วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เพลง เปลี่ยนน้ำท่วมให้เป็นน้ำใจ (full)


อัปโหลดโดย เมื่อ 18 ต.ค. 2011

โดย ศิลปินและชาวบ้านผู้ประัสบภัยจากพื้นที่จริง
ดูแลการผลิตโดย อรุณศักดิ์ อ่องลออ
สามารถบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ที่ กองทุนร้อยน้ำใจ

เพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โอนเงินเข้าบัญชีกองทุนร้อยน้ำใจ

มูลนิธิโอเพ่นแคร์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาแจ้งวัฒนะ เลขที่บัญชี 402-177853-3

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

INN ช่วยแฉเหตุ! "กรมชลฯ มัวแต่จัดเลี้ยงปาร์ตี้เกษียณ-ใส่เกียร์ว่าง"

 

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

INN ช่วยแฉเหตุ! "กรมชลฯ มัวแต่จัดเลี้ยงปาร์ตี้เกษียณ-ใส่เกียร์ว่าง"

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

เขียนโดย JJ_Sathon



ยามนี้ ถ้าไม่พูดถึงสถานการณ์น้ำท่วมเมืองสยาม คงต้องตกยุคตกสมัยเป็นแน่แท้

โดนกันอย่างทั่วหน้าทุกภูมิภาคของประเทศไทย
หนักที่สุดตอนนี้คงต้องยกให้กับภาคกลาง
ไล่มาตั้งแต่ "จ.นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี
และ นนทบุรี" ส่วนทางภาคตะวันตก อย่าง จ.สุพรรณบุรี และ นครปฐม ก็โดน แต่ยังไม่มากนัก

เหตุที่ทางภาคตะวันตกยังประสบปัญหาน้ำท่วมไม่หนักนั้น
ไม่รู้ว่าจะชื่นชม "บิ๊กเติ้ง บรรหาร ศิลปอาชา" ดีหรือเปล่า
มันก็ดีหรอกนะที่น้ำไม่ท่วมบ้านตัวเอง แต่มันจะดีจริงเหรอที่น้ำไปทะลักเข้าบ้านคนอื่น
ทั้งๆ ที่ช่วยได้ แต่ก็ไม่ช่วยกันแบ่งเบา ก็แล้วแต่นานาทัศนะกับกรณีนี้

เรื่องความเสียหายคงไม่ต้องพูดถึง
เพราะความเสียหายครั้งนี้ไม่ได้น้อยไปกว่าที่ประเทศญี่ปุ่น
ประสบกับ "โศกนาฏกรรมสึนามิ " เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ที่ผ่านมา
ภาพที่เห็นไม่ได้น่ากลัวและรุนแรงอย่างคลื่นยักษ์
แต่น้ำที่หลากหรือล้นตลิ่ง มันก็เคลื่อนตัวทำลายล้างทุกสิ่งได้เช่นกัน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความเสียหายใดก็ไม่เท่ากับความเสียหายที่เกิดจากความแตกแยก
ของพี่น้องคนไทยด้วยกัน

ภาพพี่น้องคนไทยต่างฝ่ายต่างโต้เถียง ด่าท่อใส่กันตามแนวคันกั้นน้ำ
ภาพการเข้าพังกระสอบทราย
ภาพของการถือมีดวิ่งไล่ฟันผู้ประสบภัยด้วยกัน อันเนื่องมาจากความเครียด
ภาพเหล่านี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับสังคมไทยและสังคมชนบทเลย
แม้แต่นิด

อย่างที่เรารู้กัน น้ำที่ท่วมภาคกลางนั้นลงมาจากภาคเหนือ "แม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน"
ไหลมารวมกันที่ปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ ก่อนไหลเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ลงสู่อ่าวไทย จ.สมุทรปราการ

น้ำจำนวนมหาศาลก้อนนี้ "กรมชลประทาน" เป็นผู้ที่น่าจะรู้ดีที่สุด
คิดกันง่ายๆ ไม่ต้องคิดมาก คือ
กรมชลฯ รู้ทั้งรู้ว่าจะมีน้ำก้อนใหญ่ไหลมาจากภาคเหนือ
มันก็เกิดคำถามว่า ทำไมกรมชลฯ ไม่รีบผันน้ำที่มีอยู่แล้วออกอ่าวไทยให้เร็วที่สุด
เพื่อที่แม่น้ำแต่ละสายจะได้มีพื้นที่รองรับน้ำ
เพราะอาจจะทำให้หนักเป็นเบาได้
ทำไมไม่ใช้ประตูระบายน้ำแต่ละประตูให้เกิดประโยชน์ เมื่อไม่ใช้แล้วจะสร้างขึ้นมาทำไม

คงไม่กล้ากล่าวโทษกรมชลฯ ที่เป็นผู้ทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรงอยู่ขณะนี้
ถ้าไม่เคยประสบกับเหตุที่กรมชลฯ เคยทำผิดพลาดมา
ขอย้อนกลับไปเมื่อปี 2549 ณ บ้านเกิด "จ.นครปฐม" ประสบกับปัญหาน้ำท่วมอย่างหนัก
อันเพราะเกิดจากกรมชลฯ ไม่ระบายน้ำจากแม่น้ำสุพรรณบุรี เข้าสู่แม่น้ำท่าจีน
เมื่อไม่ระบายก็เกิดการอั้น จนในที่สุด ประตูน้ำไม่สามารถรองรับน้ำได้อีก
จึงตัดสินใจเปิดประตูน้ำกลางดึกตูมเดียว
เข้าแม่น้ำท่าจีน ต.บางหลวง อ.บางเลน จมน้ำก่อนใคร พื้นที่ไร่นา บ้านเรือนอยู่ใต้น้ำ
เจ้าของสวนกล้วยไม้บางรายถึงกับหมดตัว

ถ้ากรมชลฯ มีแผนการทำงานที่ดีกว่านี้ ความเสียหายครั้งนั้นก็คงไม่เกิดขึ้น.!!!

ครั้งนี้ก็เช่นกัน กรมชลฯ รู้สึกตัวช้าเกินไป
หรือกรณี "ประตูระบายน้ำบางโฉมศรี พัง" ยังคงต้องใช้เวลาอันยาวนานในการซ่อมแซม
นี่ก็ยังไม่รู้ว่าจะเสร็จเมื่อไหร่กันแน่ แล้วอย่างนี้ ประชาชนตาดำๆ เขาจะอยู่กันอย่างไร

"ไม่รู้ว่าเหตุที่กรมชลฯ รู้สึกตัวช้า
เพราะมัวแต่เตรียมจัดงานเลี้ยงให้กับข้าราชการที่เกษียณอายุราช
รวมถึงข้าราชการที่จะเกษียณอายุก็ปลดเกียร์ว่างตั้งแต่ 2 เดือนก่อนหรือเปล่า...."


