วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เชิญอบรม ธรรมะและโยคะเพื่อผู้ป่วย ครั้งที่ ๑๕ วันเสาร์ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๗.๐๐ น.


จาก: Tanawat Ketvimut <tanawatk@gmail.com>
วันที่: 24 ตุลาคม 2553, 11:19
หัวเรื่อง: เชิญอบรม ธรรมะและโยคะเพื่อผู้ป่วย ครั้งที่ ๑๕
ถึง:

โครงการอบรม ธรรมะและโยคะเพื่อผู้ป่วย ครั้งที่ ๑๕

โดย ชีวิตสิกขา เครือข่ายเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจชีวิต

ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ

วันเสาร์ที่  ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓    เวลา ๐๘.๓๐ ๑๗.๐๐ น.

***********************************

ภาวะเจ็บป่วยทางร่างกายที่เกิดขึ้นไม่เพียงต้องการ การดูแลเยียวยาทางกายภาพที่ดีและเหมาะสมกับโรคเท่านั้น หากยังต้องการองค์ประกอบร่วมทั้งทางด้านจิตใจ สังคมและปัญญา เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยอยู่ได้อย่างมีสุขภาวะที่ดีและสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เพราะถึงแม้ทางกายภาพอาจจะไม่สมบูรณ์ แต่ศักยภาพทางด้านจิตใจและปัญญา ยังสามารถพัฒนาได้ไปจนถึงขั้นสูงสุด ดังนั้นทั้งตัวผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยเองต่างก็ต้องการความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติในการรับมือกับความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเพื่อให้สามารถวางใจได้ว่าแม้กายจะป่วยแต่ใจไม่ป่วยเลย ค่อย ๆ ถอดถอนจากผู้เป็นทุกข์ สู่ผู้เห็นทุกข์ จวบจนกระทั่งสามารถสร้างเหตุปัจจัยในการเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านสำคัญที่สุดของชีวิตอย่างเกื้อกูล

กระบวน การอบรม

1.              ฝึกเจริญสติภาวนา ตามแนวทางหลวงพ่อเทียน และธรรมะในการวางใจรับมือกับความเจ็บป่วย 

2.              ฝึกโยคะและเทคนิคหายใจเพื่อการรู้ ตื่น ปล่อยวาง

3.              กิจกรรมเรียนรู้ กับพลังกลุ่มเพื่อการเยียวยาความเจ็บป่วย

ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมอบรม  สามารถเข้าร่วมได้ทั้งผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย และผู้สนใจทั่วไป

การเตรียมตัว   เตรียมเสื่อหรือผ้าปูรองนอนเพื่อการฝึกโยคะ

การ แต่งกายสวมใส่เสื้อผ้าสบายและสะดวกเพื่อการฝึกโยคะ ไม่จำเป็นต้องใส่ชุดขาว

หมายเหตุ  ทางเจ้าภาพจัดเตรียมอาหารกลางวัน (มีมังสวิรัติ) เครื่องดื่ม ตลอดการอบรม

****************************************************************************************

ใบลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมโครงการธรรมะและโยคะเพื่อผู้ป่วย ครั้งที่ ๑๕

๑.............................................................อายุ.......ปี  Oสุขภาพปกติ Oป่วยด้วยโรค/ Oดูแลผู้ป่วยโรค.....................

๒............................................................อายุ.......ปี  Oสุขภาพปกติ Oป่วยด้วยโรค/ Oดูแลผู้ป่วยโรค....................

๓............................................................อายุ.......ปี  Oสุขภาพปกติ Oป่วยด้วยโรค/ Oดูแลผู้ป่วยโรค.....................

๔............................................................อายุ.......ปี  Oสุขภาพปกติ Oป่วยด้วยโรค/ Oดูแลผู้ป่วยโรค.....................

๕............................................................อายุ.......ปี  Oสุขภาพปกติ Oป่วยด้วยโรค/ Oดูแลผู้ป่วยโรค.....................

สังกัดหน่วยงาน...........................................................เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อกลับ................................................อีเมล์สำหรับการส่งข่าวสารอบรมครั้งต่อไป..........................................................................................................

ส่งใบลงทะเบียนได้ที่ jivitasikkha@gmail.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 084-643-9245,  087-678-1669, 089-899-0094

โปรแกรมอบรม ธรรมะและโยคะเพื่อผู้ป่วย ครั้งที่ ๑๕

ชีวิตสิกขา เครือข่ายเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจชีวิต

ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ

วันเสาร์ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓     เวลา ๐๘.๓๐ ๑๗.๐๐ น.

๐๘.๐๐-๐๘.๓๐   ลงทะเบียนเปิดการอบรมและปฐมนิเทศ

๐๘.๓๐-๐๙.๓๐   ฝึกการเจริญสติภาวนาตามแนวทางหลวงพ่อเทียน : แด่เธอผู้รู้สึกตัว

๐๙.๓๐-๑๑.๓๐   วิถีแห่งบัวบาน - วางใจรับมือกับมะเร็งระยะสุดท้ายสู่การเปลี่ยนผ่านที่สำคัญที่สุดของคุณบัวพระวิทยากร:พระอธิการครรชิต อกิณจโน วัดป่าสันติธรรม จ.ชัยภูมิ

๑๑.๓๐-๑๒.๐๐   ฝึกเทคนิคการผ่อนคลายอย่างลึก

๑๒.๐๐-๑๓.๐๐   พิจารณาอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐-๑๕.๐๐   กิจกรรม พลังกลุ่มเพื่อการเยียวยาความเจ็บป่วย                                                    

๑๕.๐๐-๑๖.๓๐   ฝึกโยคะและเทคนิคหายใจเพื่อการรู้ตื่น และปล่อยวาง

๑๖.๓๐-๑๗.๐๐   สรุปและปิดการฝึกอบรม ร่วมทำบุญถวายปัจจัยแด่พระอาจารย์ และรับพรก่อนกลับบ้าน

