วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อย่ายุ่งกับเม่นขี้หวง

 

อย่ายุ่งกับเม่นขี้หวง

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม 2554 เวลา 00:00 น.

อย่างในคลิปภาพเจ้าเม่นเห็นแก่กินแถมยังขี้หงุดหงิดที่ชื่อว่า "เท็ดดี้ แบร์" ที่กำลังแทะฝักข้าวโพดอย่างเมามัน แต่เมื่อเจ้าหน้าที่สวนสัตว์พยายามจะดึงฝักข้าวโพดออกมาจากปาก มันก็ทำเสียงเหมือนคนอารมณ์บูดกำลังบ่นงึมงำๆ ดูทั้งตลกและแปลกประหลาด ใครรู้บ้างว่าเจ้าเท็ดดี้แบร์บ่นว่าอะไร?

ทีมเดลินิวส์ ออนไลน์

"บ้านเรือ" แคชเมียร์...วิมานบนดิน

 "บ้านเรือ" แคชเมียร์...วิมานบนดิน
 

บ้านเรือ วิมานบนดินแห่งแคชเมียร์.

Paradise On Earth...!!!

นักท่องเที่ยวในช่วงต้น คริสต์ศตวรรษที่ 20 มีบันทึกว่า...ขณะที่ ชีวิตยังมีลมหายใจความสุขบนพื้นพิภพในนี้ 1 ใน 50 อย่างที่ควรทำ คือเดินทางสู่ทะเลสาบดาล (Dal lake) แห่งแคว้นแคชเมียร์....แล้ว พักนอนใน House Boats...!!!

...House Boats อันเป็น วิมานบนดิน เกิดขึ้นในยุค ควีนส์วิคตอเรีย ซึ่งอังกฤษได้เข้ามา ครอบครองอินเดีย จึงพากันเข้ามาปักหลักโกยกอบทรัพยากรจากอาณานิคม โดยรุกจากพื้นที่ส่วนใต้ขึ้นไปจดเหนือ กระทั่งถึง แคว้นจัมมูแคชเมียร์ (JUMMU & KASHMIR) ติดกับเทือกเขาหิมาลัย

ตลาดน้ำซึ่งนำสินค้านานาชนิดมาขาย.


ความสวยงามของธรรมชาติ ได้เป็นที่หมายตาของชนชาวยุโรปที่จะเข้าเปิดบริสุทธิ์ แต่ มหาราชาโมกุล (กษัตริย์ผู้สร้างทัชมาฮาล) ได้ตั้งกฎเข้มว่า...แม้อังกฤษจะมีอำนาจเหนืออย่างไรก็ไม่อาจให้ใช้สิทธิถือ ครองที่ดินผืนนี้ ได้...!!!

นักล่าอาณานิคม จึงเลี่ยง โดยนำไม้สนซีดาร สร้างเป็นเรือ มี เอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมตามแบบของอังกฤษ แกะสลักลวดลายสวยงาม พร้อมเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ กับการใช้ชีวิตให้เสมือนอยู่ในคฤหาสน์หรูๆทั่วๆไป รังสรรค์ เป็นบ้านลอยน้ำ หรือ House Boats จึงรายเรียงตามริมทะเลสาบ...นับพันๆลำ กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่

หลังอินเดียถูกปลดปล่อยให้เป็นเอกราช ...House Boats เหล่านี้จึงตกเป็นของรัฐ ด้วยความยาวนานแห่งคาบเวลา บางลำก็ชำรุดทรุดโทรมไปบ้างเป็นธรรมดา ปัจจุบันคงเหลือพอใช้ประโยชน์ได้ราวๆ 800 ลำเท่านั้น...ต่อมาได้เปลี่ยนถ่ายมาเป็นของเอกชน จึง ปรับเป็นที่พักรองรับนักท่องเที่ยว

ความสุขภายห้องรับแขกบนเรือ.


.... แม้ว่าจะผ่านกาลเวลามายาวนาน House Boats ก็ยังคงเสน่ห์ท้าทายนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกให้เข้าไปเยือน ก่อนที่ฤดูหนาวจะเข้ามาเยือน สื่อมวลชนจากเมืองไทยกลุ่มหนึ่งจึงเจาะโอกาสเข้าไปสัมผัสวิมานบนดินแห่งนี้ ให้ถึงก้นบึ้ง โดยมอบหมายให้ นางสาวมินท์มันตา พานทอง แห่ง NISCO TRAVEL เป็นมัคคุเทศก์

...เมื่อเครื่อง IndiGo Airline ร่อนลงรันเวย์ ศรีนาคา (เมืองหลวง KASHMIR) จะถูกต้อนรับสลายความเหน็บหนาวด้วยเพลง Kashmari Floe Song จากนักดนตรีพื้นเมืองก่อนไป House Boats โดย เรือซาคารา อย่างสดสวยเสมือนกับ นั่งอยู่บนวิมานลอย ไปกับสายน้ำ

เรือซาคาราบริการจากฝั่งถึงฝั่ง.


House Boats แต่ละลำจะแบ่งสัดส่วน มีระเบียง ห้องรับแขก ห้องอาหารและเตรียมอาหาร ส่วนห้องนอนแต่ละห้องมีห้องน้ำในตัว ลำหนึ่งจะมี 2 ถึง 4 ห้อง รองรับตามความเหมาะสม ในระดับโรงแรม 4 ดาว โดยมีเจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง...เพื่อสร้าง Luxuriate ให้กับผู้มาเยือน...

โรงแรมลอย น้ำแห่งนี้อยู่กับชุมชนเมือง แต่ก็เป็นสัดส่วนของธรรมชาติที่ถูกอนุรักษ์ไว้ในสภาพคล้ายกับยังไม่เปิด บริสุทธิ์ ก่อนรุ่งตั้งแต่ 4 นาฬิกา นก Wild Duck ซึ่งหนีร้อนจากรัสเซีย จะมาปลุกด้วยการออกมาหากินบนผืนน้ำ (รัฐฯ อนุญาตให้ล่าสัตว์เหล่านี้ได้ นักท่องเที่ยวบางกลุ่มจึงซื้อปืนเพื่อยิงนกตกปลากันในช่วงเดือนธันวาคมถึง มีนาคม)

น้ำแข็งเริ่มละลายในช่วงฤดูใบไม้ผลิ.


พอ....พระอาทิตย์เริ่มทอแสง กองเรือซาคารา บรรทุกสินค้าพื้นเมือง อย่างหลายหลาก ตั้งแต่ดอกไม้ เครื่องหัตถกรรม พรม พัชมีนา ( Pashmina) ผ้าแคชเมียร์อันลือชื่อ เพชร พลอย นิล มรกต จินดา ฯลฯ มาขายถึงชานระเบียงที่พักเป็น Floating Market สร้างความสุขที่สัมผัสได้ในอีกรูปแบบหนึ่งทั้งเช้าและเย็น ก็ ถือว่าบรรลุ แต่ ยังไม่ถึงไคลแมกซ์.....เพราะศรีนาคานั้นอุดมด้วยทรัพยากรท่องเที่ยวโดยรอบ ทั้ง 8 ทิศ

Gateway to Ladkh...คือ โซนามาร์ค ใน หุบเขาซิน ช่วงฤดูใบไม้ผลิจะมี น้ำตกจากธารน้ำแข็ง แห่งเทือกเขา ทาจิวาส กับภาพเคลื่อนไหวอย่างช้าๆของธารน้ำแข็งที่ค่อยๆจะละลายหลุดออกมาเป็นก้อนๆ ใหญ่บ้างเล็กบ้าง กลิ้งจากบนลงสู่เบื้อง ล่าง ใครได้สัมผัสแล้วจะต้องบันทึกไว้ในความทรงจำ....อัน ยากที่จะลืม!!!

ธารน้ำจากการละลายของน้ำแข็ง.


The Meadow of Flower หรือ ทุ่งหญ้าแห่งดอกไม้ ใน กุลมาร์ค สูงกว่าระดับน้ำทะเล 2,730 เมตร ต้องใช้ม้าและเคเบิลคาร์จึงจะได้สัมผัสทิวทัศน์รอบข้างกับเทือกเขาสลับซับ ซ้อนซึ่งมีหิมะปกคลุมแต่ละยอด และบนพื้นที่แห่งนี้มี สนามกอล์ฟ 18 หลุม ถือว่าเป็น สนามกอล์ฟสูงที่สุดในโลก

อิ่มเอิบกับสวรรค์บนดินแล้วก็ ร่ำลากันด้วย พาฮาลแกม (Pahalgam) ในหุบเขา อารู จุดบรรจบของแม่น้ำลิดเดอร์ กับ ทะเลสาบเซซนาก ซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดกับ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ใช่เฉพาะอินเดียเท่านั้น หลายๆประเทศก็มาใช้สถานที่แห่งนี้เป็นฉากในโลกเซลูลอย...

พาหนะที่รอบริการนักท่องเที่ยวให้ขึ้นสัมผัสธรรมชาติ.


แม้วัน นั้น...จะไม่มี การถ่ายทำภาพยนตร์ แต่การไปยืนอยู่บนพิกัดก็ถือว่าได้ย่ำเหยียบทับบนรอยเท้า ระดับ Super Star ของโลกหลายดวง ก่อนที่พวกเราจะกล่าวคำว่า.......KASHMIR...KHUDA  HAFIZ  (Goodbye)!!!

 


 
 
ที่มา : www.thairath.co.th
วันที่ 10 Dec 2011 - 05:00 
 
อ่านข่าวสารผ่านมือถือ http://m.cannot.info

สนง.ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ วอนไทยแก้ไข ม.112 กิจกรรมเคลื่อนไหวกรณี "อากง" เกิดต่อเนื่อง 9-10 ธ.ค.