**************
นรภัทร ตรีแดงน้อย ..รายงาน

Link : http://www.innnews.co.th/น้ำท่วมนั้นเพราะใครกัน--312739_34.html 


http://www.go6tv.com/2011/10/inn_14.html

ข้อสังเกตปฏิกิริยาที่มีต่อข้อเสนอนิติราษฎร์

ข้อสังเกตปฏิกิริยาที่มีต่อข้อเสนอนิติราษฎร์

ที่มา Thai E-News

การ ที่ ดร. กิตติศักดิ์สรุปว่า "แต่ศาลสหรัฐอเมริกาก็ได้ยอมรับว่าเมื่อเสียงส่วนมากใช้ไปในทางที่ผิด ศาลซึ่งแม้เป็นเสียงข้างน้อยที่แสนจะน้อยก็มีหน้าที่ชี้ถูกชี้ผิดให้เสียง ข้างมากรับรู้ไว้" เป็นการสรุปที่ไม่ตรงประเด็น หรือเบี่ยงประเด็น เพราะคำพิพากษาอ้างรัฐธรรมนูญว่าการยื่นข้อเสนอ (ให้ประชาชนโหวต) นั้นผิด ไม่ใช่เสียงข้างมากที่โหวตออกมาผิด

โดย Rayib Paomano
ที่มา Thais' Genuine Democracy Revival



เกือบ ๑ เดือน นับแต่ ๗ จารย์นิติราษฎร์แถลงข้อเสนอทางวิชาการ ๔ ประการ*(1)ในโอกาสครบรอบ ๕ ปีของรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นต้นมา

ปรากฏว่าก่อให้เกิดปฏิกิริยามากมายทั้งในทางลบ และบวก ทั้งในทางวิชาการ และในแวดวงสังคมโดยทั่วไป

จนผู้เขียนเห็นว่าน่าจะทำข้อสังเกตุโดยรวมเอาไว้สำหรับจับตาดูความเป็นไป ทั้งในอนาคตอันใกล้ และ/หรือระยะยาวของภาวะการณ์บ้านเมืองอันเกี่ยวเนื่องถึงเนื้อหาในข้อเสนอ เหล่านี้

เชื่อว่าเป็นที่กระจ่างแก่ทุกคนที่สนใจ ทุกภาคฝ่าย ทุกค่าย (พรรค) และแถบสีทางการเมืองแล้วว่า ข้อเสนอของนิติราษฎร์มีด้วยกัน ๔ ประเด็น แต่ถกเถียงกันมากในประเด็นลบล้างผลพวงของรัฐประหาร ๔๙ เท่านั้น

จะมีก็แต่ผู้บัญชาการทหารบกที่ประสาทไวเหลือหลายต่อในบางประเด็น ท่านได้ตอบโต้ประเด็นยกเลิกมาตรา ๑๑๒ แห่งประมวลกฏหมายอาญาอย่างทันควัน

แล้วต่อมาจึงมีด็อกเตอร์บางคนพาดพิงถึงประเด็น ม. ๑๑๒ นี้โดยอ้อม ด้วยการเสียดสีเหน็บแนมให้เข้าใจเขวไปว่าเป็นเรื่อง "ล้มเจ้า"

ส่วนประเด็นให้ความยุติธรรมตามกระบวนกฏหมาย (Due Process of Law) แก่ผู้ต้องหา และการเยียวยาผู้เสียหายจากผลพวงแห่งรัฐประหาร อันรวมถึงผู้เสียชิวิต บาดเจ็บ สูญหาย และได้รับเคราะห์กรรมจากการเข้าสลายชุมนุมเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน และ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓

กับประเด็นยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่นั้น กล่าวได้ว่าไม่มีการถกเถียงในทางสาธารณะเลย

ผู้เขียนแม้ไม่ใช่นักวิชาการตามความหมายที่ว่าเป็นผู้มีอาชีพ หรือเคยมีอาชีพสอนหนังสือ ก็ขอแสดงความชื่นชมต่อการเสนอคำประกาศนิติราษฎร์ดังกล่าวว่าเป็นความกล้าหาญ "ทางวิชาการ" แม้จะมีกันเพียง ๗ ท่าน

เทียบจำนวนไม่ติดกับ ๒๓ คณาจารย์ หรือผู้มีตำแหน่งแห่งหนในมหาวิทยาลัย และสภาทนายความ

พวกท่านก็ทำให้ผู้ใฝ่รู้ได้ทราบข้อเท็จจริงในทางกฏหมาย จนเกิดความเข้าใจในเรื่องผิดผีผิดไข้ของกระบวนตุลาการแบบไทยๆ

เป็นการติดอาวุธทางปัญญาแก่มวลประชาชนให้รู้แจ้งถึงกลใน ว่าอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญแท้จริงนั้นเป็นของประชาชนผู้ซึ่งดำรงสถานะรัฐ าธิปัตย์

โดยเฉพาะคนที่อยู่นอกวงวิชาการทั้งหลายได้รับแสงสว่างของการเห็นจริง อันเนื่องจากการงอกงามทางความคิดในการวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนออย่างกว้างขวาง นี้ด้วย

นับเป็นความสำเร็จตามที่คณะนิติราษฎร์มุ่งหวังแล้วในขั้นหนึ่ง

ผู้เขียนเฝ้าจับตาการตื่นตัวของสาธารณะในข้อเท็จจริงต่างๆ รายล้อมข้อเสนอนิติราษฎร์นับแต่ต้นจนบัดนี้ไม่มีทีท่าว่าจะจืดจาง

พลันเมื่อมีคำประกาศนิติราษฎร์ออกมาเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน กับนายถาวร เสนเนียม ส.ส. ประชาธิปัตย์ ก็ทำหน้าที่ถนัดค้านสบัดทันทีว่านิติราษฎร์เสนอลบล้างความผิดให้แก่คนๆ เดียว

สื่อบางฉบับที่เป็นปฏิปักษ์กับอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร พรรคเพื่อไทย และนปช. มาตลอดอย่างไทยโพสน์ หรือที่พยายามทำตัวเป็นผู้มีความจงรักภักดีสุดโต่งอย่างสยามรัฐ ช่วยกันนำคำพูดของนายอภิสิทธิ์ และนายถาวรไปขยายผล

จนคณะนิติราษฎร์ต้องทำการแถลงข่าวชี้แจงเป็นครั้งที่สองในวันที่ ๒๕ กันยายน

ดังที่ อ.จันจิรา เอี่ยมยุรา กล่าวในการแถลงนำว่า เนื่องจาก "ส่วนหนึ่งก็เป็นไปในทิศทางการนำเสนอด้วยภาพลบอย่างยิ่ง ทำนองว่าข้อเสนอของนิติราษฎร์จะทำให้เกิดกลียุคในบ้านเมือง ระส่ำระสายวุ่นวาย นองเลือด"*(2)

ซึ่งก็คงไม่มีใครตอบการขยายผลคำพูดของนายอภิสิทธิ์ และนายถาวรได้ดีไปกว่า อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เองว่า "ผมยืนยันว่าผมไม่สนใจว่าข้อเสนอนั้นเป็นประโยชน์กับใคร ผมดูว่ามันเป็นหลักการที่ถูกต้องแล้วถ้าใครจะได้ประโยชน์ก็ให้เขาได้ ถ้าเขาเสียก็ให้เขาเสีย"... "ผมรู้สึกว่าคุณถาวร และคุณอภิสิทธิ์ ทั้งสองท่านไม่เข้าใจอะไร"..."เพราะถ้าท่านยังไม่รู้เรื่องยังมาเถียงกับผม ได้ยังไง และผมแปลกใจมากว่าทำไมพรรคประชาธิปัตย์ถึงเดือดร้อนนักกับข้อเสนออัน นี้"..."ไม่ต้องมาพูดว่า ประเทศนี้ต้องการนิติรัฐไม่ใช่นิติราษฎร์ ท่านเข้าใจหรือเปล่าว่านิติรัฐหมายความว่าอะไร"