_/l\__/l\__/l\__

แผนที่หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ



--
ดล
ธนวัชร์ เกตน์วิมุต

ชีวิตสิกขา : เครือข่ายเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจชีวิต
www.jivit.net
159/70 ซ.วิภาวดีรังสิต 62 ถ.วิภาวดีรังสิต
หลักสี่ กทม. 10210
โทรศัพท์ 089-678-1669, 089-899-0094
แฟกซ์ 02-900-5429





วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม 2553 เวลา 13.30-16.30 น. ที่ อาคารสถาปัตยเวท สถาบันรัชต์ภาคย์ รามคำแหง

ดร.ยิ่ง ศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและเบเกอรี่ และประธานหลักสูตรสาขาการจัดการธุรกิจอาหารและภัตตาคาร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตภาคพิเศษ ร่วมกับดร.สุชิต ผลเจริญ ผู้บริหารโครงการพิเศษการบริหารธุรกิจ บรรยายพิเศษเรื่อง “ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมอาหารไทยสู่ครัวโลก” ในวันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม 2553 เวลา 13.30-16.30 น. ที่ อาคารสถาปัตยเวท สถาบันรัชต์ภาคย์ รามคำแหง


วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม 2553 เวลา 9.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมรสสุคนธ์ โรงพยาบาลปิยะเวท

 สถาบัน กระดูกและข้อ โรงพยาบาลปิยะเวท ขอเชิญผู้สนใจร่วมฟังสัมมนาให้ความรู้ในหัวข้อเรื่อง “ปวดหลัง...ปัญหากวนใจ...แก้ไขได้” อาการปวดหลังพบได้เป็นอันดับสองของอาการปวดในร่างกาย รองมาจากอาการปวดหัว และเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ทางศัลยกรรมกระดูก โดยทั่วไปไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่เป็นปัญหากับผู้คนในวัยทำงาน และการดำรงชีวิตประจำวัน ดังนั้นการตรวจรักษาที่ถูกต้องรวมไปถึงการป้องกัน และปฏิบัติตัวที่ถูกวิธีจะเป็นวิธีจัดการกับอาการนี้ได้ถูกต้อง รับฟังประเด็นต่าง ๆ ได้ในงาน และสำหรับผู้เข้าร่วมงานสัมมนาทุกท่านลุ้นรับคูปองเอกซเรย์กระดูกสันหลัง L-S SPINE (LAT) มูลค่า 350 บาท จำนวน 10 ท่าน ในวันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม 2553 เวลา 9.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมรสสุคนธ์ โรงพยาบาลปิยะเวท ท่านใดสนใจสามารถสำรองที่นั่งโดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ Call Center 0-2625-6555 

          สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-625-6555 โรงพยาบาลปิยะเวท


 



วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม 2553 ณ อาคารศุภาลัย แกรนด์ ทาวเวอร์ ถ.พระราม 3 เวลา 8.30-12.30 น.

       วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม 2553 ณ อาคารศุภาลัย แกรนด์ ทาวเวอร์ ถ.พระราม 3
   เวลา 8.30-12.30 น. การสัมมนา ในหัวข้อ “มองชีวิตมีชีวา...ใช้เวลาให้รื่นรมย์” โดย นพ.สุกมล วิภาวีพลกุล วิทยากรผู้มีชื่อเสียงที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นกูรูผู้ชี้แนวทางการสร้าง สุขให้ชีวิต ผู้เข้าสัมมนาจะได้ทราบถึงการจัดการกับความเครียด วิธีการจัดลำดับความสำคัญของงาน 4 ระดับ เป็นต้น เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างแท้จริง
 
          โดย กิจกรรมสัมมนาหัวข้อที่น่าสนใจ เป็นอภินันทนาการความรู้สู่ประชาชน ฟรี ผู้สนใจติดต่อสำรองที่นั่งด่วน! (จำนวนจำกัด) ที่ Supalai Smart Center โทร.02-725-8899 Email : supalaifanclub@gmail.com หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.supalai.com

 



วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม 2553 เวลา : 9.00 am - 5:00 pm ณ Microsoft Innovation Center, ตึกสาธานี , ห้อง 702

งาน ThaiSQLCLub Meeting ครั้งนี้จัดโดย codetoday.net ลงทะเบียนได้ที่ http://thaisql.codetoday.net/ ครับ

วัน : เสาร์ที่ 30 ตุลาคม 2553
เวลา : 9.00 am - 5:00 pm
ค่าใช้จ่าย : Free
# ที่นั่ง : 70 ที่
สถานที่ : Microsoft Innovation Center, ตึกสาธานี , ห้อง 702
Agenda & Registeration : http://thaisql.codetoday.net



วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2553 เวลา 13.00-16.00 น. ร้านโอบองแปง อาคารเอ็มไทย ออลซีซันส์เพลส ถ.วิทยุ

บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด ขอเชิญนักลงทุน และผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนา เจาะลึกการลงทุนอย่างครบวงจร “ปี 54: หมีหรือกระทิง จริงหรือหลอก?” พบกับสุดยอดกูรู 3 ตลาดหลัก ทั้งด้านการลงทุนเรื่องหุ้น “จักรกริช เจริญเมธาชัย” ด้านอนุพันธ์ “สัญญา หาญพัฒนกิจพานิช” และด้านกองทุนรวม ”ชัญญา เพ่งพันธุ์พัฒน์” ในวันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2553 เวลา 13.00-16.00 น. ร้านโอบองแปง อาคารเอ็มไทย ออลซีซันส์เพลส ถ.วิทยุ สำรองที่นั่งด่วนที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ บล.โกลเบล็ก โทร. (02)672-5959


วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม 2553 เวลา 15.30 - 17.30 น. ณ อาคารเอนกประสงค์ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ท่าเตียน กรุงเทพฯ

รับสมัครวันนี้ – 23 ตุลาคม และ กิจกรรมในวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม 2553 เวลา 15.30 - 17.30 น. 
          ณ อาคารเอนกประสงค์ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ท่าเตียน กรุงเทพฯ