สนง.ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ วอนไทยแก้ไข ม.112 กิจกรรมเคลื่อนไหวกรณี "อากง" เกิดต่อเนื่อง 9-10 ธ.ค.

วันที่ 09 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เวลา 22:12:12 น.

Share




เว็บไซต์ประชาไทยรายงานว่าเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ราวินา แชมดาซานิ (Ravina Shamdasani) รักษาการโฆษกสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Office of the High Commissioner for Human Rights - OHCHR) ได้แถลงข่าวเรียกร้องให้ทางการไทยแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 เนื่องจากมองว่ากฎหมายดังกล่าวส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน


การแถลงดังกล่าวมีเนื้อหาว่า สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรทางการด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ เป็นกังวลต่อการพิจารณาคดีและการลงโทษที่ร้ายแรงด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันในประเทศไทย และผลกระทบที่สร้างความหวาดกลัวที่มีต่อเสรีภาพในการแสดงออกภายในประเทศ


แชมดาซานิ ระบุว่า บทลงโทษที่ร้ายแรงที่เป็นอยู่ เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นและยังเกินกว่าเหตุ อีกทั้งเป็นการละเมิดหลักกฎหมายสากลที่ประเทศไทยมีพันธะผูกพันในทางระหว่างประเทศด้วย


"เราขอเรียกร้องให้ทางการไทยแก้ไขกฎหมายมาตราดังกล่าว ในขณะเดียวกันก็ควรมีการกำหนดแนวทางการดำเนินการให้แก่ตำรวจและอัยการ เพื่อยุติการจับกุมและดำเนินคดีบุคคลด้วยกฎหมายดังกล่าวที่มีความคลุมเครือ และนอกจากบทลงโทษอย่างเกินกว่าเหตุแล้ว เรายังกังวลต่อการคุมขังผู้ต้องหาซึ่งมีระยะเวลานานต่อเนื่องในช่วงก่อนการไต่สวนคดีด้วย"  ตัวแทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ กล่าว


เว็บไซต์ประชาไทรายงานด้วยว่า เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 9 ธันวาคม ที่บริเวณบาทวิถีหน้าศาลอาญา รัชดา ได้มีกลุ่มคนแต่งชุดดำจำนวนกว่า 112 คน นำโดยเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และประชาชนทั่วไป ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมชื่อ "เราคืออากง" โดยมีจุดเริ่มต้นจากกรณีนายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) วัย 61 ปี โดนพิพากษาจำคุก 20 ปี จาก"คดีอากง SMS"


ผู้สื่อข่าวมติชนออนไลน์รายงานว่า ในวันที่ 10 ธันวาคมนี้ จะมีการจัดกิจกรรม "อภยยาตรา" โดยผู้เข้าร่วมจะเดินรณรงค์กรณีคดีอากง, นักโทษการเมือง และนักโทษ ม.112 จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปยังสี่แยกราชประสงค์


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1323443387&grpid=no&catid=03&subcatid=0305

 

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รถโดยสารธรรมดาเฉพาะกิจบริการฟรี เส้นทางเชื่อมต่อ ระหว่าง สายไหม-คปอ.-รพ.ภูมิพล-สะพานใหม่ เวลา 06.00-24.00 น.

จัดเมล์ฟรีบริการเส้นทาง'สายไหม-คปอ.-รพ.ภูมิพล-สะพานใหม่'

ขสมก.เปิดเดินรถเฉพาะกิจบริการฟรี เส้นทาง "สายไหม-คปอ.-รพ. ภูมิพล-สะพานใหม่" ตลอด 24 ชั่วโมงช่วยคนหลังบิ๊กแบ็กตั้งแต่วันนี้จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง...

เมื่อวันที่ 25 พ.ย. นายโอภาส เพชรมุณี ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนชาวสายไหม ในช่วงที่มีน้ำท่วมสูง ทาง ขสมก. จึงได้จัดรถโดยสารธรรมดาเฉพาะกิจบริการฟรี เส้นทางเชื่อมต่อ ระหว่าง สายไหม-คปอ.-รพ.ภูมิพล-สะพานใหม่ โดย ขสมก. จะนำรถที่มีความสูงพิเศษ จำนวน 4 คัน มาวิ่งให้บริการก่อนในช่วงนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายในการเดินทาง และหากหลังจากน้ำลดลง โดยมีความสูงของน้ำที่ 50 ซม. ทาง ขสมก.จะจัดรถวิ่งเป็นวงกลมระหว่าง วัชรพล-ออเงิน-ตลาดพงศกร-สายไหม-แยก คปอ.-รพ.ภูมิพล-ตลาดสะพานใหม่-รามอินทรา-กลับเข้าวัชรพลต่อไป 

ทั้งนี้ เส้นทางระหว่าง สายไหม-สะพานใหม่ ทาง ขสมก.จะเริ่มวิ่งให้บริการตั้งแต่วันนี้ ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป โดยในทุกๆ วันหลังจากนี้ รถ ขสมก. จะออกวิ่งให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00-24.00 น. ของทุกวัน ทั้งนี้ จะให้บริการจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง และหากประชาชนคนใดที่มีความสงสัยสามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทร. 184.

โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ

25 พฤศจิกายน 2554, 23:43 น.

 

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ผู้เชี่ยวชาญจีนคิดค้น 'ชาเขียวอึแพนด้า' ราคาแพงที่สุดในโลก

 

ผู้เชี่ยวชาญจีนคิดค้น 'ชาเขียวอึแพนด้า' ราคาแพงที่สุดในโลก

ผู้เชี่ยวชาญและศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเสฉวน ผลิตชาเขียวชนิดใหม่มีส่วนผสมพิเศษ คือ "อึ" ของ "แพนด้า" ชี้อุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ราคาแพง 1,050,000 บาท/ปอนด์...

ผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าวเอบีซีนิวส์ เผยเมื่อ 18 พ.ย. ถึง "ชา" เครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลก และว่า อัน ยาชิ ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ป่า และศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเสฉวน ได้เปิดตัวชาเขียวชนิดใหม่ทีมีส่วนผสมพิเศษ ที่อาจทำให้ชามีมูลค่าสูงถึง 35,000 ดอลลาร์/ปอนด์ (ราว 1,050,000 บาท/ปอนด์) หรือแพงที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้ สำหรับส่วนผสมสุดพิเศษที่ว่าคือ "อึ" ของ "แพนด้า" โดยผู้เชี่ยวชาญรายดังกล่าวชี้ว่า เมื่อผสมเข้ากับชาแล้วจะทำให้อุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

ศาสตราจารย์ ยาชิ เผยว่า "แพนด้ามีระบบย่อยอาหารที่ไม่ค่อยดีนัก สิ่งที่มันกินเข้าไปถูกดูซับเพียงแค่ 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นั่นหมายความว่าของเสียจากร่างกาย หรือมูลของมันเต็มไปด้วยเส้นใยอาหารและสารอาหารนานาชนิด เช่นเดียวกับชาเขียว สารอาหารจากไผ่สามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้เป็นอย่างดี" นอกจากนี้ยังหวังว่าจะได้รับการบันทึกสถิติชาแพงที่สุดในโลกจากกินเนสส์บุ๊กด้วย

อนึ่ง ชาเขียวผสมมูลแพนด้า ไม่ได้เป็นไอเดียแปลกประหลาดชนิดแรก โดยกาแฟ "โกปี ลูวัค" ของอินโดนีเซีย หรือรู้จักกันดีว่า "กาแฟขี้ชะมด" เป็นกาแฟที่ชาวไร่ เก็บมูลของชะมดที่กินเมล็ดกาแฟเข้าไป และนำมาตากแห้งก่อนนำไปคั่ว เป็นที่เลื่องลือถึงรสชาติอันกลมกล่อม และมีราคาสูงที่สุดในบรรดากาแฟทั้งหมด สนนราคาอยู่ที่ 150 ดอลลาร์/ปอนด์ (ราว 4,500/ปอนด์).

 

โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์

19 พฤศจิกายน 2554, 05:00 น.

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Thank You for Raising me Up (ขอบคุณที่ไม่ทิ้งกัน)

โดย เมื่อ 11 พ.ย. 2011

วีดีโอชิ้นนี้จัดทำขึ้นเพื่อขอบคุณวีรบุรุษที่เห็นค่าชีวิตของเหล่าสัตว์ตัวน้อย และไม่คิดทอดทิ้ง

สัตว์เลี้ยงของตัวเองหรือช่วยเหลือสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ

As Thailand endures its worst flood in half a century, whether street dogs or

household animals, most residents are leaving no pets behind .