คิดว่าหลังจากที่บทความโดย ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่อง "นิติรัฐ หรือนิติราษฎร์" ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน โดยมีเนื้อหาตอนหนึ่งว่า "นิติรัฐจึงต้องให้ความสำคัญสูงสุดแก่ความเสมอภาค จะเห็นได้ว่าแม้ในคำว่านิติรัฐ จุดเน้นก็อยู่ที่ราษฎรนั่นเอง เพราะรัฐเฉยๆ โดยไม่มีราษฎรเป็นแกนหลักนั้นไม่มี (ทั้งนี้ ยังไม่ต้องพูดในแง่ภาษาว่า รัฐกับราษฎร์นั้น ที่จริงคือคำเดียวกันในภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น)"*(3) ไปถึงเนตรถึงกรรณนายอภิสิทธิ์ และนายถาวรแล้ว ต่อไปคงจะรู้จักเก็บงำโวหารตะแบงมารไว้ใช้กับการเมืองล้วนๆ ไม่นำไปก้าวล้ำก่อกวนในขอบข่ายของการวิสาสะปัญญาอีกต่อไป

ต่อกรณีคำ "ฮึ่ม" ของพยัคฆ์ใหญ่แห่งบูรพา พล.อ. ประยุทธ จันทร์โอชา ที่หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งรายงานว่าท่าน ผบ.ทบ. เตือนว่าเสนออะไรต้องระวังสังคมแตกแยก วรเจตน์เขาตอบว่า
""ผม กลับเห็นว่าการใช้กำลังเสียอีกที่ทำให้บ้านเมืองแตกแยก ที่บ้านเมืองแตกแยกวันนี้ไม่ได้เป็นผลจากการรัฐประหาร ๑๙ กันยา ๒๕๔๙ หรือครับ"..."ที่เรากำลังทำอยู่เพื่อให้สังคมเกิดการเรียนรู้ และป้องกันการรัฐประหาร มีคนบอกว่าข้อเสนอของเรากระตุ้นให้เกิดการรัฐประหารหรือเปล่า ผมคิดว่าความคิดแบบนี้เมื่อมันเปิดกรงออกไป และโบกบินสู่สังคมแล้ว ต่อให้นิติราษฎร์ทั้งเจ็ดคนไม่อยู่แล้ว แต่ความคิดนี้จะอยู่ในสังคม มันฆ่าไม่ตายแล้ว"

ในการแถลงข่าวครั้งที่สองนี้วรเจตน์ได้ให้ความกระจ่างต่อข้อเสนอของกลุ่มตน ในประเด็นอันเป็นหัวใจสำคัญ แต่ถูกสื่อมวลชนละเลย หรือมองข้าม นั่นคือการเสนอให้ลบล้างมาตรา ๓๖ และ ๓๗ ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๔๙ เพราะเป็นบทว่าด้วยการนิรโทษกรรมให้แก่คณะรัฐประหาร ซึ่งเป็นการปกป้องผู้กระทำรัฐประหารอย่างถึงที่สุดของแนวคิดเผด็จการ เป็นการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเลยว่าผู้ก่อการรัฐประหารชุดนี้ไม่มีความผิด ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต คณะนิติราษฎร์จึงเสนอทางแก้เงื่อนตายในรัฐธรรมนูญดังกล่าวด้วยตรรกะที่ว่า

"ถ้าประชาชนออกเสียงประชามติในรัฐธรรมนูญที่จะสถาปนาขึ้นใหม่ อำนาจนั้นสูงสุดพอที่จะประกาศได้ว่า นิรโทษกรรมนั้นเสียเปล่าได้ เท่ากับไม่เคยมีการนิรโทษกรรม และให้บุคคลที่ทำรัฐประหารต้องถูกลงโทษ"

หากจะสรุปว่าเหตุใดปฏิกิริยาในทางลบที่มีต่อข้อเสนอนิติราษฎร์จึงออกมา กระหน่ำอย่างฟาดหัวฟาดหาง ไม่ยอมเดินตามแนววิชาการ และท่วงทำนองของนิติราษฎร์ที่อิงหลักประชาธิปไตยเพื่อประชาชนเป็นแก่นกระพี้

คำตอบคงอยู่ในคำพูดของวรเจตน์อีกเช่นกันว่า
""มาตรา ๓๗ เป็นกล่องดวงใจของคณะรัฐประหาร ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์นั้นเป็นการทำลายกล่องดวงใจของคณะรัฐประหาร จึงเป็นที่เข้าใจว่า ทำไมข้อเสนอของเราจึงถูกทำให้กลายเป็นการช่วยคนๆ เดียวให้พ้นผิด"

ซึ่งคำตอบเกี่ยวกับเรื่องคนๆ เดียวนี้ก็ชัดเจนอยู่ในคำอธิบายเพิ่มเติมข้อเสนอที่สองโดยวรเจตน์เช่นกันว่า "ไม่ใช่เป็นการนิรโทษกรรม อภัยโทษ หรือล้างมลทินของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด หากจะเริ่มดำเนินคดีกับบุคคลดังกล่าวใหม่ก็ทำได้ตามปกติ"

เหล่านี้คงพอฟันธงได้แล้วว่าการออกมาโต้โดยบิดเบี้ยวข้อเสนอนิติราษฎร์ของ นายอภิสิทธิ์ และ ผบ.ทบ. เป็นเรื่องปกป้องกล่องดวงใจ แม้ว่านายอภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์จะไม่ได้มีรายนามต่อท้าย คปค. (คณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) ชื่อย่อทางการของคณะรัฐประหาร

การไปจัดตั้งรัฐบาลของตนในกองพลทหารราบที่ ๑๑ และการไปขึ้นเวทีพันธมิตรแสดงความชื่นชมคณะรัฐประหาร ดังปรากฏหลักฐานคลิปยูทู้ปบนอินเตอร์เน็ต แม้กระทั่งเมื่อได้เป็นหัวหน้าฝ่ายค้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์แล้วก็ยังทำหน้าที่ หัวหอกทางการเมืองปกป้องทหาร เมื่อแสดงจุดยืนแข่งกับพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกลาโหม คัดค้านข้อเสนอของ นปช. ที่ขอให้มีการแก้ไขกฏหมายแต่งตั้งโยกย้ายทหาร*(4)

ก็เพียงพอยืนยันว่า ถ้าไม่ใช่ให้ท้ายรัฐประหารก็ต้องเป็นการเดินตามก้นคณะทหาร คมช. แน่นอน เช่นเดียวกับผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรง และอาณิสงค์จากผลพวงของรัฐประหารบางคนที่ออกมาเถียงข้างๆ คูๆ เบี่ยงเบนประเด็นกันต่อมา

นายสัก กอแสงเรือง แห่งสภาทนายความแห่งประเทศไทยคนหนึ่งละ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกคน ล้วนได้ดิบได้ดีจากรัฐประหารทั้งคู่

รวมทั้งนักวิชาการบางคนในกลุ่ม ๒๓ คณาจารย์ก็เคยรับงานนิติบริกรจากคณะรัฐประหารมาแล้วเช่นกัน ส่วน ดร. ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ ดูเหมือนจะเกาะกระแสเขียนบทความวิพากษ์คณะนิติราษฎร์อย่างสาดเสีย*(5) แถมยังบริภาษพาดพิงไปถึงผู้ที่เห็นคล้อยข้อเสนอนิติราษฎร์ด้วยวิธีการยกตน ข่มท่าน ดังที่ตีพิมพ์ใน น.ส.พ. มติชนว่า "แถมยังมีตัวช่วยระดับไพร่กลายเป็นอำมาตย์เพิ่มอีกเป็นอันมาก"