          มิวเซียมสยามขอเชิญร่วมงานเสวนา “คิดเป็น เห็นภาพ” ภายใต้แนวคิดกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้สามารถคิดเป็นภาพในสมอง เพื่อง่ายในการคิดและนำเสนอผลงาน พร้อมเรียนรู้การทำงานด้านการจัด Event หรือนิทรรศการ อาทิ อะไรคือ Event อะไรคือ Exhibition, Concept, Core Idea, Big Idea, Message, Content ฯลฯ 
          พร้อมวิธีเขียนโครงการจากวิทยากรมากความสามารถ รศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ อาจารย์ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณวิภว์ บูรพาเดชะ บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร happening คุณสัญใจ พูลทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แปลนโมทีฟ จำกัด

          พบกับเสวนา “คิดเป็น เห็นภาพ” 
          วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม 2553 เวลา 15.30 – 17.30 น. 
          ณ อาคารอเนกประสงค์ มิวเซียมสยาม ไม่เสียค่าใช้จ่าย!! สำรองที่นั่งด่วน รับเพียง 200 ที่ ตั้งแต่วันนี้ถึง 23 ตุลาคม 2553

          สอบถามและสำรองที่นั่ง: 02-225-2777 ต่อ 411 หรือ www.facebook.com/museumsiamfan



--

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันที่ 31 ตุลาคม 2553 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ขอเชิญชมละครเวทีล้อการเมืองเรื่อง “พิพิธทัศนาละครล้อการเมืองไทย ครั้งที่ 3”

       
         จัดโดยนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรควบตรี – โท ทางการบัญชีและบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง “พิพิธทัศนาละครล้อการเมืองไทย ครั้งที่ 3” ในวันที่ 31 ตุลาคม 2553 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ติดตามรายละเอียดได้ที่ Twitter : @ibmpplay53, Facebook : ibmpplay53


--

วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันที่ 16-17 ตุลาคม 2553 ณ อาคารศูนย์ประชุมชั้น 4 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ ถนนแจ้งวัฒนะ

สภาพัฒนาการเมือง จัดประชุมสมัชชาประชาธิปไตยชุมชน สู่การเมืองภาคพลเมืองที่เข้มแข็ง 16-17 ตุลาคม ปีนี้
    สภาพัฒนาการเมือง จะจัดประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมืองที่เข้มแข็ง
ครั้งที่ 1 ประจำปี 2553 เรื่องการประชุมสมัชชาประชาธิปไตยชุมชน สู่การเมืองภาคพลเมืองที่เข้มแข็ง เพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนาการเมือง สู่การเมืองภาคพลเมือง โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในประเทศและต่างประเทศ มาให้ข้อคิดเห็นและร่วมแลกเปลี่ยนกับผู้แทนชุมชนและประชาชนจากทุกภาคทั่ว ประเทศประมาณ 2,000 คน โดยใช้แผนพัฒนาการเมืองเป็นเครื่องมือให้เกิดการขับเคลื่อนการเมืองภาค พลเมือง ระหว่างวันที่ 16-17 ตุลาคม 2553   ณ  อาคารศูนย์ประชุมชั้น 4 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ  ถนนแจ้งวัฒนะ

                การ ประชุมสมัชชาประชาธิปไตยชุมชนในครั้งนี้ แบ่งการประชุมออกเป็น 2 วัน โดยในวันแรกนายสน รูปสูง  รองประธานสภาพัฒนาการเมืองคนที่ 1  เป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายเรื่อง ประชาธิปไตยชุมชนเพื่อการขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมืองเข้มแข็ง ในช่วงบ่ายเป็นการนำเสนอผลการศึกษาพื้นที่ต้นแบบและข้อเสนอเชิงนโยบาย “การศึกษาประชาธิปไตยชุมชน” จากผู้แทนชุมชน และผู้แทนนักวิชาการ  เพื่อร่วมสังเคราะห์หาฉันทามติ ต่อข้อเสนอเชิงนโยบายในระดับภูมิภาค  โดยใช้แผนพัฒนาการเมืองเป็นเครื่องมือ 
                

                 ส่วนวันที่สอง จะเป็นการอภิปรายเรื่อง “ การสร้างพลังอำนาจทางการเมืองของภาคประชาชน”  โดยผู้ทรงคุณวุฒิชาวไทยและชาวต่างประเทศ เช่นอดีตรัฐมนตรีว่าการประทรวงสวัสดิการและพัฒนาสังคมประเทศฟิลลิปปินส์  เป็นต้น และมีการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนหลายประเด็น เช่นเรื่อง  “การแก้ไขปัญหาชุมชน เริ่มต้นที่การพึ่งพาตนเอง” “ประชาธิปไตยชุมชนกับการจัดการทรัพยากร” “ประชาธิปไตยชุมชนกับการสร้างการเมืองสมานฉันท์” และ “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการส่งเสริมประชาธิปไตยชุมชน” เพื่อจัดทำสรุปสำหรับเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายต่อนายกรัฐมนตรี และ มีการ ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ บทบาทของรัฐบาลในการส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง”  โดยได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ     ทั้งนี้ การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมืองที่เข้มแข็ง ครั้งที่ 1 ประจำปี 2553 ในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อนำสรุปทุกภาคส่วนร่วมประมวลและสังเคราะห์เพื่อจัดทำข้อเสนอ นโยบายการสนับสนุนประชาธิปไตยชุมชนโดยใช้แผนพัฒนาการเมืองเป็นเครื่องมือ

                                       


รายงานความคืบหน้าการจัดประชุมเชิงปฏิบัตการฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กรกฏาคม 53)

รายงานความคืบหน้าการลงพื้นที่เก็บข้อมูล   (ข้อมูล ณ วันที่ 2 สิงหาคม 53)