รายการคุยข้างสนามหลวง-24




YouTube
naiissarachon just uploaded a video:
รายการคุยข้างสนามหลวง-24 อำลารายการคุยข้างสนามหลวง ก่อนเปลี่ยนชื่อรายการเป็น "คุย-ลุย-เดี่ยว" More
You can unsubscribe from notifications for this user by visiting My Subscriptions.
© 2011 YouTube, LLC
901 Cherry Ave, San Bruno, CA 94066



วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ยักษ์รับเหมาตีปีก รับงานกู้นิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง ที่อยุธยา-ปทุมธานี 1 เดือนเสร็จ




ยักษ์รับเหมาตีปีกรับบิ๊กโปรเจ็กต์ กู้นิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง ย่านอยุธยา-ปทุมธานี ผู้ประกอบการต่อสายตรงให้เร่งฟื้นฟูด่วนหลังน้ำท่วมร่วมเดือน "อิตาเลียนไทย" ได้งาน "นวนคร-โรจนะ" ฟาก "ช.การช่าง" กู้นิคมอุตฯ "บางปะอิน" ด้าน "ซิโน-ไทยฯ" คว้า "บางกะดี-บ้านหว้า" เผยแผนเร่งด่วนสูบน้ำให้หมดภายใน 1 เดือน เร่งปรับปรุงสาธารณูปโภค ส่วนมาตรการระยะยาว เตรียมสร้างแนวป้องกันคอนกรีตถาวร

 

ยักษ์รับเหมาตีปีก รับงานกู้นิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง ที่อยุธยา-ปทุมธานี 1 เดือนเสร็จ

Share



ยักษ์รับเหมาตีปีกรับบิ๊กโปรเจ็กต์ กู้นิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง ย่านอยุธยา-ปทุมธานี ผู้ประกอบการต่อสายตรงให้เร่งฟื้นฟูด่วนหลังน้ำท่วมร่วมเดือน "อิตาเลียนไทย" ได้งาน "นวนคร-โรจนะ" ฟาก "ช.การช่าง" กู้นิคมอุตฯ "บางปะอิน" ด้าน "ซิโน-ไทยฯ" คว้า "บางกะดี-บ้านหว้า" เผยแผนเร่งด่วนสูบน้ำให้หมดภายใน 1 เดือน เร่งปรับปรุงสาธารณูปโภค ส่วนมาตรการระยะยาว เตรียมสร้างแนวป้องกันคอนกรีตถาวร



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากที่รัฐบาลได้มอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เร่งกู้และฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง ในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี ที่ถูกน้ำท่วมและได้รับความเสียหายอย่างหนักตั้งแต่ช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร, บ้านหว้า (ไฮเทค), บางปะอิน, โรจนะ, แฟคตอรี่แลนด์, บางกะดี และนวนคร กลับเข้าสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด 

ล่าสุดบริษัทรับเหมารายใหญ่หลายรายได้รับการติดต่อจากผู้ประกอบการนิคมหลายแห่งให้เข้าไปเสนอแผนการฟื้นฟูแล้ว ทั้งแผนเร่งด่วนดำเนินการให้แล้วเสร็จใน 1 เดือน และมาตรการป้องกันน้ำท่วมในระยะยาว ซึ่งถือเป็นงานใหญ่งานแรกของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างหลังเกิดวิกฤตน้ำท่วม ขณะเดียวกันมีการประเมินกันว่าหลังน้ำลด บริษัทรับเหมาจะได้รับอานิสงส์จากการฟื้นฟูภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาน้ำท่วมจำนวนมาก

ไม่ว่าจะเป็นงานบูรณะถนน โรงงาน เขื่อน และโครงการขนาดใหญ่ที่รัฐบาลมีแผนลงทุนเพื่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมในระยะยาว มูลค่าหลายแสนล้านบาท 

ITD กู้ "นวนคร-โรจนะ"

นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อป เมนต์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้เข้าไปเสนอแผนฟื้นฟูให้ผู้ประกอบการนิคมนวนครพิจารณาแล้ว โดยแผนงานที่เสนอไปมี 2 ระยะ คือ 1) ระยะเร่งด่วน จะดำเนินการทันทีหลังจากระดับน้ำลดลงในระดับเท่ากับแนวคันกั้นน้ำเดิมที่นิคมสร้างไว้ โดยจะใช้เครื่องปั๊มน้ำจำนวน 20 ตัว สูบน้ำที่ท่วมขังออกโดยเร็ว จากนั้นจะซ่อมแซม คันกั้นน้ำเดิมที่เป็นคันดินให้ใช้การได้ชั่วคราว คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน 

2) ระยะยาว จะสร้างคันกั้นน้ำถาวรรอบนิคม ระยะทางรวม 19 กิโลเมตร โดยจะเปลี่ยนจากคันดินเป็นคอนกรีต และเพิ่มระดับความสูงจากเดิม 4-5 เมตร เป็น 6.50 เมตร รวมทั้งฝังเสาเข็มให้ลึกจากผิวดินลงไปอีก 10 เมตร เพื่อให้สามารถต้านแรงน้ำได้มากขึ้น นอกจากที่นวนครแล้วจะเข้าไปเสนอแผนฟื้นฟูนิคมอื่น ๆ ด้วย

ขณะที่นายพลพัฒ กรรณสูต กรรมการผู้จัดการ บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ เปิดเผยว่า บริษัทได้ร่วมกับบมจ.คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) และบริษัท อิตาเลียนไทยฯ เข้าไปรับงานฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ล่าสุด อยู่ระหว่างจัดทำแผนงานเสนอให้ผู้ประกอบการนิคมดังกล่าวพิจารณา 

โดยแผนฟื้นฟูเร่งด่วนจะเป็นเรื่องของการเข้าไปสูบน้ำออกจากนิคมให้เร็วที่สุด หลังจากที่ระดับน้ำเริ่มลดลง โดยจะใช้เครื่องสูบน้ำจำนวน 100 เครื่อง คาดว่าจะใช้เวลาสูบน้ำออกได้หมดภายใน 1 เดือน จากนั้นจะเข้าไปปรับปรุงระบบต่าง ๆ เช่น ซ่อมคันกั้นน้ำเดิม ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่ได้รับความเสียหาย เนื่องจากขณะนี้น้ำยังไม่ลด จึงยังไม่สามารถระบุแผนที่จะเป็นมาตรการถาวรได้ว่าจะต้องบูรณาการอะไรบ้าง 

ช.การช่างฟื้น "บางปะอิน"

นายอนุกุล ตันติมาสน์ กรรมการและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานทรัพยากรมนุษย์และบริหารทั่วไป บมจ.ช.การช่าง เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างทำรายละเอียดการฟื้นฟูเสนอให้นิคมอุตสาหกรรมบางปะอินพิจารณาเช่นเดียวกัน เบื้องต้นต้องเข้าไปสำรวจก่อนว่าจะเข้าไปฟื้นฟูพื้นที่ส่วนใดบ้าง ซึ่งจะดำเนินการได้หลังจากที่น้ำลดลงมาในระดับที่สามารถเข้าไปดำเนินการได้ จากปัจจุบันที่ระดับน้ำยังสูงอยู่จึงไม่สามารถให้รายละเอียดอะไรได้มาก 

"ตามที่วางแผนไว้จะเร่งสูบน้ำออกจากนิคมให้เร็วที่สุด เพื่อให้สามารถเข้าไปฟื้นฟูระบบสาธารณูปโภคภายในหลังน้ำลด เช่น ถนน ระบบไฟฟ้า ประปา"

ซิโน-ไทยเคลียร์ "บางกะดี-ไฮเทค"

ด้านนายวรัช กุศลมโนมัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการส่วนงานปฏิบัติการ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เปิดเผยว่า บริษัทได้รับการติดต่อจากผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมบางกะดี และบ้านหว้า (ไฮเทค) เพื่อให้เข้าไปฟื้นฟูให้ ซึ่ง จะเข้าไปดำเนินการหลังระดับน้ำเริ่มลดลงกว่านี้ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้กลางเดือนพฤศจิกายนนี้เป็นต้นไป เนื่องจากผู้ประกอบการต้องการให้เข้าไปกอบกู้นิคมโดยเร็ว เพื่อที่จะได้กลับมาเปิดดำเนินการอีกครั้ง 

"ทั้ง 2 นิคมจะใช้วิธีเดียวกัน คือเร่งเคลียร์พื้นที่และระบบต่าง ๆ ที่เสียหายทั้งหมดให้ใช้งานได้ชั่วคราว ก่อนจะวางมาตรป้องกันในระยะยาวต่อไป เพราะตอนนี้น้ำยังไม่ลด ยังไม่รู้ว่ามีอะไร เสียหายบ้าง งานด่วนคือจะเร่งสูบ น้ำออกโดยเร็วที่สุด คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 10-20 วัน จากนั้นจะซ่อมถนน แนวคันกั้นน้ำเดิม ระบบไฟฟ้า ประปา ให้ใช้งานได้" นายวรัชกล่าว 

ท่วมไม่ได้

ท่วมไม่ได้

วันที่ 04 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 21:00:00 น.

Share




โดย สุริวงค์ เอื้อปฏิภาน 

(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 4 พฤศจิกายน 2554)

รัฐบาลทุกประเทศในโลก มักต้องใช้กองทัพเข้ามาเป็นกำลังหลักในการแก้ไขและกอบกู้ เมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติร้ายแรง เพราะทหารเป็นหน่วยงานที่มีกำลังพลซึ่งฝึกฝนจนมีพลกำลังแข็งแกร่ง อดทนสู้แดดสู้ฝน มีระเบียบวินัยสูง ไปจนถึงมีเครื่องไม้เครื่องมือพาหนะที่มากด้วยประสิทธิภาพ

อย่างรถยีเอ็มซี ซึ่งถือว่าวิเศษสุดในยามน้ำท่วมสูง ก็มีใช้มากในหน่วยทหาร

ขับออกมารับส่งช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัย ได้ประโยชน์มากสุด

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์จะใช้บริการของกองทัพเป็นกำลังหลักในวิกฤตน้ำท่วมครั้งร้ายแรงในรอบ 50 ปีนี้

ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ก็นั่ง ฮ. นั่งรถตรวจการณ์ร่วมกับนายกฯหญิงอยู่เสมอๆ

รัฐบาลกับทหารในท่ามกลางอภิมหาน้ำท่วม เป็นเช่นนี้เหมือนกันทั่วโลก 

ไม่เว้นประเทศไทย

ไม่รู้จะหยิบไปวิเคราะห์เป็นกลเกม 7 ชั้น 8 ชั้นเพื่ออะไร

เมื่อรัฐบาลสั่ง กองทัพก็ต้องปฏิบัติตาม ยิ่งเป็นภัยร้ายแรงที่กระทบประชาชนในวงกว้างขนาดนี้ มีหรือทหารจะไม่ทุ่มเทอย่างเต็มร้อย