หวังว่าด็อกเตอร์ผู้ริอ่านเป็นนักเขียนเล่นสำนวนส่อเสียดจะได้ดังกับเขาบ้างอย่างที่ใจปรารถนา

สำหรับข้อโต้แย้งของนายสักที่เอาสมาชิกสภาทนายความ ๕ หมื่นคนมาพ่วงท้ายด้วยนั้น "ใบตองแห้ง"*(6) แห่งประชาไทออนไลน์ นักเขียนที่เด้งมาจากไทยโพสต์ เพราะโรจน์ งามแม้น เจ้าของหนังสือเขามีนโยบายตีพิมพ์ทุกอย่างที่ให้โทษทักษิณ ได้รับเอาไปสังคายนาเรียบร้อย แค่ที่ใบตองแห้งสะกิดสะเกาว่า
"เอ๊ะ หรือว่าคุณสักจะอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์มาสนับสนุนรัฐประหาร หรืออ้างว่ารัฐประหารทำเพื่อสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ก็อ้างอย่างก้ำๆ กึ่งๆ ยังไงไม่รู้ ไม่เข้าใจตุ้ม ผมยังงงอยู่ว่าคุณสักแกเขียนเองหรือใช้ทนายฝึกหัดตัดแปะ แต่สรุปได้ว่าคำแถลงนี้นอกจากเลอะเทอะทางความคิดอุดมการณ์แล้ว ยังสอบตกเรื่องการทำสำนวน การใช้ภาษา การเรียงลำดับ สับสนไปมา"

ผู้เขียนคงไม่จำเป็นต้องยกเนื้อความอื่นใดมาตั้งสังเกตอีก แต่ที่จำเป็นต้องเอ่ยถึงก็คือ ได้มีกลุ่มทนายความ และนักกฏหมายเพื่อสิทธิมนุษยชนออกแถลงการณ์มาซักค้านแถลงการณ์ของนายสักว่า "เป็นการทำลายหลักนิติธรรม และระบอบประชาธิปไตย อันนำความเสื่อมเสียมาสู่เกียรติภูมิของสภาทนายความ"

เช่นเดียวกับแถลงการณ์ของ ๒๓ คณาจารย์นิติศาสตร์ก็มีแถลงการณ์ของคณาจารย์ต่อต้านรัฐประหาร*(7) ขึ้นมาทัดทาน ด้วยการประกาศสนับสนุนข้อเสนอนิติราษฎร์ทั้ง ๔ ประเด็น แล้วยังชักชวนนักวิชาการอื่นๆ เข้าร่วม พร้อมทั้งเรียกร้องรัฐบาลให้ความสนใจนำไปศึกษาหาทางปฏิบัติ กับประณามการบิดเบือน และป้ายสีข้อเสนอนิติราษฎร์ ว่าเป็นการทำลายเสรีภาพทางวิชาการ และบรรยากาศประชาธิปไตย

ส่วนในเนื้อหาของแถลงการณ์ ๒๓ คณาจารย์นั้น ผู้เขียนเห็นว่าเป็นการตีขลุมบรรยายอย่างน้ำท่วมทุ่ง และตอบไม่ตรงประเด็นข้อกฏหมายที่นิติราษฎร์เสนอ เพียงเพื่อจะเบี่ยงประเด็นหาทางสรุปกล่าวหานิติราษฎร์ว่า "ยังคงมีอุดมการณ์ที่ยึดถือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และเป็นระบอบการปกครองที่ประเทศไทยยึดถือมาเป็นระยะเวลายาวนาน นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับแรกจนถึงฉบับปัจจุบันหรือไม่" เท่านั้นเอง

และแง่มุมแห่งข้อกฏหมายอันพึงมีในแถลงการณ์ ๒๓ คณาจารย์นั้น ก็มีนักศึกษากฏหมายปีสี่แห่งมหาวิทยาลัยรามคำแหงคนหนึ่งได้นำไปยำไว้บนหน้า เฟชบุ๊คแล้วอย่างถี่ถ้วน*(8) เช่นที่ว่า "ทาง ๒๓ คณาจารย์ควรสำเหนียกถึงหลักการพื้นฐานของหลักนิติรัฐ ที่ต้องประกันความเชื่อถือไว้วางใจของเอกชนที่มีต่อระบบกฎหมายของรัฐ สำหรับหลักต้นไม้เป็นพิษซึ่งเป็นหลักคิดในทางข้อเท็จจริงที่ส่งผลยุติเฉพาะ คู่ความเป็นรายคดี หาได้ส่งผลบังคับผูกพันเป็นการทั่วไปบังคับแก่บุคคลทั้งหลายไม่ การหยิบยกหลักดังกล่าวมาโจมตีข้อเสนอนิติราษฎร์จึงเป็นไปโดยความมักง่ายของ ๒๓ คณาจารย์โดยแท้"

หรือในตอนท้ายว่า
"กรณีที่ท่านยังมีทรรศนะต่อประชาชนว่ายังไม่ ฉลาดเท่าทันนักการเมือง เช่นนี้คณาจารย์ทั้ง ๒๓ คนก็เป็นประชาชนของรัฐนี้ล่ะครับ ... และพึงสังวรณ์ถึงความป่าเถื่อนทางความคิดของคณาจารย์ทั้ง ๒๓ ที่วางเจตจำนงทางการเมืองของตนเป็นที่ตั้ง แล้วยัดเยียดความโง่ให้ประชาชนคนอื่นๆ ซึ่งอาจจะหมายถึงประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ของรัฐด้วยโดยนัย"
เท่า นี้ก็คงพอทำให้เห็นตัวตนของ ๒๓ คณาจารย์ว่าไม่ต่างจากพวกที่ถือตนเป็นชนชั้นสูง นิยมวิธีแก้ปัญหาทางการเมืองโดยรัฐประหารล้มกระดาน หรือว่าใฝ่หามาตรา ๗ ซึ่งก็คือถวายคืนพระราชอำนาจทางการเมืองแก่กษัตริย์ และกลับสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช

แนวคิดแบบ ๒๓ คณาจารย์ถูกนำมาตีไข่ใส่สีเสียมันย่องโดย ดร. ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ โดยเฉพาะในข้อที่อ้างถึงจิตวิทยาของอาชญากรว่า "คนที่ต้องการยกเลิกกฏหมายใด แสดงว่าเขาอยากทำผิดกฏหมายนั้น" แล้วทำทีเป็นมีอารมณ์ขันยกตัวอย่างว่าตนอยากให้ยกเลิกกฏหมายกระทำชำเรา โดยอ้างคำคมที่พวกจงรักภักดีเหนือกว่าใครๆ เคยอ้างกันบ่อยๆ ว่า "กฎหมายถึงจะมีโทษแรงแค่ไหน ผู้ที่ไม่คิดจะทำผิดกฎหมายย่อมไม่เดือดร้อน"

การกล่าวเช่นนี้เป็นวิธีใช้ตรรกะแบบศรีธนญชัยซึ่งมีแต่ด็อกเตอร์ผู้ได้รับ เศษอาหารของเผด็จการในประเทศไทย หรือทาสเผด็จการในประเทศอาหรับนิยมใช้กัน