กำหนดการสมัชชาประชาธิปไตยชุมชน สู่การเมืองภาคพลเมืองที่เข้มแข็ง (ณ วันที่ 12 ต.ค. 2553)

สถานที่จัดประชุม อาคารศูนย์ประชุม ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ


 

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันที่ 12 ต.ค.-6 พ.ย. ที่หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ


100 ปีชาตกาลอาจารย์เฟื้อ

มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม จัดงานแสดงนิทรรศการ "ชีวิตและผลงานในวาระ 1 ศตวรรษชาตกาลของ เฟื้อ หริพิทักษ์" เนื่องในวาระครบ 100 ปี ชาตกาลของเฟื้อ หริพิทักษ์ และวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากรครบรอบ 67 ปี ภายในงานจัดแสดงผลงานศิลปกรรมของอาจารย์เฟื้อกว่า 100 ชิ้น เป็นการจัดแสดงผลงานมากที่สุดเท่าที่เคยจัดแสดงมา นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น เสวนาเรื่อง "จากสมัยใหม่ สู่ศิลปะไทย" โดย ศ.เกียรติคุณ ประหยัด พงษ์ดำ และอาจารย์เทพศิริ สุขโสภา และการอนุรักษ์สัญจรจิตรกรรมฝาผนังภายในหอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ สนใจร่วมงานวันที่ 12 ต.ค.-6 พ.ย. ที่หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ สอบถามโทร.0-2849-7538 
 

 
“จากสมัยใหม่ สู่ศิลปะไทย”
ชีวิตและผลงานในวาระ ๑ ศตวรรษชาตกาลของเฟื้อ หริพิทักษ์”

มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยการสนับสนุนจาก สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม กำหนดจัดงานแสดงนิทรรศการ “ชีวิตและผลงานในวาระ ๑ ศตวรรษชาตกาลของเฟื้อ หริพิทักษ์” ระหว่างวันที่ ๑๒ ตุลาคม - ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ เนื่องในวาระที่ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นี้ นับเป็นวาระครบ ๑๐๐ ปี ชาตกาลของอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ ปูชนียบุคคลของลูกศิษย์ทั้งหลาย และเป็นทรัพยากรบุคคลสำคัญของชาติที่มีคุณค่าสูงส่ง และเนื่องในวาระวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากร ครบ ๖๗ ปี ในการนี้ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดการแสดงนิทรรศการดังกล่าว ในวันอังคารที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๘.๐๐ น. ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ

การจัดงานในครั้งนี้จะเป็นการจัดแสดงผลงานศิลปกรรมของอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ กว่าหนึ่งร้อยชิ้น ซึ่งเป็นการรวบรวมผลงานศิลปกรรมจริงของอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์มากที่สุดเท่าที่เคยจัดแสดงมา โดยประกอบด้วยการจัดกิจกรรมในหลากหลายมิติ ดังนี้

วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๓ ณ ท้องพระโรง วังท่าพระ ( หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร )
- การเสวนา “จากสมัยใหม่ สู่ศิลปะไทย” โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ประหยัด พงษ์ดำ และ อาจารย์เทพศิริ สุขโสภา ดำเนินรายการโดย อาจารย์ ดร.สุธา ลีนะวัต
- การขับเสภา โดย นายประทีป สุขโสภา

วันที่ ๑๒ ตุลาคม - ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- การแสดงนิทรรศการ “ชีวิตและผลงานในวาระ ๑ ศตวรรษชาตกาลของเฟื้อ หริพิทักษ์”

วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓ ณ วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
- อนุรักษ์สัญจรจิตรกรรมฝาผนังภายในหอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร วิทยากรโดย รองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- การจัดทำหนังสือวิชาการ

 
  url: http://www.su.ac.th


ขอเรียนเชิญอบรม โยคะกับการภาวนา 30 ตุลาคมนี้




จาก: Thousand Stars Foundation มูลนิธิพันดารา <1000tara@gmail.com>
วันที่: 10 ตุลาคม 2553, 22:01
หัวเรื่อง: ขอเรียนเชิญอบรม โยคะกับการภาวนา 30 ตุลาคมนี้
ถึง: Thousand Stars Foundation <1000tara@gmail.com>


เรียนทุกท่าน

 

มูลนิธิพันดารา ขอเชิญกัลยาณมิตรร่วมฝึกโยคะ เพื่อสุขภาพและสมาธิ และร่วมทำบุญในโครงการก่อสร้าง "พระศานติตารามหาสถูป" ดังรายละเอียดตามแนบ


วิทยากรนำฝึก : ครูดล (ธนวัชร์ เกตน์วิมุต)/ชีวิตสิกขา: เครือข่ายเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจชีวิต

สถานที่ : สโมสรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (สโมสร วปอ)

ถนนวิภาวดีรังสิต ดินแดง กทม. (ติดทางเข้ามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย)

วัน/เวลา : วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม 25533  เวลา 9.00-16.00  น.

ค่าใช้จ่ายในการฝึกปฏิบัติ : บริจาคตามกำลังศรัทธา รายได้ทั้งหมดสมทบทุนในการสร้างพระศานติตารามหาสถูป ณ ศูนย์ขทิรวัน หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

 

สำหรับท่านที่ลงทะเบียนไว้แล้ว โปรดแจ้งยืนยันการอบรมให้ทราบอีกครั้ง เพื่อจัดเตรียมอาหารได้ตามจำนวนคน และหากท่านใดไม่สามารถเข้าร่วมฝึกอบรมในวันและสถานที่ดังกล่าวได้ โปรดกรุณาแจ้งให้ทางมูลนิธิฯทราบ เพื่อให้ผู้ที่สนใจท่านอื่นได้ทำการลงทะเบียนต่อไป พร้อมกันนี้สามารถแจ้งความจำนงว่าสนใจคอร์สนี้ เพื่อทางมูลนิธิจะได้เก็บชื่อไว้สำหรับส่งข่าวคราวการอบรมในครั้งต่อไปให้ทราบ