เห็นชาวบ้านทุกข์ทรมานแสนสาหัส เดือดร้อนไร้ที่พักพิงหิวโหยขาดแคลนทุกสิ่งขนาดนี้

ทุกหน่วยงานราชการต้องโถมตัวเข้าช่วยเหลือ ไม่มีเรื่องการเมืองการมุ้งมาอยู่ในสมองอย่างแน่นอน

ขณะเดียวกัน ความรุนแรงที่แผ่กว้างไปหลายจังหวัด จนล่าสุดเล่นงานชาวกรุงเทพฯไปเกือบครึ่งเมืองแล้ว

บรรดาผู้ที่ได้รับผลกระทบย่อมมีอารมณ์ความรู้สึกโกรธแค้นรัฐบาล

คงเป็นเรื่องยากที่ใครถูกน้ำจมบ้านแล้วยังยิ้มร่า บอกว่าไม่เป็นไร เข้าใจดี ไม่โกรธเลยแม้แต่น้อย

ก็คงมีอยู่บ้าง แต่ไม่ใช่คนส่วนข้างมาก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวเมืองหลวง หมู่บ้านจัดสรรระดับเศรษฐีของเหล่าไฮโซ บุคคลที่มีสถานะทางสังคม จมน้ำกันไปไม่น้อย

คนพวกนี้เสียงดัง มีสื่อในมือที่ทรงพลัง

เลยโถมถล่มเสียงวิจารณ์รัฐบาลอย่างอึงอล

ก่อนจะถูกจับได้ว่า ก่อนหน้านี้คนนครสวรรค์ คนอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี หมดเนื้อหมดตัวก็ยังไม่มีมุมมองถึงแผนปฏิบัติของรัฐบาลได้ขนาดนี้

จนเมื่อบ้านของท่านเหล่านี้โดนน้ำเข้ามาเยือน นั่นแหละการวิพากษ์ระดับยุทธศาสตร์แก้ปัญหาของนายกฯยิ่งลักษณ์จึงผุดออกมาเป็นชุด

บ้างก็เผลอยกเรื่องบ้านตนเองเป็นประเด็นสำคัญ เพื่อโจมตีรัฐบาล 

ราวกับว่าบ้านของเขานั้นสำคัญที่สุดกว่าทุกคนในประเทศนี้ที่โดนน้ำท่วมกันมากมาย

จริงอยู่ ในฐานะประชาชนผู้เสียภาษีย่อมสามารถตั้งคำถามต่อประสิทธิภาพของรัฐบาลในเหตุการณ์ครั้งนี้ได้ และมีประเด็นให้ต้องสงสัยในแผนปฏิบัติหลายประการ

แต่ไม่ใช่เอาตนเองเป็นศูนย์กลาง

บ้านกรูท่วมไม่ได้ ถ้าท่วมแล้วรัฐบาลต้องพัง

หรือหลายรายก็ด่าว่าอย่างขาดสติ จนเสียผู้เสียคนไปตามๆ กัน

แทบเอาตัวไม่รอดกลางน้ำท่วมไปหลายราย


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1320399110&grpid=no&catid=02&subcatid=0207

 

ดาวอาสาลิเดีย2.flv







อัปโหลดโดย เมื่อ 1 พ.ย. 2011

ดาวอาสา ลิเดียมาร่วมบริจาคยาให้คนเร่ร่อนหรือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะคลองหลอด พร้อมทั้งรับฟังปัญหาของคนที่นี่ ตอนถ่ายทำฝนตกทั้งวัน - - ทุกคนเลยต้องใส่ชุดกันฝนถ่ายทำกันในเทปนี้ค่ะ คนเร่ร่อนหรือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะไม่ใช่คนไม่มีบ้านอยู่ แต่ออกจากบ้านเพราะ "ถูกกดดันจิตใจ" เช่น บางคนถูกพี่น้องตามฆ่าเอามรดก , ลูกทอดทิ้ง ฯลฯ อย่าง...ยายมาจากจ.อยุธยา มาอยู่สนามหลวงตั้งแต่อายุ 14 ปี กะว่ามากรุงเทพฯ สร้างอนาคต แต่...ไม่มีไรดีขึ้น - - เลยขายข้าวแกงตั้งแต่จานละ 1 บ. จนทุกวันนี้ ไม่มีญาติที่ไหนอีก ปักหลักที่นี่เลย ตอนนี้ปวดขาเดินไม่ได้ - - ตาก็มองไม่เห็น แต่...บางคนก็จบ ป.ตรี ป.โท ยังมาใช้ชีวิตที่นี่ เพราะไม่มีที่ไป - - เข้าบ้านไม่ได้ สารพัดปัญหาครอบครัว - - พี่น้องฆ่ากันเอง ลูกจะฆ่าพ่อ-แม่เอาสมบัติ

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เพลง เปลี่ยนน้ำท่วมให้เป็นน้ำใจ (full)


อัปโหลดโดย เมื่อ 18 ต.ค. 2011

โดย ศิลปินและชาวบ้านผู้ประัสบภัยจากพื้นที่จริง
ดูแลการผลิตโดย อรุณศักดิ์ อ่องลออ
สามารถบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ที่ กองทุนร้อยน้ำใจ

เพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โอนเงินเข้าบัญชีกองทุนร้อยน้ำใจ

มูลนิธิโอเพ่นแคร์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาแจ้งวัฒนะ เลขที่บัญชี 402-177853-3

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

INN ช่วยแฉเหตุ! "กรมชลฯ มัวแต่จัดเลี้ยงปาร์ตี้เกษียณ-ใส่เกียร์ว่าง"

 

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

INN ช่วยแฉเหตุ! "กรมชลฯ มัวแต่จัดเลี้ยงปาร์ตี้เกษียณ-ใส่เกียร์ว่าง"

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

เขียนโดย JJ_Sathon



ยามนี้ ถ้าไม่พูดถึงสถานการณ์น้ำท่วมเมืองสยาม คงต้องตกยุคตกสมัยเป็นแน่แท้

โดนกันอย่างทั่วหน้าทุกภูมิภาคของประเทศไทย
หนักที่สุดตอนนี้คงต้องยกให้กับภาคกลาง
ไล่มาตั้งแต่ "จ.นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี
และ นนทบุรี" ส่วนทางภาคตะวันตก อย่าง จ.สุพรรณบุรี และ นครปฐม ก็โดน แต่ยังไม่มากนัก

เหตุที่ทางภาคตะวันตกยังประสบปัญหาน้ำท่วมไม่หนักนั้น
ไม่รู้ว่าจะชื่นชม "บิ๊กเติ้ง บรรหาร ศิลปอาชา" ดีหรือเปล่า
มันก็ดีหรอกนะที่น้ำไม่ท่วมบ้านตัวเอง แต่มันจะดีจริงเหรอที่น้ำไปทะลักเข้าบ้านคนอื่น
ทั้งๆ ที่ช่วยได้ แต่ก็ไม่ช่วยกันแบ่งเบา ก็แล้วแต่นานาทัศนะกับกรณีนี้

เรื่องความเสียหายคงไม่ต้องพูดถึง
เพราะความเสียหายครั้งนี้ไม่ได้น้อยไปกว่าที่ประเทศญี่ปุ่น
ประสบกับ "โศกนาฏกรรมสึนามิ " เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ที่ผ่านมา
ภาพที่เห็นไม่ได้น่ากลัวและรุนแรงอย่างคลื่นยักษ์
แต่น้ำที่หลากหรือล้นตลิ่ง มันก็เคลื่อนตัวทำลายล้างทุกสิ่งได้เช่นกัน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความเสียหายใดก็ไม่เท่ากับความเสียหายที่เกิดจากความแตกแยก
ของพี่น้องคนไทยด้วยกัน

ภาพพี่น้องคนไทยต่างฝ่ายต่างโต้เถียง ด่าท่อใส่กันตามแนวคันกั้นน้ำ
ภาพการเข้าพังกระสอบทราย
ภาพของการถือมีดวิ่งไล่ฟันผู้ประสบภัยด้วยกัน อันเนื่องมาจากความเครียด
ภาพเหล่านี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับสังคมไทยและสังคมชนบทเลย
แม้แต่นิด

อย่างที่เรารู้กัน น้ำที่ท่วมภาคกลางนั้นลงมาจากภาคเหนือ "แม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน"
ไหลมารวมกันที่ปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ ก่อนไหลเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ลงสู่อ่าวไทย จ.สมุทรปราการ

น้ำจำนวนมหาศาลก้อนนี้ "กรมชลประทาน" เป็นผู้ที่น่าจะรู้ดีที่สุด
คิดกันง่ายๆ ไม่ต้องคิดมาก คือ
กรมชลฯ รู้ทั้งรู้ว่าจะมีน้ำก้อนใหญ่ไหลมาจากภาคเหนือ
มันก็เกิดคำถามว่า ทำไมกรมชลฯ ไม่รีบผันน้ำที่มีอยู่แล้วออกอ่าวไทยให้เร็วที่สุด
เพื่อที่แม่น้ำแต่ละสายจะได้มีพื้นที่รองรับน้ำ
เพราะอาจจะทำให้หนักเป็นเบาได้
ทำไมไม่ใช้ประตูระบายน้ำแต่ละประตูให้เกิดประโยชน์ เมื่อไม่ใช้แล้วจะสร้างขึ้นมาทำไม

คงไม่กล้ากล่าวโทษกรมชลฯ ที่เป็นผู้ทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรงอยู่ขณะนี้
ถ้าไม่เคยประสบกับเหตุที่กรมชลฯ เคยทำผิดพลาดมา
ขอย้อนกลับไปเมื่อปี 2549 ณ บ้านเกิด "จ.นครปฐม" ประสบกับปัญหาน้ำท่วมอย่างหนัก
อันเพราะเกิดจากกรมชลฯ ไม่ระบายน้ำจากแม่น้ำสุพรรณบุรี เข้าสู่แม่น้ำท่าจีน
เมื่อไม่ระบายก็เกิดการอั้น จนในที่สุด ประตูน้ำไม่สามารถรองรับน้ำได้อีก
จึงตัดสินใจเปิดประตูน้ำกลางดึกตูมเดียว
เข้าแม่น้ำท่าจีน ต.บางหลวง อ.บางเลน จมน้ำก่อนใคร พื้นที่ไร่นา บ้านเรือนอยู่ใต้น้ำ
เจ้าของสวนกล้วยไม้บางรายถึงกับหมดตัว

ถ้ากรมชลฯ มีแผนการทำงานที่ดีกว่านี้ ความเสียหายครั้งนั้นก็คงไม่เกิดขึ้น.!!!

