกียรติใช้อ้างหลอกด่านิติราษฎร์ว่าเป็น "ต้นไม้พิษ" ก็เกิดอาการอึดอัดขัดขืนในใจ จึงขอร่วมวงวิภาษวิธีตรงนี้หน่อย
ดร. กิตติศักดิ์เขียนไว้ว่า "แม้ประชาชนจะลงประชามติไว้ว่าอย่างไรก็ตาม หากประชามติซึ่งเป็นการใช้อำนาจสูงสุดของประชาชนนั้นขัดต่อกฎหมาย ศาลซึ่งเป็นคนกลางที่เป็นอิสระก็มีอำนาจชี้ขาดว่าประชามตินั้นขัดต่อกฎหมาย และไม่มีผลบังคับ" แล้วยกตัวอย่างคดีที่ศาลสหรัฐพิพากษาแย้งประชามติการผ่านร่างข้อเสนอที่ ๘ ในแคลิฟอร์เนียห้ามบุคคลเพศเดียวกันจดทะเบียนแต่งงาน
ผู้เขียนคิดว่า ดร.กิตติศักดิ์สำคัญผิดในสถานภาพซึ่งแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเกี่ยวกับการ บังคับใช้กฏหมาย และจิตสำนึกของประชาชนต่อระบบการปกครองระหว่างสหรัฐอเมริกา และประเทศไทย
ในเรื่องห้ามบุคคลเพศเดียวกันแต่งงานในแคลิฟอร์เนียนั้น คำพิพากษาศาลรัฐบาลกลาง (ไม่ใช่ศาลสูงสุดสหรัฐ) ในคดีแพรีกับชว้าทซเน็กเกอร์เป็นเพียงตัดสินว่าการทำประชามติในข้อเสนอที่ ๘ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งฝ่ายสนับสนุนข้อเสนอนี้ได้ยื่นฎีกาต่อศาลสูงสุดแห่งมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ทันที ศาลรับคดีเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ ขณะนี้คดียังไม่สิ้นสุด ผลบังคับของประชามติยังคงดำรงอยู่
การที่ ดร. กิตติศักดิ์สรุปว่า "แต่ศาลสหรัฐอเมริกาก็ได้ยอมรับว่าเมื่อเสียงส่วนมากใช้ไปในทางที่ผิด ศาลซึ่งแม้เป็นเสียงข้างน้อยที่แสนจะน้อยก็มีหน้าที่ชี้ถูกชี้ผิดให้เสียง ข้างมากรับรู้ไว้" เป็นการสรุปที่ไม่ตรงประเด็น หรือเบี่ยงประเด็น เพราะคำพิพากษาอ้างรัฐธรรมนูญว่าการยื่นข้อเสนอ (ให้ประชาชนโหวต) นั้นผิด ไม่ใช่เสียงข้างมากที่โหวตออกมาผิด
ดังนั้นถ้าเป็นการต่อสู้คดีในอเมริกา ข้อโต้แย้งของ ดร.กิตติศักดิ์ถือว่าเสียเปล่าไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานได้
ท้ายที่สุดนี้ ดังได้กล่าวไว้ในเบื้องต้นแล้วว่าคุณูปการอันเกิดจากข้อเสนอนิติราษฎร์สำคัญ ที่สุด ก็คือก่อให้เกิดการถกเถียงอย่างกว้างขวาง และผลแห่งการแสดงปฏิกิริยาในทางลบต่อข้อเสนออย่างมีเลศนัยบ้าง อย่างเต็มไปด้วยโมหะจริตบ้าง อย่างตะแบงชนิดไร้เดียงสาบ้าง ล้วนทำให้มองเห็นประโยชน์ หรือข้อดีต่างๆ ของหลักการในข้อเสนอมากยิ่งขึ้น ข้อตำหนิจากนักวิชาการบางท่านว่าข้อเสนอนิติราษฎร์ยังไม่ละเอียด และไม่กระจ่างในบางเรื่องก็ค่อยๆ ผ่อนคลายไป
จนบัดนี้เริ่มเห็นแสงไฟที่ปลายทางบ้างแล้วว่า ความเลวร้ายทางการเมืองตลอด ๕ ปีที่ผ่านมาอันเต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำในการบังคับใช้กฏหมาย มายาคติของการแบ่งชนชั้นในสังคมระหว่าง "คนดี" ที่มีประกาศนียบัตร และปริญญาทางการศึกษา กับรากหญ้าที่มีจำนวนมากกว่าท่วมท้น และจิตสำนึกเยี่ยงสัตว์เดรัจฉานในการฆ่าหมู่ผู้คนที่ไม่ยอมนอบน้อมกราบไหว้ จะแก้ไขด้วยนามธรรมของการปรองดองอย่างเดียวไม่ได้
แต่จักต้องพร้อมกันลงมือจัดทำอย่างเป็นรูปธรรม ก้าวแรกอยู่ที่จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์
*(1) http://www.enlightened-jurists.com/blog/44
*(2) http://www.prachatai.com/journal/2011/09/37069
*(3) http://www.matichon.co.th/นิธิ เอียวศรีวงศ์
*(4) http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255410040292&tb=N255410
*(5) http://www.matichon.co.th/ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์
*(6) http://www.prachatai.com/journal/2011/09/37137
*(7) http://www.prachatai.com/journal/2011/10/37192
*(8) http://www.matichon.co.th/พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
*(9) http://www.nytimes.com/2011/09/26/us/tough-sentences-help-prosecutors
*(10) http://www.prachatai.com/journal/2011/09/37109
*(11) http://www.khaosod.co.th/โถ..อธิการบดี
*(12) http://www.enlightened-jurists.com/page/239
*(13) http://www.prachatai.com/journal/2011/10/37247
*(14) อ้างแล้วที่ (๑๒)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น