 

หมายเหตุ :

1. หากท่านใดมีเสื่อโยคะอาสนะส่วนตัว โปรดเตรียมมาด้วย เนื่องจากมูลนิธิฯมีจำนวนจำกัดค่ะ  

2. โปรดแต่งกาย ชุดสบายๆ หลวมๆ สำหรับการฝึกโยคะ

3. ทั้งนี้มูลนิธิฯจัดเตรียมอาหารมังสวิรัติกล่อง เครื่องดื่ม และของว่างอย่างเรียบง่ายให้

4. แผนที่ สโมสร วปอ อยู่ในไฟล์แนบค่ะ

 

ลงทะเบียนที่ คุณพรรณพิไล โทร 080 610 0770 และ คุณสมบัติ โทร 087 008 1120


ด้วยความเคารพและกรุณา

พรรณพิไล 

โทร 080 610 0770

-- 





วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ขอเชิญร่วมโหวตไอเดียเพื่อโครงการส่งเสริมร้านการกุศลของ NGO กันครับ

ขอเชิญร่วมโหวตไอเดียเพื่อโครงการส่งเสริมร้านการกุศลของ NGO กันครับ

มาประชาสัมพันธ์ ชวนขอให้ช่วยกันไปโหวตไอเดียนี้ให้ผมหน่อยนะครับ เป็น

ผมส่งเข้าไปและก็เข้ารอบสุดท้ายแล้ว

ร่วมกันโหวต 5 ไอเดียสุดยอด ได้แล้ววันนี้ โดย "เข้าระบบ" หรือ "สมัครสมาชิก" ภายในเว็บไซต์เพื่อทำการโหวตไอเดียที่คุณอยากให้เป็นจริง
หมายเหตุ: สมาชิก 1 คน สามารถใช้สิทธิการโหวตได้ 5 คะแนนนะครับ จะกระจายการโหวตไปก็ย่อมได้

ไอเดียที่ผมเสนอ เพื่อส่งเสริมร้านการกุศลหรือธุรกิจเพื่อสังคมในรุปแบบต่าง ๆ สำหรับองค์กรพัฒนาเอกชนครับ

http://pm.go.th/ideasforthailand/ideas/135

จะเป็น ไอเดียให้รัฐจับคู่กับเอกชนที่ทำงานช่วยสังคม ใช้พื้นที่มาทำร้านการกุศล ซึ่งในเมืองไทยยังแทบไม่มีครับ ช่วยโหวตให้ผมหน่อยนครับ เผื่อจะได้เอาไอเดียไปทำให้เป็นจริงและช่วยประชาชนได้อีกมากเลย

คลิกเข้าไปแล้ว สมัครสมาชิก ก่อนนะครับ แล้วก็โหวต 1 ท่านโหวตได้ 5 คะแนนครับ จะโหวตให้ผม 5 คะแนนเต็มเลย หรือแบ่งให้ไอเดียอื่น บ้างก็ได้ เพราะมีไอเดียดีๆ อื่นๆ ด้วย
เผื่อว่าถ้าได้คะแนนระดับหนึ่ง แม้อาจไม่ถึง 1 ใน 5 แต่ถ้ามีคะแนนระดับหนึ่ง น่าจะมีน้ำหนักพอที่ผมจะดำเนินโครงการนี้ต่อโดยนำไปเสนอหน่วยงานที่คาดหวังโดยตรงต่างๆ ต่อน่ะครับ



สวนผักบ้านคุณตา สุขุมวิท 62 /รุ่นที่ 9 วันที่ 30 ตค 53 / รุ่นที่10 วันที่ 31 ตค 53

ประชาสัมพันธ์การอบรมปลูกผักค่ะ ฟรี

โครงการสวนผักคนเมือง


มูลนิธิศูนย์สื่อเพื่อการพัฒนาจัดอบรม ปลูกผักสวนครัวคนเมือง
รุ่นที่ 9 วันที่ 30 ตค 53
รุ่นที่10 วันที่ 31 ตค 53


เนื้อหา             หลักการการปลูกผักสวนครัวและเทคนิคผักเติบโต  ได้ลงมือปฏิบัติจริง
อบรมเสร็จแล้ว    แจกผักกระถางและน้ำหมักชีวภาพกลับบ้านด้วย
สถานที่อบรม      สวนผักบ้านคุณตา สุขุมวิท 62

อบรมครั้งนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ  รับจำนวนจำกัดรุ่นละไม่เกิน 20 ท่าน  สนใจรีบสำรองที่นั่งด่วนที่ 02-6170832

map 62.jpg (55.71 KB)

map 62.jpg


 


วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 09.30 - 16.00 น. ณ โรงแรมเวียงใต้ ถ.รามบุตรี บางลำพู

 


เครือข่ายละครกรุงเทพ (BTN) เรียนเชิญร่วมสัมมนาใน “โครงการสัมมนาระดมสมองค้นหาการจัดการโรงละครชุมชนอย่างยั่งยืน”

(ผู้เข้าร่วมสัมมนากรุณาตอบกลับ โดยแจ้งจำนวน และ รายชื่อ และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ)

เรียน ครู-อาจารย์-นักวิชาการด้านศิลปะการละคร
... ศิลปิน และ ผู้ประกอบการพื้นที่ทางศิลปะ
ชุมชนและประชาชน
สื่อมวลชนด้านศิลปวัฒนธรรม
ผู้สนับสนุน-อุปถัมภ์ ภาครัฐบาล-ภาคเอกชน
และผู้สนใจทุกท่าน

สิ่งที่ส่งมาด้วย 1) รายละเอียดโครงการฯ
2) กำหนดการสัมมนา
3) แบบตอบรับ
download ได้จาก link นี้
http://cid-aed1039184741270.skydrive.live.com/redir.aspx?resid=AED1039184741270%2112973&authkey=1hnKFSZkiZ0%24
หรือ scroll down