ผู้คนที่เจริญแล้วในทางจิตสำนึก (Mentality) ประชาธิปไตยเขาจะไม่กล้าใช้ตรรกะนั้น เพราะมันแสดงถึงความป่าเถื่อนแบบสัตว์ที่ยังเป็นดิรัจฉาน ยังไม่ได้รับการฝึกให้เชื่อง หรือไม่สามารถทำให้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับมนุษย์อย่างสันติสุขได้ เมื่อการใช้เหตุ และผลไม่มีความหมาย จะต้องใช้วิธีการรุนแรง ทำร้าย และเข่นฆ่ากันให้หวาดกลัวเท่านั้น

น่าเสียดายที่ ดร. ทวีเกียรติเป็นผู้สอนวิชากฏหมาย แต่ไม่ทราบว่าหลักการทางอาชญวิทยานั้นให้กำหนดโทษเพียงพอเหมาะพอควรแก่ความ ผิด มิฉะนั้นจะเป็นการโหดร้ายทารุณ แถมทำให้ผู้ต้องโทษไม่หลาบจำด้วย..ฮ่วย

ที่จริงการกำหนดโทษรุนแรง และมีระวางโทษขั้นต่ำเพื่อให้เกิดการหวั่นเกรงมากเป็นพิเศษ ก็มีปรากฏในประเทศที่ระบบตุลาการเดินตามครรลองประชาธิปไตยอย่างสหรัฐอเมริกา เหมือนกัน ดังพบว่ามีการออกกฏหมายระบุความผิดขั้นรุนแรง (Capital Punishment) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในปัจจุบันมีการใช้ความหวาดกลัวโทษหนักเป็นเครื่องมือกำหราบ่ให้ผู้ ต้องหายอมรับสารภาพ (Plea Bargaining) ก่อนจะไปถึงการพิจารณาคดีแล้วจะได้รับลดหย่อนผ่อนโทษ

ถ้าใครยังฝืนสู้คดีต่อไปก็จะถูกอัยการเพิ่มกระทงข้อหา ซึ่งถ้าถูกพิพากษาผิดจะต้องรับโทษหนักขึ้นไปเป็นสิบเท่า กรณีเช่นนี้เรียกว่า โทษทัณฑ์ของการสู้คดี (Trial Penalty) กำลังถูกวิพากษ์อย่างมากว่าเป็นการบีบคั้น (Coercion) ที่ผิดเพี้ยนไปจากกระบวนการยุติธรรม ทำให้ผู้ต้องหาอาจรับสารภาพทั้งที่บริสุทธิ์ (ดังเช่นผู้ต้องหา ม.๑๑๒ จำนวนมากในประเทศไทย) เพราะไม่อยากติดคุกนาน หรือโดนโทษหนัก

นายริชาร์ด อี. ไมเออร์ ที่สอง อดีตผู้ช่วยอัยการรัฐบาลกลางสหรัฐ ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์สมทบภาควิชากฏหมาย มหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลน่า กล่าวว่าทางปฏิบัติซึ่งผู้ต้องหายอมรับสารภาพเพื่อหลีกเลี่ยงถูกอัยการเพิ่ม กระทงความผิดนี้ ทำให้อำนาจในการกำหนดโทษไปสะดุดอยู่ที่อัยการ แทนที่จะเป็นอำนาจวินิจฉัยของผู้พิพากษาล้วนๆ

เขาแสดงความเป็นห่วงว่าการเปลี่ยนมืออำนาจ "ถ้าไปอยู่ในมือที่ไม่เหมาะสม จะทำให้กระบวนการยุติธรรมทางคดีอาญาถูกกักเป็นตัวประกันได้"*(9)

สำหรับการที่อธิการบดีธรรมศาสตร์ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีต คตส. อีกผลพวงหนึ่งของ คปค. ร้อนใจจนต้องเขียนในเฟชบุ๊คยอกย้อนเสียดแทงนิติราษฎร์เป็นคำถามกึ่งไร้ เดียงสาถึง ๑๕ ข้อนั้ นได้มีผู้ที่ให้เกียรติต่อตำแหน่งอธิการบดีเขียนตอบกันมากมาย นับแต่อดีตคณะบดีนิติศาสตร์ มธ. อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ ผู้เคยเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ และเคยเป็นวุฒิสมาชิกจากการเลือกตั้ง กรุณาตอบด้วยหลักกฏหมายล้วนๆ เช่นว่า "ป.อาญา ม.๑๑๒ เท่าที่มีการตีความและใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีผลขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญแน่ นอน เพราะเป็นการลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนซึ่งเป็นสิทธิขั้น มูลฐานตามรธน.ของประชาชนโดยสิ้นเชิง"*(10)

นอกนั้นก็มี อ. ใจ อึ๊งภากรณ์ อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องระเห็จไปอยู่ลอนดอ นเพราะเขียนหนังสือวิพากษ์ทางวิชาการต่อคณะรัฐประหาร เลยโดนข้อหาหมิ่นสถาบันฯ ให้เกียรติ "จัดให้" เหมือนกันในข้อเขียนเรื่อง "ตอบนักวิชาการสลิ่ม.." ต่อท้ายเรื่อง "เบื้องหลังพวกเสื้อเหลืองที่คัดค้านข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์" เชิญทัศนากันเต็มๆ ที่ redthaisocialist.com

ดูเหมือนดร.สมคิดจะมีเสน่ห์มากเป็นพิเศษ ใครๆ ก็อยากตอบคำถาม ๑๕ ข้อของท่าน ไม่เพียงหนังสือพิมพ์ข่าวสดบรรจงตอบในคอลัมน์ "เหล็กใน" ว่า "โถ..อธิการบดี"*(11) แล้วคุณพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล นักศึกษากฏหมายช่วยจัดให้อย่างสมน้ำสมเนื้อ ดังตัวอย่างที่เขาตอบคำถามข้อ ๑๔ ว่า "คุณสมคิดครับ รัฐธรรมนูญเกิดทีหลัง ประชาชนซึ่งมีสิทธิเสรีภาพติดตัว (สิทธิมนุษยชน) มาก่อนรัฐธรรมนูญ ฉะนั้น แม้จะไม่มีหมวดสิทธิเสรีภาพ ถามว่าประชาชนจะไม่มีสิทธิเสรีภาพหรือ คำตอบคือเขายังมีบริบูรณ์ทุกประการ"*(12)

แต่ที่จัดให้ท่านอธิการบดี มธ. หนักกว่าใครๆ เห็นจะเป็นกลุ่มศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ที่เก่ามากๆ ย้อนไปถึงรุ่น ตมธก. ที่ไม่เพียงเขียนเป็นจดหมายเปิดผนึกเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม แล้วยังไปตั้งโต๊ะในธรรมศาสตร์ใกล้ประตูด้านสนามหลวงรณรงค์ขับไล่ ดร.สมคิดจากตำแหน่ง*(13) เนื่องจากในข้อเขียนคำถามย้อนคณะนิติราษฎร์ข้อ ๑๑ ของท่าน บังอาจหยามเหยียดผู้ประศาสน์การ ดร. ปรีดี พนมยงค์ เอาไปเทียบเคียงกับนักรัฐประหารอย่างสุจินดา ถนอม ประภาส สฤษดิ์ และจอมพล ป. จนเป็นที่ระคายเคืองให้ทายาทของท่านปรีดี นางดุษฎี บุญทัศนกุล ต้องเข้าไปโพสต์ถาม ดร.สมคิดในหน้าเฟชบุ๊คว่า "เข้าใจผิดอะไรหรือเปล่าคะ ที่พูดพาดพิงถึงนายปรีดีเกี่ยวกับการรัฐประหาร"