ครั้งนี้ก็เช่นกัน กรมชลฯ รู้สึกตัวช้าเกินไป
หรือกรณี "ประตูระบายน้ำบางโฉมศรี พัง" ยังคงต้องใช้เวลาอันยาวนานในการซ่อมแซม
นี่ก็ยังไม่รู้ว่าจะเสร็จเมื่อไหร่กันแน่ แล้วอย่างนี้ ประชาชนตาดำๆ เขาจะอยู่กันอย่างไร

"ไม่รู้ว่าเหตุที่กรมชลฯ รู้สึกตัวช้า
เพราะมัวแต่เตรียมจัดงานเลี้ยงให้กับข้าราชการที่เกษียณอายุราช
รวมถึงข้าราชการที่จะเกษียณอายุก็ปลดเกียร์ว่างตั้งแต่ 2 เดือนก่อนหรือเปล่า...."


**************
นรภัทร ตรีแดงน้อย ..รายงาน

Link : http://www.innnews.co.th/น้ำท่วมนั้นเพราะใครกัน--312739_34.html 


http://www.go6tv.com/2011/10/inn_14.html

ข้อสังเกตปฏิกิริยาที่มีต่อข้อเสนอนิติราษฎร์

ข้อสังเกตปฏิกิริยาที่มีต่อข้อเสนอนิติราษฎร์

ที่มา Thai E-News

การ ที่ ดร. กิตติศักดิ์สรุปว่า "แต่ศาลสหรัฐอเมริกาก็ได้ยอมรับว่าเมื่อเสียงส่วนมากใช้ไปในทางที่ผิด ศาลซึ่งแม้เป็นเสียงข้างน้อยที่แสนจะน้อยก็มีหน้าที่ชี้ถูกชี้ผิดให้เสียง ข้างมากรับรู้ไว้" เป็นการสรุปที่ไม่ตรงประเด็น หรือเบี่ยงประเด็น เพราะคำพิพากษาอ้างรัฐธรรมนูญว่าการยื่นข้อเสนอ (ให้ประชาชนโหวต) นั้นผิด ไม่ใช่เสียงข้างมากที่โหวตออกมาผิด

โดย Rayib Paomano
ที่มา Thais' Genuine Democracy Revival



เกือบ ๑ เดือน นับแต่ ๗ จารย์นิติราษฎร์แถลงข้อเสนอทางวิชาการ ๔ ประการ*(1)ในโอกาสครบรอบ ๕ ปีของรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นต้นมา

ปรากฏว่าก่อให้เกิดปฏิกิริยามากมายทั้งในทางลบ และบวก ทั้งในทางวิชาการ และในแวดวงสังคมโดยทั่วไป

จนผู้เขียนเห็นว่าน่าจะทำข้อสังเกตุโดยรวมเอาไว้สำหรับจับตาดูความเป็นไป ทั้งในอนาคตอันใกล้ และ/หรือระยะยาวของภาวะการณ์บ้านเมืองอันเกี่ยวเนื่องถึงเนื้อหาในข้อเสนอ เหล่านี้

เชื่อว่าเป็นที่กระจ่างแก่ทุกคนที่สนใจ ทุกภาคฝ่าย ทุกค่าย (พรรค) และแถบสีทางการเมืองแล้วว่า ข้อเสนอของนิติราษฎร์มีด้วยกัน ๔ ประเด็น แต่ถกเถียงกันมากในประเด็นลบล้างผลพวงของรัฐประหาร ๔๙ เท่านั้น

จะมีก็แต่ผู้บัญชาการทหารบกที่ประสาทไวเหลือหลายต่อในบางประเด็น ท่านได้ตอบโต้ประเด็นยกเลิกมาตรา ๑๑๒ แห่งประมวลกฏหมายอาญาอย่างทันควัน

แล้วต่อมาจึงมีด็อกเตอร์บางคนพาดพิงถึงประเด็น ม. ๑๑๒ นี้โดยอ้อม ด้วยการเสียดสีเหน็บแนมให้เข้าใจเขวไปว่าเป็นเรื่อง "ล้มเจ้า"

ส่วนประเด็นให้ความยุติธรรมตามกระบวนกฏหมาย (Due Process of Law) แก่ผู้ต้องหา และการเยียวยาผู้เสียหายจากผลพวงแห่งรัฐประหาร อันรวมถึงผู้เสียชิวิต บาดเจ็บ สูญหาย และได้รับเคราะห์กรรมจากการเข้าสลายชุมนุมเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน และ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓

กับประเด็นยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่นั้น กล่าวได้ว่าไม่มีการถกเถียงในทางสาธารณะเลย

ผู้เขียนแม้ไม่ใช่นักวิชาการตามความหมายที่ว่าเป็นผู้มีอาชีพ หรือเคยมีอาชีพสอนหนังสือ ก็ขอแสดงความชื่นชมต่อการเสนอคำประกาศนิติราษฎร์ดังกล่าวว่าเป็นความกล้าหาญ "ทางวิชาการ" แม้จะมีกันเพียง ๗ ท่าน

เทียบจำนวนไม่ติดกับ ๒๓ คณาจารย์ หรือผู้มีตำแหน่งแห่งหนในมหาวิทยาลัย และสภาทนายความ

พวกท่านก็ทำให้ผู้ใฝ่รู้ได้ทราบข้อเท็จจริงในทางกฏหมาย จนเกิดความเข้าใจในเรื่องผิดผีผิดไข้ของกระบวนตุลาการแบบไทยๆ

เป็นการติดอาวุธทางปัญญาแก่มวลประชาชนให้รู้แจ้งถึงกลใน ว่าอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญแท้จริงนั้นเป็นของประชาชนผู้ซึ่งดำรงสถานะรัฐ าธิปัตย์

โดยเฉพาะคนที่อยู่นอกวงวิชาการทั้งหลายได้รับแสงสว่างของการเห็นจริง อันเนื่องจากการงอกงามทางความคิดในการวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนออย่างกว้างขวาง นี้ด้วย

นับเป็นความสำเร็จตามที่คณะนิติราษฎร์มุ่งหวังแล้วในขั้นหนึ่ง

ผู้เขียนเฝ้าจับตาการตื่นตัวของสาธารณะในข้อเท็จจริงต่างๆ รายล้อมข้อเสนอนิติราษฎร์นับแต่ต้นจนบัดนี้ไม่มีทีท่าว่าจะจืดจาง

พลันเมื่อมีคำประกาศนิติราษฎร์ออกมาเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน กับนายถาวร เสนเนียม ส.ส. ประชาธิปัตย์ ก็ทำหน้าที่ถนัดค้านสบัดทันทีว่านิติราษฎร์เสนอลบล้างความผิดให้แก่คนๆ เดียว

สื่อบางฉบับที่เป็นปฏิปักษ์กับอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร พรรคเพื่อไทย และนปช. มาตลอดอย่างไทยโพสน์ หรือที่พยายามทำตัวเป็นผู้มีความจงรักภักดีสุดโต่งอย่างสยามรัฐ ช่วยกันนำคำพูดของนายอภิสิทธิ์ และนายถาวรไปขยายผล

จนคณะนิติราษฎร์ต้องทำการแถลงข่าวชี้แจงเป็นครั้งที่สองในวันที่ ๒๕ กันยายน

ดังที่ อ.จันจิรา เอี่ยมยุรา กล่าวในการแถลงนำว่า เนื่องจาก "ส่วนหนึ่งก็เป็นไปในทิศทางการนำเสนอด้วยภาพลบอย่างยิ่ง ทำนองว่าข้อเสนอของนิติราษฎร์จะทำให้เกิดกลียุคในบ้านเมือง ระส่ำระสายวุ่นวาย นองเลือด"*(2)

ซึ่งก็คงไม่มีใครตอบการขยายผลคำพูดของนายอภิสิทธิ์ และนายถาวรได้ดีไปกว่า อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เองว่า "ผมยืนยันว่าผมไม่สนใจว่าข้อเสนอนั้นเป็นประโยชน์กับใคร ผมดูว่ามันเป็นหลักการที่ถูกต้องแล้วถ้าใครจะได้ประโยชน์ก็ให้เขาได้ ถ้าเขาเสียก็ให้เขาเสีย"... "ผมรู้สึกว่าคุณถาวร และคุณอภิสิทธิ์ ทั้งสองท่านไม่เข้าใจอะไร"..."เพราะถ้าท่านยังไม่รู้เรื่องยังมาเถียงกับผม ได้ยังไง และผมแปลกใจมากว่าทำไมพรรคประชาธิปัตย์ถึงเดือดร้อนนักกับข้อเสนออัน นี้"..."ไม่ต้องมาพูดว่า ประเทศนี้ต้องการนิติรัฐไม่ใช่นิติราษฎร์ ท่านเข้าใจหรือเปล่าว่านิติรัฐหมายความว่าอะไร"