ด้วย เครือข่ายละครกรุงเทพ ร่วมกับ ประชาคมบางลำพู และ แผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกเพื่อสื่อศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดทำโครงการสืบเนื่องจากเทศกาลละครกรุงเทพ 2552 โดยจัดเป็น โครงการสัมมนาระดมสมองค้นหาการจัดการโรงละครชุมชนอย่างยั่งยืน ดังรายละเอียดโครงการที่ส่งมาด้วยนี้

คณะทำงานฯ เห็นว่าท่านเป็นผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้ และประสบการณ์ กับโรงละครโรงเล็ก และหรือ โรงละครชุมชน ทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม จึงเรียนมาเพื่อขอเชิญท่านร่วมเป็นเกียรติเข้า ร่วมสัมมนา เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การจัดการโรงละครชุมชนอย่างยั่งยืน ใน วันศุกร์ที่ 8 และ วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม 2553 ณ โรงแรมเวียงใต้ (ห้องเทพประทาน ชั้น 7) ถ.รามบุตรี บางลำพู กรุงเทพมหานคร ตามเวลาในกำหนดการที่ส่งมาด้วยนี้

คณะทำงานฯ ตระหนักเป็นอย่างดีว่าการเรียนเชิญครั้งนี้ เป็นการเรียนเชิญที่กระชั้นชิด และปัจจุบันทันด่วนเกินไป แต่ด้วยความหวังที่จะทำให้โครงการดังกล่าวสำเร็จสมบูรณ์ยิ่งขึ้นจากความร่วมมือของทุกภาคฝ่าย จึงจำเป็นต้องจัดการสัมมนาครั้งนี้ขึ้นอย่างกะทันหัน จึงกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งในความกรุณาสละเวลาอันมี ค่ายิ่งของท่าน เพื่อเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อให้ข้อคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ อันมีค่ายิ่งต่อการดำเนินงานเชิงวิชาการ เกี่ยวกับ การจัดการโรงละครชุมชนอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นประโยขน์แก่การสร้างพื้นที่ของชุมชนทางศิลปะการละครร่วมสมัย และศิลปะร่วมสมัยแขนงอื่นๆ ต่อไปในอนาคต

ทั้งนี้ กรุณาตอบรับกลับมาทางผู้ประสานงาน เพื่อแจ้งรายนาม และ จำนวน ผู้มีความประสงค์เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดการด้านสถานที่และอาหาร-เครื่องดื่มรับรองท่านต่อไป และขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

ขอแสดงความนับถือ
นางสาวพิณทิพย์ สัตย์เพริศพราย
ผู้อำนวยการโครงการฯ

ประสานงานกลาง : นางสาวคคนันต์ นพคุณ (เบส) โทร. 08 4426 6680 e-mail khakanant@hotmail.com

หมายเหตุ จำนวนผู้เข้าร่วมสัมมนา แต่ละองค์กรสามารถเข้าร่วมสัมมนาได้ 2 ท่าน หากท่านมีความประสงค์เข้าร่วมสัมมนามากกว่า 2 ท่าน คณะทำงานฯ ยินดียิ่ง โดยกรุณาแจ้งกลับทางผู้ประสานงานล่วงหน้า

รายละเอียดโครงการ
โครงการสัมมนาระดมสมองค้นหาการจัดการโรงละครชุมชนอย่างยั่งยืน
โดย เครือข่ายละครกรุงเทพ ร่วมกับ ประชาคมบางลำพู
และ แผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกเพื่อสื่อศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