ต่อกรณีที่ ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ นักกฏหมายค่ายเยอรมนี เขียนคำวิจารณ์ต่อข้อเสนอนิติราษฎร์อย่างนักวิชาการแท้ๆ ก็ได้มีการวิภาษทางวิชาการจากนายพุฒิพงศ์นักศึกษากฏหมายแล้วเช่นกัน*(14) หากแต่มีบางตอนที่ ดร. กิตติศักดิ์ อ้างไว้ทำให้ผู้เขียนเกิดตะขิดตะขวง จะปล่อยเลยไปเพราะเหตุว่าท่านเป็นอาจารย์ได้ทุนไปลงแรงร่ำเรียนมามาก เหมือนอย่างที่ ดร.ทวีเกียรติใช้อ้างหลอกด่านิติราษฎร์ว่าเป็น "ต้นไม้พิษ" ก็เกิดอาการอึดอัดขัดขืนในใจ จึงขอร่วมวงวิภาษวิธีตรงนี้หน่อย

ดร. กิตติศักดิ์เขียนไว้ว่า "แม้ประชาชนจะลงประชามติไว้ว่าอย่างไรก็ตาม หากประชามติซึ่งเป็นการใช้อำนาจสูงสุดของประชาชนนั้นขัดต่อกฎหมาย ศาลซึ่งเป็นคนกลางที่เป็นอิสระก็มีอำนาจชี้ขาดว่าประชามตินั้นขัดต่อกฎหมาย และไม่มีผลบังคับ" แล้วยกตัวอย่างคดีที่ศาลสหรัฐพิพากษาแย้งประชามติการผ่านร่างข้อเสนอที่ ๘ ในแคลิฟอร์เนียห้ามบุคคลเพศเดียวกันจดทะเบียนแต่งงาน

ผู้เขียนคิดว่า ดร.กิตติศักดิ์สำคัญผิดในสถานภาพซึ่งแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเกี่ยวกับการ บังคับใช้กฏหมาย และจิตสำนึกของประชาชนต่อระบบการปกครองระหว่างสหรัฐอเมริกา และประเทศไทย

ในเรื่องห้ามบุคคลเพศเดียวกันแต่งงานในแคลิฟอร์เนียนั้น คำพิพากษาศาลรัฐบาลกลาง (ไม่ใช่ศาลสูงสุดสหรัฐ) ในคดีแพรีกับชว้าทซเน็กเกอร์เป็นเพียงตัดสินว่าการทำประชามติในข้อเสนอที่ ๘ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งฝ่ายสนับสนุนข้อเสนอนี้ได้ยื่นฎีกาต่อศาลสูงสุดแห่งมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ทันที ศาลรับคดีเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ ขณะนี้คดียังไม่สิ้นสุด ผลบังคับของประชามติยังคงดำรงอยู่

การที่ ดร. กิตติศักดิ์สรุปว่า "แต่ศาลสหรัฐอเมริกาก็ได้ยอมรับว่าเมื่อเสียงส่วนมากใช้ไปในทางที่ผิด ศาลซึ่งแม้เป็นเสียงข้างน้อยที่แสนจะน้อยก็มีหน้าที่ชี้ถูกชี้ผิดให้เสียง ข้างมากรับรู้ไว้" เป็นการสรุปที่ไม่ตรงประเด็น หรือเบี่ยงประเด็น เพราะคำพิพากษาอ้างรัฐธรรมนูญว่าการยื่นข้อเสนอ (ให้ประชาชนโหวต) นั้นผิด ไม่ใช่เสียงข้างมากที่โหวตออกมาผิด

ดังนั้นถ้าเป็นการต่อสู้คดีในอเมริกา ข้อโต้แย้งของ ดร.กิตติศักดิ์ถือว่าเสียเปล่าไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานได้

ท้ายที่สุดนี้ ดังได้กล่าวไว้ในเบื้องต้นแล้วว่าคุณูปการอันเกิดจากข้อเสนอนิติราษฎร์สำคัญ ที่สุด ก็คือก่อให้เกิดการถกเถียงอย่างกว้างขวาง และผลแห่งการแสดงปฏิกิริยาในทางลบต่อข้อเสนออย่างมีเลศนัยบ้าง อย่างเต็มไปด้วยโมหะจริตบ้าง อย่างตะแบงชนิดไร้เดียงสาบ้าง ล้วนทำให้มองเห็นประโยชน์ หรือข้อดีต่างๆ ของหลักการในข้อเสนอมากยิ่งขึ้น ข้อตำหนิจากนักวิชาการบางท่านว่าข้อเสนอนิติราษฎร์ยังไม่ละเอียด และไม่กระจ่างในบางเรื่องก็ค่อยๆ ผ่อนคลายไป

จนบัดนี้เริ่มเห็นแสงไฟที่ปลายทางบ้างแล้วว่า ความเลวร้ายทางการเมืองตลอด ๕ ปีที่ผ่านมาอันเต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำในการบังคับใช้กฏหมาย มายาคติของการแบ่งชนชั้นในสังคมระหว่าง "คนดี" ที่มีประกาศนียบัตร และปริญญาทางการศึกษา กับรากหญ้าที่มีจำนวนมากกว่าท่วมท้น และจิตสำนึกเยี่ยงสัตว์เดรัจฉานในการฆ่าหมู่ผู้คนที่ไม่ยอมนอบน้อมกราบไหว้ จะแก้ไขด้วยนามธรรมของการปรองดองอย่างเดียวไม่ได้

แต่จักต้องพร้อมกันลงมือจัดทำอย่างเป็นรูปธรรม ก้าวแรกอยู่ที่จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์

*(1) http://www.enlightened-jurists.com/blog/44
*(2) http://www.prachatai.com/journal/2011/09/37069
*(3) http://www.matichon.co.th/นิธิ เอียวศรีวงศ์
*(4) http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255410040292&tb=N255410
*(5) http://www.matichon.co.th/ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์
*(6) http://www.prachatai.com/journal/2011/09/37137
*(7) http://www.prachatai.com/journal/2011/10/37192 
*(8) http://www.matichon.co.th/พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

*(9) http://www.nytimes.com/2011/09/26/us/tough-sentences-help-prosecutors
*(10) http://www.prachatai.com/journal/2011/09/37109
*(11) http://www.khaosod.co.th/โถ..อธิการบดี
*(12) http://www.enlightened-jurists.com/page/239
*(13) http://www.prachatai.com/journal/2011/10/37247
*(14) อ้างแล้วที่ (๑๒)

ภาพศาลาท่าน้ำวัดศรีสุดาราม เมื่อเที่ยงวันที่ 15 ต.ค. 54




จาก: ICT for All Club <ictforall.th@gmail.com>
วันที่: 15 ตุลาคม 2554, 16:38
หัวเรื่อง: ภาพศาลาท่าน้ำวัดศรีสุดาราม เมื่อเที่ยงวันที่ 15 ต.ค. 54
ถึง: 






วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ฟุตบาธ - บักลาว


อัปโหลดโดย เมื่อ 27 ก.พ. 2011

Artist : ฟุตบาธ (Footpath)
Album : ไกด์สนามหลวง
Producer : มงคล อุทก
Year : 2530

การให้อภัย.MP4

น้ำท่วม : วิบากกรรมแห่งยุคสมัย วิบากกรรมอำพราง

น้ำท่วม : วิบากกรรมแห่งยุคสมัย วิบากกรรมอำพราง

จะเป็นไปได้หรือไม่ว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ ศูนย์รวมของทุกอย่างจะกระจายตัวไปตามภูมิภาค และการแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมอาจไม่จำเป็นต้องพะวงว่าจะกระทบกระเทือนต่อศูนย์รวมทุกสิ่งอย่างของประเทศ แม้จะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ กระนั้นก็อาจเป็นเรื่องที่ควรทำ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปี 2554 นี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจุดรับน้ำเนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่มากตามปรากฏการณ์ทางธรรมชาติระดับโลกอย่าง "ลา นิญญา" ซึ่งหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักหนาสาหัสไม่ใช่ใครที่ไหน หากเป็นประเทศไทยของเราเอง

เมื่อต้นปีพบว่ามวลน้ำมหาศาลหลากไหลเข้าท่วมด้ามขวานถือเป็นวิกฤติการณ์หนึ่งที่ควรบรรจุไว้ในประวัติศาสตร์ภัยพิบัติในประเทศ ถัดมาแถบภาคเหนือในจังหวัดเล็กๆ ของผู้เขียนเองก็หลีกไม่พ้นที่จะถูกน้ำท่วมสูงในรอบห้าปีหลังจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2549 หนำซ้ำหลายพื้นที่ยังเผชิญกับน้ำป่าไหลหลากซึ่งเกิดขึ้นอย่างถี่กระชั้น แม้แต่เชียงใหม่ก็ยังถูกกระแสน้ำลามเลียในตัวเมืองอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในรอบสองทศวรรษที่ผู้เขียนมีชีวิตอยู่


ต่อความแปลกประหลาดของสถานการณ์ทางธรรมชาติเช่นนี้ ใช่หรือไม่ว่ามนุษย์ โดยเฉพาะ "มนุษย์ไทย" นั้นต้องตระหนักว่าสาเหตุของมันคืออะไร และทางหนีทีไล่ที่สมเหตุผล มีประโยชน์ เป็นธรรม คืออะไร


อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนมิได้คาดหวังว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับใหญ่อย่างทันทีทันใด หากหวังเพียงว่า การเขียนครั้งนี้จะจุดประกายบางอย่างแก่ผู้อ่านในระดับย่อย เผื่อว่าจะกลายเป็นเจตจำนงร่วมในการผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในระดับชาติ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง


หากไม่ถือเอาข่าวเรื่องการปล่อยน้ำเขื่อนอย่างผิดปกติเพราะเหตุผลทางการเมืองที่ว่อนว่ายโจมตีกันอยู่ในโลกอินเตอร์เน็ทมาเป็นสาระ สถานการณ์น้ำท่วมภาคกลางของประเทศในขณะนี้ ถือเป็น "วิบากกรรมแห่งยุคสมัย" ตามทัศนะส่วนตัวของผู้เขียนเอง


ทั้งนี้ "วิบากกรรม" ตามนิยามส่วนตัวหมายถึง ผลร้ายของการกระทำอันต่อเนื่อง ขณะที่ "ยุคสมัย" หมายถึง สภาพการณ์ของพื้นที่ ณ เวลาใดหนึ่งแล้วแต่จะนับคำนวณ


"วิบากกรรมแห่งยุคสมัย" จึงหมายถึง ผลร้ายที่เกิดขึ้นเนื่องจากสภาพการณ์ของประเทศไทยในยุคทุนนิยมเสรีครอบงำโลก อันเป็นผลสืบเนื่องจากพัฒนาการทางปัญญาในโลกตะวันตก ร่ายมาตั้งแต่ยุคสมัยแห่งความรู้แจ้งอันส่งผลให้การปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษก่อตัวขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และส่งผลสะเทือนต่อการพัฒนาระบบการแข่งขันเสรีทางการค้า สืบมาสู่สมัยล่าอาณานิคมเพื่อระบายตลาดและแสวงวัตถุดิบในคริสต์ศตวรรษที่ 19 กระทั่งยุคโลกาภิวัตน์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 และยุคปัจจุบันที่ผู้เขียนไม่อาจตั้งชื่อได้

ทุนนิยมเติบโตอยู่ในทุกซอกทุกมุมของชีวิต จนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แม้กระทั่งผู้ที่พยายามหนีห่างจากมัน เสมือนหนึ่งคุกตะรางที่จองจำผู้คนไว้ ภายใต้กรอบกำหนดของความเป็นรัฐชาติ และกรอบกำหนดของความเป็นรัฐในระบบโลกที่มีกติการะหว่างชาติเป็นเครื่องมือ

สภาพเช่นนี้ส่งผลให้ประเทศเล็กๆ เช่นประเทศไทยนั้นจำต้องแขวนตัวเองอยู่กับระบบดังกล่าว แม้จะมีวาทกรรม "เศรษฐกิจพอเพียง" หลอกล่อใจให้รู้สึกว่าคนไทยใช้ชีวิตกลมกลืนกับวิถีธรรมชาติ แต่ก็ไม่อาจเป็นความจริงขึ้นมาได้

หลายปีมานี้พื้นที่เกษตรกรรมอาหารในภาคเหนือและอีสานถูกแปรสภาพเป็นพื้นที่เกษตรกรรมอุตสาหกรรม กล่าวคือ เป็นการผลิตพืชผลทางการเกษตรเพื่อสนองการผลิตในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งโดยมากอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นไปเพื่อการผลิตสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร เช่น การปลูกยางพาราเพื่อผลิตยางรถยนต์ การปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน เป็นต้น เหตุผลที่ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชชนิดดังกล่าวนั้นเนื่องจากหวังผลทางเศรษฐกิจ ซึ่งผันตามระบบทุนนิยมนั่นเอง

กล่าวก็คือ หากเกษตรกรไม่มีทรัพย์สิน ก็ไม่อาจอยู่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ในปัจจัยหลากหลายมิติได้ เช่น การเข้าถึงการศึกษาของบุตร การเข้าถึงการรักษาพยาบาล ตลอดจนการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานตามแบบฉบับของโลกในยุคปัจจุบัน นอกจากนั้นแล้ว ผู้บุกเบิกพื้นที่ทางการเกษตรอาจเป็นนายทุนเสียเองที่กว้านซื้อพื้นที่จากชาวบ้านเพื่อการลงทุนระยะยาว

ทั้งนี้ไม่นับรวมถึงการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความเติบโตของความเป็นเมือง ภาวะเช่นนี้นำไปสู่ความเสียสมดุลทางธรรมชาติอย่างใหญ่หลวง นอกจากนั้นแล้วอาจส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ประเด็นของผู้เขียนยังคงอยู่ในเรื่องของ "น้ำท่วม" น้ำท่วมไม่เพียงแต่เกิดจากปริมาณน้ำฝนที่มากตามปรากฏการณ์ลานิญญา หากยังเป็นเกิดจากภาวะสมดุลที่ผันผวนเนื่องจากการก่อกวนธรรมชาติภายในประเทศด้วย