คิดว่าหลังจากที่บทความโดย ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่อง "นิติรัฐ หรือนิติราษฎร์" ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน โดยมีเนื้อหาตอนหนึ่งว่า "นิติรัฐจึงต้องให้ความสำคัญสูงสุดแก่ความเสมอภาค จะเห็นได้ว่าแม้ในคำว่านิติรัฐ จุดเน้นก็อยู่ที่ราษฎรนั่นเอง เพราะรัฐเฉยๆ โดยไม่มีราษฎรเป็นแกนหลักนั้นไม่มี (ทั้งนี้ ยังไม่ต้องพูดในแง่ภาษาว่า รัฐกับราษฎร์นั้น ที่จริงคือคำเดียวกันในภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น)"*(3) ไปถึงเนตรถึงกรรณนายอภิสิทธิ์ และนายถาวรแล้ว ต่อไปคงจะรู้จักเก็บงำโวหารตะแบงมารไว้ใช้กับการเมืองล้วนๆ ไม่นำไปก้าวล้ำก่อกวนในขอบข่ายของการวิสาสะปัญญาอีกต่อไป

ต่อกรณีคำ "ฮึ่ม" ของพยัคฆ์ใหญ่แห่งบูรพา พล.อ. ประยุทธ จันทร์โอชา ที่หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งรายงานว่าท่าน ผบ.ทบ. เตือนว่าเสนออะไรต้องระวังสังคมแตกแยก วรเจตน์เขาตอบว่า
""ผม กลับเห็นว่าการใช้กำลังเสียอีกที่ทำให้บ้านเมืองแตกแยก ที่บ้านเมืองแตกแยกวันนี้ไม่ได้เป็นผลจากการรัฐประหาร ๑๙ กันยา ๒๕๔๙ หรือครับ"..."ที่เรากำลังทำอยู่เพื่อให้สังคมเกิดการเรียนรู้ และป้องกันการรัฐประหาร มีคนบอกว่าข้อเสนอของเรากระตุ้นให้เกิดการรัฐประหารหรือเปล่า ผมคิดว่าความคิดแบบนี้เมื่อมันเปิดกรงออกไป และโบกบินสู่สังคมแล้ว ต่อให้นิติราษฎร์ทั้งเจ็ดคนไม่อยู่แล้ว แต่ความคิดนี้จะอยู่ในสังคม มันฆ่าไม่ตายแล้ว"

ในการแถลงข่าวครั้งที่สองนี้วรเจตน์ได้ให้ความกระจ่างต่อข้อเสนอของกลุ่มตน ในประเด็นอันเป็นหัวใจสำคัญ แต่ถูกสื่อมวลชนละเลย หรือมองข้าม นั่นคือการเสนอให้ลบล้างมาตรา ๓๖ และ ๓๗ ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๔๙ เพราะเป็นบทว่าด้วยการนิรโทษกรรมให้แก่คณะรัฐประหาร ซึ่งเป็นการปกป้องผู้กระทำรัฐประหารอย่างถึงที่สุดของแนวคิดเผด็จการ เป็นการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเลยว่าผู้ก่อการรัฐประหารชุดนี้ไม่มีความผิด ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต คณะนิติราษฎร์จึงเสนอทางแก้เงื่อนตายในรัฐธรรมนูญดังกล่าวด้วยตรรกะที่ว่า

"ถ้าประชาชนออกเสียงประชามติในรัฐธรรมนูญที่จะสถาปนาขึ้นใหม่ อำนาจนั้นสูงสุดพอที่จะประกาศได้ว่า นิรโทษกรรมนั้นเสียเปล่าได้ เท่ากับไม่เคยมีการนิรโทษกรรม และให้บุคคลที่ทำรัฐประหารต้องถูกลงโทษ"

หากจะสรุปว่าเหตุใดปฏิกิริยาในทางลบที่มีต่อข้อเสนอนิติราษฎร์จึงออกมา กระหน่ำอย่างฟาดหัวฟาดหาง ไม่ยอมเดินตามแนววิชาการ และท่วงทำนองของนิติราษฎร์ที่อิงหลักประชาธิปไตยเพื่อประชาชนเป็นแก่นกระพี้

คำตอบคงอยู่ในคำพูดของวรเจตน์อีกเช่นกันว่า
""มาตรา ๓๗ เป็นกล่องดวงใจของคณะรัฐประหาร ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์นั้นเป็นการทำลายกล่องดวงใจของคณะรัฐประหาร จึงเป็นที่เข้าใจว่า ทำไมข้อเสนอของเราจึงถูกทำให้กลายเป็นการช่วยคนๆ เดียวให้พ้นผิด"

ซึ่งคำตอบเกี่ยวกับเรื่องคนๆ เดียวนี้ก็ชัดเจนอยู่ในคำอธิบายเพิ่มเติมข้อเสนอที่สองโดยวรเจตน์เช่นกันว่า "ไม่ใช่เป็นการนิรโทษกรรม อภัยโทษ หรือล้างมลทินของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด หากจะเริ่มดำเนินคดีกับบุคคลดังกล่าวใหม่ก็ทำได้ตามปกติ"

เหล่านี้คงพอฟันธงได้แล้วว่าการออกมาโต้โดยบิดเบี้ยวข้อเสนอนิติราษฎร์ของ นายอภิสิทธิ์ และ ผบ.ทบ. เป็นเรื่องปกป้องกล่องดวงใจ แม้ว่านายอภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์จะไม่ได้มีรายนามต่อท้าย คปค. (คณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) ชื่อย่อทางการของคณะรัฐประหาร

การไปจัดตั้งรัฐบาลของตนในกองพลทหารราบที่ ๑๑ และการไปขึ้นเวทีพันธมิตรแสดงความชื่นชมคณะรัฐประหาร ดังปรากฏหลักฐานคลิปยูทู้ปบนอินเตอร์เน็ต แม้กระทั่งเมื่อได้เป็นหัวหน้าฝ่ายค้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์แล้วก็ยังทำหน้าที่ หัวหอกทางการเมืองปกป้องทหาร เมื่อแสดงจุดยืนแข่งกับพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกลาโหม คัดค้านข้อเสนอของ นปช. ที่ขอให้มีการแก้ไขกฏหมายแต่งตั้งโยกย้ายทหาร*(4)

ก็เพียงพอยืนยันว่า ถ้าไม่ใช่ให้ท้ายรัฐประหารก็ต้องเป็นการเดินตามก้นคณะทหาร คมช. แน่นอน เช่นเดียวกับผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรง และอาณิสงค์จากผลพวงของรัฐประหารบางคนที่ออกมาเถียงข้างๆ คูๆ เบี่ยงเบนประเด็นกันต่อมา

นายสัก กอแสงเรือง แห่งสภาทนายความแห่งประเทศไทยคนหนึ่งละ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกคน ล้วนได้ดิบได้ดีจากรัฐประหารทั้งคู่

รวมทั้งนักวิชาการบางคนในกลุ่ม ๒๓ คณาจารย์ก็เคยรับงานนิติบริกรจากคณะรัฐประหารมาแล้วเช่นกัน ส่วน ดร. ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ ดูเหมือนจะเกาะกระแสเขียนบทความวิพากษ์คณะนิติราษฎร์อย่างสาดเสีย*(5) แถมยังบริภาษพาดพิงไปถึงผู้ที่เห็นคล้อยข้อเสนอนิติราษฎร์ด้วยวิธีการยกตน ข่มท่าน ดังที่ตีพิมพ์ใน น.ส.พ. มติชนว่า "แถมยังมีตัวช่วยระดับไพร่กลายเป็นอำมาตย์เพิ่มอีกเป็นอันมาก"

หวังว่าด็อกเตอร์ผู้ริอ่านเป็นนักเขียนเล่นสำนวนส่อเสียดจะได้ดังกับเขาบ้างอย่างที่ใจปรารถนา

สำหรับข้อโต้แย้งของนายสักที่เอาสมาชิกสภาทนายความ ๕ หมื่นคนมาพ่วงท้ายด้วยนั้น "ใบตองแห้ง"*(6) แห่งประชาไทออนไลน์ นักเขียนที่เด้งมาจากไทยโพสต์ เพราะโรจน์ งามแม้น เจ้าของหนังสือเขามีนโยบายตีพิมพ์ทุกอย่างที่ให้โทษทักษิณ ได้รับเอาไปสังคายนาเรียบร้อย แค่ที่ใบตองแห้งสะกิดสะเกาว่า
"เอ๊ะ หรือว่าคุณสักจะอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์มาสนับสนุนรัฐประหาร หรืออ้างว่ารัฐประหารทำเพื่อสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ก็อ้างอย่างก้ำๆ กึ่งๆ ยังไงไม่รู้ ไม่เข้าใจตุ้ม ผมยังงงอยู่ว่าคุณสักแกเขียนเองหรือใช้ทนายฝึกหัดตัดแปะ แต่สรุปได้ว่าคำแถลงนี้นอกจากเลอะเทอะทางความคิดอุดมการณ์แล้ว ยังสอบตกเรื่องการทำสำนวน การใช้ภาษา การเรียงลำดับ สับสนไปมา"

ผู้เขียนคงไม่จำเป็นต้องยกเนื้อความอื่นใดมาตั้งสังเกตอีก แต่ที่จำเป็นต้องเอ่ยถึงก็คือ ได้มีกลุ่มทนายความ และนักกฏหมายเพื่อสิทธิมนุษยชนออกแถลงการณ์มาซักค้านแถลงการณ์ของนายสักว่า "เป็นการทำลายหลักนิติธรรม และระบอบประชาธิปไตย อันนำความเสื่อมเสียมาสู่เกียรติภูมิของสภาทนายความ"