1. หลักการและเหตุผล
“เครือข่ายละครกรุงเทพ” ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2545 โดยความร่วมมือของ ครู-อาจารย์ด้านการละคร เพื่อรวมตัวกันถ่ายทอดองค์ความรู้ อันเป็นการต่อยอดภูมิปัญญาทางศิลปวัฒนธรรมจากอดีตสู่ปัจจุบัน และเป็นการร่วมมือกันของผู้สร้างสรรค์งานละครเวทีร่วมสมัย ในการนำเสนอผลงานศิลปะการละครร่วมสมัยอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศิลปะการละครให้เกิดคุณประโยชน์ต่อชาติในด้านวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และศิลปะวิทยาการ อันถือเป็นต้นทุนใหม่ทางวัฒนธรรมให้แก่สังคมไทย โดยสร้างและเสริมศักยภาพของบุคลากรทางการละครให้ก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒต์ ทางด้านศิลปวัฒนธรรม ปัจจุบันมีสมาชิกในเครือข่ายฯ กว่า 50 คณะ ประกอบด้วย คณะละครอาชีพที่ไม่มุ่งผลกำไร คณะละครหนุ่มสาววัยสร้างสรรค์ กลุ่มละครนักศึกษา และ ชุมนุม-ชมรมการละคร รวมทั้งภาควิชาศิลปะการละคร ในสถาบันต่างๆ นักวิชาการ และศิลปินละครอิสระ ได้ผสานกันอย่างกลมเกลียว เกื้อหนุนกันและกันจนเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งและเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น
ตลอดระยะเวลา 8 ปีที่เคลื่อนผ่านมานั้น เครือข่ายละครกรุงเทพ ได้จัดงาน “เทศกาลละครกรุงเทพ” ขึ้น สืบต่อกันมาเป็นประเพณี ณ สวนสันติชัยปราการ และในร้านอาหารบนถนนพระอาทิตย์ รวมถึงสถานที่ประเภทต่างๆ ย่านบางลำพู โดยร่วมมือกับ ประชาคมบางลำพู สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม และ องค์กรเพื่อสังคม องค์กรธุรกิจต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพื่อให้ผู้สร้างสรรค์และผู้ชมได้รับสาระประโยชน์ สาระบันเทิง และความสุขความประทับใจในบรรยากาศแห่งความอบอุ่นสนุกสนานของคนละคร
ผลจากการนำเสนอผลงานละครเวทีร่วมสมัยในงานเทศกาล ละครกรุงเทพ ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในพื้นที่เล็กๆ อันหลากหลายย่านบางลำพู เรื่อยมาจนกระทั่งใน พ.ศ. 2553 นี้ สมาชิกของเครือข่ายละครกรุงเทพ ได้ขยายเส้นทางของศิลปะการแสดงไปยังส่วนต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร โดยก่อกำเนิดโรงละครเล็กๆ เพื่อเป็นพื้นที่ของตนเองขึ้น ด้วยกำลังทรัพย์อันพอมี โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเลี่ยงการเช่าโรงละครเวที ใหญ่ๆ ดังที่ละครกระแสหลักนิยมใช้กัน ซึ่งศิลปินและคณะละครเวทีร่วมสมัย เฉกเช่น สมาชิกเครือข่ายละครกรุงเทพ ทั้งหลายไม่อาจจะมีทุนทรัพย์พอจะเช่าพื้นที่ใหญ่ราคาสูง เพื่อเสนอผลงานได้
ปัจจุบัน “โรงละครโรงเล็ก และหรือ โรงละครชุมชน” ของสมาชิกเครือข่ายฯ ได้รับการยอมรับจาก ศิลปินผู้ใช้โรงละครเป็นพื้นที่เผยแพร่ผลงาน และผู้ชมที่ได้เสพศิลปะการละครที่เป็นประโยชน์อย่างต่อเนื่องเสมอมา แม้ว่าศิลปิน หรือ คณะละครผู้เป็นเจ้าของจะประสบความสำเร็จมากบ้างน้อยบ้าง ตามปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการบริหารจัดการ
เครือข่ายละครกรุงเทพ เห็นสมควรว่าควรใช้กระแสการเติบโตของโรงละครทางเลือกเล็กๆ ที่กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นรายรอบกรุงเทพฯ ตามการขานรับของผู้ชม และเริ่มหันมาเห็นคุณค่าของโรงละครโรงเล็กๆ ยึดมั่นเป็นพื้นที่ทางเลือกเพื่อใกล้ชิดกับละครร่วมสมัยที่สามารถนำสาระชีวิตผ่านศิลปะให้เข้าถึงชุมชนได้อย่างสม่ำเสมอมากขึ้นในขณะนี้ ส่งเสริมให้ก่อเกิดโรงละครทางเลือกเช่นนี้เพิ่มขึ้น และกระจายทั่วกรุงเทพ อย่างต่อเนื่องในระยะยาวต่อไปในอนาคต เพื่อเป็นการเพิ่มสุนทรียะในการดำเนินชีวิตของคนไทย และสร้างดัชนีความสุขมวลรวมในประเทศได้อย่างแยบยล และยั่งยืน
สืบเนื่องจาก “โครงการเทศกาลละครกรุงเทพ ๒๕๕๒” ซึ่งได้จัดทำเสร็จสิ้นไปแล้วนั้น “แผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกเพื่อสื่อศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)” ผู้อุปถัมภ์โครงการฯ ได้มีมติให้ “เครือข่ายละครกรุงเทพ” ร่วมกับ “ประชาคมบางลำพู” และ “แผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกเพื่อสื่อศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)” จัดตั้งคณะทำงานด้านวิชาการศึกษารูปแบบ วิธีการ ผลการดำเนินงาน อุปสรรค ปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหา ของโรงละครโรงเล็ก และหรือ โรงละครชุมชนที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย โดยสมาชิกของเครือข่ายละครกรุงเทพ ทั้งสมาชิกประเภทสามัญ และ สมาชิกประเภทวิสามัญ ผู้ให้ความร่วมมือกับเครือข่ายละครเป็นอย่างดีเสมอมา เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น
โดยทำการศึกษาจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (สัมมนา, สัมภาษณ์, เก็บข้อมูลจากสถานที่จริง) ได้แก่
1.1 8x8 Theatre corner
1.2 Crescent Moon Space
1.3 มะขามป้อมสตูดิโอ
1.4 โรงละครมรดกใหม่
1.5 Democrazy Theatre Studio
1.6 โรงละครชุมชนมันตา (ปัจจุบัน เปลี่ยนชื่อเป็น Monta Arts Space)
1.7 โรงละครหน้ากากเปลือย (Naked Masks Playhouse)
และศึกษาจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่
1.8 กลุ่มละคร ณ หนา แห่งนครลำปาง
1.9 โรงละครช้าง โดย พิเชษฐ กลั่นชื่น

ต่อจากนั้น คณะทำงานด้านวิชาการได้นำสรุปผลการศึกษามาสกัดความรู้นำเสนอเป็นความรู้ใหม่ คือ “แบบจำลองการจัดการโรงละครชุมชนอย่างยั่งยืน” โดยได้รับความกรุณาจาก “แม่ครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต อนันตกุล” ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) พ.ศ.2536 อนุเคราะห์ให้ใช้ “บ้านดุริยประณีต” หลังวัดสังเวช ย่านบางลำพู อันเป็นสถานที่ถ่ายทอดศิลปะการดนตรีและศิลปะละคร เป็นที่ตั้งของ “มูลนิธิดุริยประณีต” และเป็นที่ทำการ “คณะดุริยประณีต” วงดนตรีไทยซึ่งยังมีชีวิตชีวาอยู่ในยุคโลกาภิวัตน์ เป็นแบบจำลองการจัดการโรงละครชุมชนดังกล่า
ขณะนี้คณะทำงานด้านวิชาการได้ดำเนินงานมาถึงขั้นตอนสำคัญของการสกัดความรู้แล้ว นั่นคือการระดมสมองค้นหาการจัดการโรงละครชุมชน จึงจัดให้มี “โครงการสัมมนาระดมสมองค้นหาการจัดการโรงละครชุมชนอย่างยั่งยืน” ขึ้น