ทั้งนี้ เรื่องของการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำก็เป็นสิ่งที่น่ากลัวไม่แพ้กัน แม้จะมีเหตุผลนับประการที่หลายคนมองว่าดี เช่น เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า หรือเพื่อจัดสรรสู่พื้นที่แห้งแล้ง ถึงอย่างไรก็ต้องแลกกับการถากถางทำลายผืนป่า จะว่าไปแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่หมุนเวียนอยู่บนแผ่นดินไทยขณะนี้ ล้วนเป็นสิ่งที่กระหน่ำซ้ำเติมสถานการณ์ความแปรปรวนทางธรรมชาติอย่างไม่อาจบรรยายได้

เรื่องของเรื่องก็คือ ผู้เขียนเชื่ออย่างสนิทใจว่า โลกได้ดูดกลืนประเทศไทยเข้าสู่ระบบทุนนิยมอย่างไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะถอนตัวอย่างไร

แม้แต่ตัวผู้เขียนเองยังใช้ชีวิตอยู่ในระบบดังกล่าวอย่างไม่รู้ว่าจะขาดมันได้อย่างไร

น้ำท่วมจึงเป็น "วิบากกรรมแห่งยุคสมัย" ที่คนไทยต้องร่วมกันเผชิญ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง    

อย่างไรก็ตาม กระแสน้ำไหลที่ผิดปกติในขณะนี้อันเกิดจากการจัดการน้ำของกรมชลประทานเพื่อรักษาศูนย์รวมของระบบทุนนิยมภายในประเทศอย่างกรุงเทพมหานครนั้น ถือเป็น "วิบากกรรมอำพราง" ที่ชาวต่างจังหวัดในภาคกลางต้องเผชิญโดยลำพัง

แม้จะมีหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน ตลอดจนผู้คนที่มีจิตอาสาเคียงข้างคอยช่วยเหลือ แต่ก็นั่นแหละ สิ่งเหล่านั้นอาจไม่ควรเกิดขึ้นเลยแม้แต่น้อย

เมืองนครสวรรค์จำต้องจมบาดาลอยู่อย่างน้อยสองเดือน เมืองอยุธยาน้ำท่วมสูงเป็นประวัติการณ์อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน สิ่งเหล่านี้เป็น "วิบากกรรมอำพราง" ที่พวกเขาตกเป็นผู้รองรับ

ทั้งที่กรุงเทพมหานครคือจุดศูนย์กลางของสาเหตุของน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ แต่กลับไม่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรม เป็นตรรกะที่สอดคล้องกับแนวคิดคู่สังคมไทยมาช้านานว่า ผู้คนไม่ควรรู้จักรับผลเท่าการกระทำ หากต้องให้รู้จักแต่รับผลมากกว่าการกระทำ

ตัวอย่างเช่น การทำงานน้อยแต่ค่าตอบแทนมากของผู้คนบางกลุ่ม ซึ่งตรรกะนี้ใช้ได้กับเรื่องน้ำท่วม คนกรุงเทพมีส่วนในการใช้สอยซึ่งมีค่าเท่ากับทำลายมากกว่าคนต่างจังหวัดแต่แทบไม่ได้รับผลกระทบใดๆ เลย สมแล้วที่เป็นวิบากกรรมอำพรางแห่งยุคสมัย...

ขณะที่การถากถางทำลายธรรมชาติเป็นไปเพื่อสนองนายทุน วิบากกรรมกลับตกต่อผู้คนที่อาจไม่ได้ผลประโยชน์จากการถากถางทำลายนั้น

ต่อประเด็นเรื่องการจัดการน้ำขณะนี้ หลายเสียงกระซิบกระซาบมาว่า คนต่างจังหวัดจำนวนหนึ่งต้องการที่จะรักษาเมืองหลวงไว้ ถึงอย่างไรก็ยังเป็นเรื่องที่มีสภาพสองแพร่งในตัวมันเอง กล่าวก็คือ ด้านหนึ่ง กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์รวมของความช่วยเหลือจริง ขณะที่อีกด้าน กลับกลายเป็นคำถามที่ว่า เหตุใดความช่วยเหลือจึงต้องรวมศูนย์อยู่เฉพาะที่กรุงเทพมหานคร                

จะเป็นไปได้หรือไม่ว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ ศูนย์รวมของทุกอย่างจะกระจายตัวไปตามภูมิภาค และการแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมอาจไม่จำเป็นต้องพะวงว่าจะกระทบกระเทือนต่อศูนย์รวมทุกสิ่งอย่างของประเทศ แม้จะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ กระนั้นก็อาจเป็นเรื่องที่ควรทำ                

เมื่อถึงเวลานั้น อาจเป็นไปได้ว่า น้ำท่วมจะไม่ใช่วิบากกรรมอำพรางอีกต่อไป

http://www.prachatai3.info/journal/2011/10/37415
 

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เหนื่อยไหมเจ้าสายลม - นิด ลายสือ



ดวงใจฉันยังอยู่เคียงข้าง เธอเสมอ

ดวงตาฉันยังเฝ้ามองด้วย ห่วงใย

เพียงฉันยังตอบตัวเอง  ไม่ได้

ความรักมันยากอธิบาย .....

ขอทำวันนี้... ให้ดีก่อน

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การเลือกใช้ครีมกันแดดที่ดี

    หน้าหลัก | ติดต่อเรา    

  การเลือกใช้ครีมกันแดดที่ดี

  

วิธีการเลือกใช้ยากันแดด   

 ใน ปัจจุบัน เทคโนโลยีต่างๆ สามารถกันแดดที่ดีขึ้น เช่น สารในกลุ่ม Physical Sunscreen ที่สามารถกันแดดได้ดี และหน้าไม่ขาว หรือ การใช้ยากันแดดทั้ง 2 กลุ่ม (Physical and Chemical Sunscreen) ผสมกัน เพื่อประโยชน์สูงสุดในการป้องกันแสงแดด

หลักในการเลือกและใช้ยาทากันแดด

สิ่งที่ดีที่สุดในการป้องกันแสงแดด คือ การหลีกเลี่ยงแสงแดด แต่ในบางกรณี เราจำเป็นต้องโดนแสงแดด เราจึงควรรู้จักการเลือกใช้ยากันแดดดังนี้

1. พิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสมกับตนเอง โดยคำนึงถึง

  • อาชีพ ลักษณะงาน

  • กีฬา หรือ กิจกรรมต่างๆ

  • ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือการแพ้หรือเปล่า

2.โดยทั่วไปยากันแดดควรมีค่าป้องกันแสงแดด(SPF) เท่ากับหรือมากกว่า 15
3.ควรป้องกันทั้ง UVA และ UVB
4.ไม่ควรใช้ยากันแดดที่มีน้ำหอม เพราะว่าน้ำหอมสามารถทำให้เกิดอาการแพ้ได้บ่อย
5.ควรทาหนากว่าทาครีมทั่วไปเล็กน้อย
6.เมื่อมีเหงื่อหรือโดนน้ำควรทายากันแดดซ้ำ หรือใช้ยากันแดดที่สามารถกันน้ำได้ 




   วันที่ประกาศ : 19 ก.พ. 2554 
สำนักงานบัณฑิตศึกษา ศูนย์บริการการศึกษา 222 อาคารไทยบุรี ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 80161
โทรศัพท์ 075-673138-9 โทรสาร 075-673135    ผู้พัฒนาระบบ