เช่นเดียวกับแถลงการณ์ของ ๒๓ คณาจารย์นิติศาสตร์ก็มีแถลงการณ์ของคณาจารย์ต่อต้านรัฐประหาร*(7) ขึ้นมาทัดทาน ด้วยการประกาศสนับสนุนข้อเสนอนิติราษฎร์ทั้ง ๔ ประเด็น แล้วยังชักชวนนักวิชาการอื่นๆ เข้าร่วม พร้อมทั้งเรียกร้องรัฐบาลให้ความสนใจนำไปศึกษาหาทางปฏิบัติ กับประณามการบิดเบือน และป้ายสีข้อเสนอนิติราษฎร์ ว่าเป็นการทำลายเสรีภาพทางวิชาการ และบรรยากาศประชาธิปไตย

ส่วนในเนื้อหาของแถลงการณ์ ๒๓ คณาจารย์นั้น ผู้เขียนเห็นว่าเป็นการตีขลุมบรรยายอย่างน้ำท่วมทุ่ง และตอบไม่ตรงประเด็นข้อกฏหมายที่นิติราษฎร์เสนอ เพียงเพื่อจะเบี่ยงประเด็นหาทางสรุปกล่าวหานิติราษฎร์ว่า "ยังคงมีอุดมการณ์ที่ยึดถือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และเป็นระบอบการปกครองที่ประเทศไทยยึดถือมาเป็นระยะเวลายาวนาน นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับแรกจนถึงฉบับปัจจุบันหรือไม่" เท่านั้นเอง

และแง่มุมแห่งข้อกฏหมายอันพึงมีในแถลงการณ์ ๒๓ คณาจารย์นั้น ก็มีนักศึกษากฏหมายปีสี่แห่งมหาวิทยาลัยรามคำแหงคนหนึ่งได้นำไปยำไว้บนหน้า เฟชบุ๊คแล้วอย่างถี่ถ้วน*(8) เช่นที่ว่า "ทาง ๒๓ คณาจารย์ควรสำเหนียกถึงหลักการพื้นฐานของหลักนิติรัฐ ที่ต้องประกันความเชื่อถือไว้วางใจของเอกชนที่มีต่อระบบกฎหมายของรัฐ สำหรับหลักต้นไม้เป็นพิษซึ่งเป็นหลักคิดในทางข้อเท็จจริงที่ส่งผลยุติเฉพาะ คู่ความเป็นรายคดี หาได้ส่งผลบังคับผูกพันเป็นการทั่วไปบังคับแก่บุคคลทั้งหลายไม่ การหยิบยกหลักดังกล่าวมาโจมตีข้อเสนอนิติราษฎร์จึงเป็นไปโดยความมักง่ายของ ๒๓ คณาจารย์โดยแท้"

หรือในตอนท้ายว่า
"กรณีที่ท่านยังมีทรรศนะต่อประชาชนว่ายังไม่ ฉลาดเท่าทันนักการเมือง เช่นนี้คณาจารย์ทั้ง ๒๓ คนก็เป็นประชาชนของรัฐนี้ล่ะครับ ... และพึงสังวรณ์ถึงความป่าเถื่อนทางความคิดของคณาจารย์ทั้ง ๒๓ ที่วางเจตจำนงทางการเมืองของตนเป็นที่ตั้ง แล้วยัดเยียดความโง่ให้ประชาชนคนอื่นๆ ซึ่งอาจจะหมายถึงประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ของรัฐด้วยโดยนัย"
เท่า นี้ก็คงพอทำให้เห็นตัวตนของ ๒๓ คณาจารย์ว่าไม่ต่างจากพวกที่ถือตนเป็นชนชั้นสูง นิยมวิธีแก้ปัญหาทางการเมืองโดยรัฐประหารล้มกระดาน หรือว่าใฝ่หามาตรา ๗ ซึ่งก็คือถวายคืนพระราชอำนาจทางการเมืองแก่กษัตริย์ และกลับสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช

แนวคิดแบบ ๒๓ คณาจารย์ถูกนำมาตีไข่ใส่สีเสียมันย่องโดย ดร. ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ โดยเฉพาะในข้อที่อ้างถึงจิตวิทยาของอาชญากรว่า "คนที่ต้องการยกเลิกกฏหมายใด แสดงว่าเขาอยากทำผิดกฏหมายนั้น" แล้วทำทีเป็นมีอารมณ์ขันยกตัวอย่างว่าตนอยากให้ยกเลิกกฏหมายกระทำชำเรา โดยอ้างคำคมที่พวกจงรักภักดีเหนือกว่าใครๆ เคยอ้างกันบ่อยๆ ว่า "กฎหมายถึงจะมีโทษแรงแค่ไหน ผู้ที่ไม่คิดจะทำผิดกฎหมายย่อมไม่เดือดร้อน"

การกล่าวเช่นนี้เป็นวิธีใช้ตรรกะแบบศรีธนญชัยซึ่งมีแต่ด็อกเตอร์ผู้ได้รับ เศษอาหารของเผด็จการในประเทศไทย หรือทาสเผด็จการในประเทศอาหรับนิยมใช้กัน

ผู้คนที่เจริญแล้วในทางจิตสำนึก (Mentality) ประชาธิปไตยเขาจะไม่กล้าใช้ตรรกะนั้น เพราะมันแสดงถึงความป่าเถื่อนแบบสัตว์ที่ยังเป็นดิรัจฉาน ยังไม่ได้รับการฝึกให้เชื่อง หรือไม่สามารถทำให้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับมนุษย์อย่างสันติสุขได้ เมื่อการใช้เหตุ และผลไม่มีความหมาย จะต้องใช้วิธีการรุนแรง ทำร้าย และเข่นฆ่ากันให้หวาดกลัวเท่านั้น

น่าเสียดายที่ ดร. ทวีเกียรติเป็นผู้สอนวิชากฏหมาย แต่ไม่ทราบว่าหลักการทางอาชญวิทยานั้นให้กำหนดโทษเพียงพอเหมาะพอควรแก่ความ ผิด มิฉะนั้นจะเป็นการโหดร้ายทารุณ แถมทำให้ผู้ต้องโทษไม่หลาบจำด้วย..ฮ่วย

ที่จริงการกำหนดโทษรุนแรง และมีระวางโทษขั้นต่ำเพื่อให้เกิดการหวั่นเกรงมากเป็นพิเศษ ก็มีปรากฏในประเทศที่ระบบตุลาการเดินตามครรลองประชาธิปไตยอย่างสหรัฐอเมริกา เหมือนกัน ดังพบว่ามีการออกกฏหมายระบุความผิดขั้นรุนแรง (Capital Punishment) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในปัจจุบันมีการใช้ความหวาดกลัวโทษหนักเป็นเครื่องมือกำหราบ่ให้ผู้ ต้องหายอมรับสารภาพ (Plea Bargaining) ก่อนจะไปถึงการพิจารณาคดีแล้วจะได้รับลดหย่อนผ่อนโทษ

ถ้าใครยังฝืนสู้คดีต่อไปก็จะถูกอัยการเพิ่มกระทงข้อหา ซึ่งถ้าถูกพิพากษาผิดจะต้องรับโทษหนักขึ้นไปเป็นสิบเท่า กรณีเช่นนี้เรียกว่า โทษทัณฑ์ของการสู้คดี (Trial Penalty) กำลังถูกวิพากษ์อย่างมากว่าเป็นการบีบคั้น (Coercion) ที่ผิดเพี้ยนไปจากกระบวนการยุติธรรม ทำให้ผู้ต้องหาอาจรับสารภาพทั้งที่บริสุทธิ์ (ดังเช่นผู้ต้องหา ม.๑๑๒ จำนวนมากในประเทศไทย) เพราะไม่อยากติดคุกนาน หรือโดนโทษหนัก

นายริชาร์ด อี. ไมเออร์ ที่สอง อดีตผู้ช่วยอัยการรัฐบาลกลางสหรัฐ ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์สมทบภาควิชากฏหมาย มหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลน่า กล่าวว่าทางปฏิบัติซึ่งผู้ต้องหายอมรับสารภาพเพื่อหลีกเลี่ยงถูกอัยการเพิ่ม กระทงความผิดนี้ ทำให้อำนาจในการกำหนดโทษไปสะดุดอยู่ที่อัยการ แทนที่จะเป็นอำนาจวินิจฉัยของผู้พิพากษาล้วนๆ

เขาแสดงความเป็นห่วงว่าการเปลี่ยนมืออำนาจ "ถ้าไปอยู่ในมือที่ไม่เหมาะสม จะทำให้กระบวนการยุติธรรมทางคดีอาญาถูกกักเป็นตัวประกันได้"*(9)

สำหรับการที่อธิการบดีธรรมศาสตร์ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีต คตส. อีกผลพวงหนึ่งของ คปค. ร้อนใจจนต้องเขียนในเฟชบุ๊คยอกย้อนเสียดแทงนิติราษฎร์เป็นคำถามกึ่งไร้ เดียงสาถึง ๑๕ ข้อนั้ นได้มีผู้ที่ให้เกียรติต่อตำแหน่งอธิการบดีเขียนตอบกันมากมาย นับแต่อดีตคณะบดีนิติศาสตร์ มธ. อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ ผู้เคยเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ และเคยเป็นวุฒิสมาชิกจากการเลือกตั้ง กรุณาตอบด้วยหลักกฏหมายล้วนๆ เช่นว่า "ป.อาญา ม.๑๑๒ เท่าที่มีการตีความและใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีผลขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญแน่ นอน เพราะเป็นการลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนซึ่งเป็นสิทธิขั้น มูลฐานตามรธน.ของประชาชนโดยสิ้นเชิง"*(10)

นอกนั้นก็มี อ. ใจ อึ๊งภากรณ์ อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องระเห็จไปอยู่ลอนดอ นเพราะเขียนหนังสือวิพากษ์ทางวิชาการต่อคณะรัฐประหาร เลยโดนข้อหาหมิ่นสถาบันฯ ให้เกียรติ "จัดให้" เหมือนกันในข้อเขียนเรื่อง "ตอบนักวิชาการสลิ่ม.." ต่อท้ายเรื่อง "เบื้องหลังพวกเสื้อเหลืองที่คัดค้านข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์" เชิญทัศนากันเต็มๆ ที่ redthaisocialist.com

ดูเหมือนดร.สมคิดจะมีเสน่ห์มากเป็นพิเศษ ใครๆ ก็อยากตอบคำถาม ๑๕ ข้อของท่าน ไม่เพียงหนังสือพิมพ์ข่าวสดบรรจงตอบในคอลัมน์ "เหล็กใน" ว่า "โถ..อธิการบดี"*(11) แล้วคุณพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล นักศึกษากฏหมายช่วยจัดให้อย่างสมน้ำสมเนื้อ ดังตัวอย่างที่เขาตอบคำถามข้อ ๑๔ ว่า "คุณสมคิดครับ รัฐธรรมนูญเกิดทีหลัง ประชาชนซึ่งมีสิทธิเสรีภาพติดตัว (สิทธิมนุษยชน) มาก่อนรัฐธรรมนูญ ฉะนั้น แม้จะไม่มีหมวดสิทธิเสรีภาพ ถามว่าประชาชนจะไม่มีสิทธิเสรีภาพหรือ คำตอบคือเขายังมีบริบูรณ์ทุกประการ"*(12)

แต่ที่จัดให้ท่านอธิการบดี มธ. หนักกว่าใครๆ เห็นจะเป็นกลุ่มศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ที่เก่ามากๆ ย้อนไปถึงรุ่น ตมธก. ที่ไม่เพียงเขียนเป็นจดหมายเปิดผนึกเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม แล้วยังไปตั้งโต๊ะในธรรมศาสตร์ใกล้ประตูด้านสนามหลวงรณรงค์ขับไล่ ดร.สมคิดจากตำแหน่ง*(13) เนื่องจากในข้อเขียนคำถามย้อนคณะนิติราษฎร์ข้อ ๑๑ ของท่าน บังอาจหยามเหยียดผู้ประศาสน์การ ดร. ปรีดี พนมยงค์ เอาไปเทียบเคียงกับนักรัฐประหารอย่างสุจินดา ถนอม ประภาส สฤษดิ์ และจอมพล ป. จนเป็นที่ระคายเคืองให้ทายาทของท่านปรีดี นางดุษฎี บุญทัศนกุล ต้องเข้าไปโพสต์ถาม ดร.สมคิดในหน้าเฟชบุ๊คว่า "เข้าใจผิดอะไรหรือเปล่าคะ ที่พูดพาดพิงถึงนายปรีดีเกี่ยวกับการรัฐประหาร"

ต่อกรณีที่ ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ นักกฏหมายค่ายเยอรมนี เขียนคำวิจารณ์ต่อข้อเสนอนิติราษฎร์อย่างนักวิชาการแท้ๆ ก็ได้มีการวิภาษทางวิชาการจากนายพุฒิพงศ์นักศึกษากฏหมายแล้วเช่นกัน*(14) หากแต่มีบางตอนที่ ดร. กิตติศักดิ์ อ้างไว้ทำให้ผู้เขียนเกิดตะขิดตะขวง จะปล่อยเลยไปเพราะเหตุว่าท่านเป็นอาจารย์ได้ทุนไปลงแรงร่ำเรียนมามาก เหมือนอย่างที่ ดร.ทวีเกียรติใช้อ้างหลอกด่านิติราษฎร์ว่าเป็น "ต้นไม้พิษ" ก็เกิดอาการอึดอัดขัดขืนในใจ จึงขอร่วมวงวิภาษวิธีตรงนี้หน่อย

ดร. กิตติศักดิ์เขียนไว้ว่า "แม้ประชาชนจะลงประชามติไว้ว่าอย่างไรก็ตาม หากประชามติซึ่งเป็นการใช้อำนาจสูงสุดของประชาชนนั้นขัดต่อกฎหมาย ศาลซึ่งเป็นคนกลางที่เป็นอิสระก็มีอำนาจชี้ขาดว่าประชามตินั้นขัดต่อกฎหมาย และไม่มีผลบังคับ" แล้วยกตัวอย่างคดีที่ศาลสหรัฐพิพากษาแย้งประชามติการผ่านร่างข้อเสนอที่ ๘ ในแคลิฟอร์เนียห้ามบุคคลเพศเดียวกันจดทะเบียนแต่งงาน

ผู้เขียนคิดว่า ดร.กิตติศักดิ์สำคัญผิดในสถานภาพซึ่งแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเกี่ยวกับการ บังคับใช้กฏหมาย และจิตสำนึกของประชาชนต่อระบบการปกครองระหว่างสหรัฐอเมริกา และประเทศไทย

ในเรื่องห้ามบุคคลเพศเดียวกันแต่งงานในแคลิฟอร์เนียนั้น คำพิพากษาศาลรัฐบาลกลาง (ไม่ใช่ศาลสูงสุดสหรัฐ) ในคดีแพรีกับชว้าทซเน็กเกอร์เป็นเพียงตัดสินว่าการทำประชามติในข้อเสนอที่ ๘ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งฝ่ายสนับสนุนข้อเสนอนี้ได้ยื่นฎีกาต่อศาลสูงสุดแห่งมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ทันที ศาลรับคดีเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ ขณะนี้คดียังไม่สิ้นสุด ผลบังคับของประชามติยังคงดำรงอยู่

การที่ ดร. กิตติศักดิ์สรุปว่า "แต่ศาลสหรัฐอเมริกาก็ได้ยอมรับว่าเมื่อเสียงส่วนมากใช้ไปในทางที่ผิด ศาลซึ่งแม้เป็นเสียงข้างน้อยที่แสนจะน้อยก็มีหน้าที่ชี้ถูกชี้ผิดให้เสียง ข้างมากรับรู้ไว้" เป็นการสรุปที่ไม่ตรงประเด็น หรือเบี่ยงประเด็น เพราะคำพิพากษาอ้างรัฐธรรมนูญว่าการยื่นข้อเสนอ (ให้ประชาชนโหวต) นั้นผิด ไม่ใช่เสียงข้างมากที่โหวตออกมาผิด

ดังนั้นถ้าเป็นการต่อสู้คดีในอเมริกา ข้อโต้แย้งของ ดร.กิตติศักดิ์ถือว่าเสียเปล่าไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานได้

ท้ายที่สุดนี้ ดังได้กล่าวไว้ในเบื้องต้นแล้วว่าคุณูปการอันเกิดจากข้อเสนอนิติราษฎร์สำคัญ ที่สุด ก็คือก่อให้เกิดการถกเถียงอย่างกว้างขวาง และผลแห่งการแสดงปฏิกิริยาในทางลบต่อข้อเสนออย่างมีเลศนัยบ้าง อย่างเต็มไปด้วยโมหะจริตบ้าง อย่างตะแบงชนิดไร้เดียงสาบ้าง ล้วนทำให้มองเห็นประโยชน์ หรือข้อดีต่างๆ ของหลักการในข้อเสนอมากยิ่งขึ้น ข้อตำหนิจากนักวิชาการบางท่านว่าข้อเสนอนิติราษฎร์ยังไม่ละเอียด และไม่กระจ่างในบางเรื่องก็ค่อยๆ ผ่อนคลายไป

จนบัดนี้เริ่มเห็นแสงไฟที่ปลายทางบ้างแล้วว่า ความเลวร้ายทางการเมืองตลอด ๕ ปีที่ผ่านมาอันเต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำในการบังคับใช้กฏหมาย มายาคติของการแบ่งชนชั้นในสังคมระหว่าง "คนดี" ที่มีประกาศนียบัตร และปริญญาทางการศึกษา กับรากหญ้าที่มีจำนวนมากกว่าท่วมท้น และจิตสำนึกเยี่ยงสัตว์เดรัจฉานในการฆ่าหมู่ผู้คนที่ไม่ยอมนอบน้อมกราบไหว้ จะแก้ไขด้วยนามธรรมของการปรองดองอย่างเดียวไม่ได้

แต่จักต้องพร้อมกันลงมือจัดทำอย่างเป็นรูปธรรม ก้าวแรกอยู่ที่จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์

*(1) http://www.enlightened-jurists.com/blog/44
*(2) http://www.prachatai.com/journal/2011/09/37069
*(3) http://www.matichon.co.th/นิธิ เอียวศรีวงศ์
*(4) http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255410040292&tb=N255410
*(5) http://www.matichon.co.th/ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์
*(6) http://www.prachatai.com/journal/2011/09/37137
*(7) http://www.prachatai.com/journal/2011/10/37192 
*(8) http://www.matichon.co.th/พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

*(9) http://www.nytimes.com/2011/09/26/us/tough-sentences-help-prosecutors
*(10) http://www.prachatai.com/journal/2011/09/37109
*(11) http://www.khaosod.co.th/โถ..อธิการบดี
*(12) http://www.enlightened-jurists.com/page/239
*(13) http://www.prachatai.com/journal/2011/10/37247
*(14) อ้างแล้วที่ (๑๒)