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อเผยแพร่สรุปผลการศึกษา “โรงละครโรงเล็ก และหรือ โรงละครชุมชน” ที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย โดยสมาชิกของเครือข่ายละครกรุงเทพ ทั้งสมาชิกประเภทสามัญ และ สมาชิกประเภทวิสามัญ ผู้ให้ความร่วมมือกับเครือข่ายละครเป็นอย่างดีเสมอมา เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น
2.2 เพื่อนำเสนอความรู้ใหม่ “แบบจำลองการจัดการโรงละครชุมชนอย่างยั่งยืนเบื้องต้น” ต่อผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
2.3 เพื่อแสวงหาข้อมูลจำเป็นประกอบ “แบบจำลองการจัดการโรงละครชุมชนอย่างยั่งยืน” จากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ในด้านของปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดความเป็นไปได้ และสามารถนำไปพัฒนาให้ใช้ได้จริง ก่อนนำ “แบบจำลองการจัดการโรงละครชุมชนอย่างยั่งยืน” เผยแพร่สู่สาธารณะต่อไป

3.กลุ่มเป้าหมาย

3.1ครู-อาจารย์-นักวิชาการด้านศิลปะการละคร และวัฒนธรรม ได้แก่
•ครู-อาจารย์-นักวิชาการ ด้านศิลปะการละคร, ละครเวที
•ครู-อาจารย์ -นักวิชาการ ด้านการจัดการบริหารศิลปวัฒนธรรม และ ธุรกิจสร้างสรรค์ :- การแสดง ละครเวที อุตสาหกรรมบันเทิง มรดกทางวัฒนธรรม
•ครู-อาจารย์-นักวิชาการ ผู้สนใจ

3.2 ศิลปิน และ ผู้ประกอบการพื้นที่ทางศิลปะ ได้แก่
• ผู้ประกอบการโรงละครโรงเล็ก และหรือ โรงละครชุมชน สำหรับนำเสนอผลงานละครเวที และศิลปะร่วมสมัยด้านอื่นๆ
• ผู้ประกอบการพื้นที่เล็กๆ หรือ พื้นที่ชุมชน สำหรับนำเสนอผลงานศิลปะร่วมสมัยด้านอื่นๆ
• ศิลปินละครเวทีร่วมสมัยผู้ใช้โรงละครโรงเล็ก และหรือ โรงละครชุมชน สำหรับนำเสนอผลงานละครเวที
• ศิลปินละครเวทีร่วมสมัย และ ศิลปินร่วมสมัยด้านอื่นๆ ผู้สนใจ

3.3 ชุมชนและประชาชน ได้แก่
• ผู้นำชุมชนต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่อันประกอบด้วยบุคลากร-มรดกทางวัฒนธรรม-ชุมชนเข้มแข็ง
• ผู้นำเยาวชนต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่อันประกอบด้วยบุคลากร-มรดกทางวัฒนธรรม-เยาวชน-ชุมชนเข้มแข็ง
• บุคลากรด้านศิลปวัฒนธรรมจากชุมชนต่างๆ
• ผู้แทนชุมชน-องค์กรด้านศิลปวัฒนธรรม และประชาชนผู้สนใจ

3.4 สื่อมวลชนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
• ผู้แทนจาก องค์กรสื่อด้านศิลปวัฒนธรรม-บันเทิง-ละครเวทีร่วมสมัย
• นักเขียน-นักวิจารณ์ ศิลปวัฒนธรรม-บันเทิง-ละครเวทีร่วมสมัย อิสระ
• สื่อมวลชนผู้สนใจ

3.5 ผู้สนับสนุน-อุปถัมภ์ ภาครัฐบาล
• ผู้แทนจาก แผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกเพื่อสื่อศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
• ผู้แทนจาก แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.)
• ผู้แทนจากกระทรวงวัฒนธรรม :- สำนักปลัดกระทรวงฯ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) หน่วยงานอื่นๆ ผู้สนใจ
• ผู้แทนจาก กรุงเทพมหานคร:- สำนักปลัดกทม. ฝ่ายวัฒนธรรม ฝ่ายวัฒนธรรมเขตพระนคร, ฝ่ายวัฒนธรรมเขตต่างๆ ผู้สนใจ
• ผู้แทนจาก กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
• ผู้แทนจาก ภาครัฐบาลอื่นๆ ผู้สนใจ

3.6 ผู้สนับสนุน-อุปถัมภ์ ภาคเอกชน
• ผู้แทนจาก ผู้ประกอบการภาคเอกชนที่เคยให้ความอนุเคราะห์ด้านต่างๆ แก่ เครือข่ายละครกรุงเทพ เช่น สถาบันปรีดี พนมยงค์ บ้านจิม ทอมป์สัน โรงภาพยนตร์ลิโด้ นิตยสาร Happening ฯลฯ
• ผู้แทนจาก ผู้ประกอบการภาคเอกชนที่มีนโยบายสนับสนุนศิลปวัฒนธรรม-การแสดง-ละครเวที ผู้สนใจ

4. วันเวลา และ สถานที่จัด
วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553
เวลา 09.30 – 16.00 น. ณ โรงแรมเวียงใต้ ถ.รามบุตรี บางลำพู
เวลา 18.00 – 19.00 น. ณ บ้านดุริยประณีต บางลำพู

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553
เวลา 09.30 – 16.00 น. ณ โรงแรมเวียงใต้ ถ.รามบุตรี บางลำพู

รวมจำนวน 2 วัน

5. ผู้รับผิดชอบโครงการ
นายประดิษฐ ประสาททอง เลขาธิการเครือข่ายละครกรุงเทพ เป็นผู้ควบคุมการดำเนินงาน
และมีคณะทำงานวิชาการศึกษาโรงละครชุมชน เครือข่ายละครกรุงเทพ ดังต่อไปนี้
1) นางสาวพิณทิพย์ สัตย์เพริศพราย
นักวิชาการอิสระ ด้านการจัดการศิลปะการแสดง - อำนวยการดำเนินงาน
(ครูป๊อก 08 6545 4020, 08 9895 4020 pock_pintip@hotmail.com, pock_pintip@yahoo.com, pockpintip@gmail.com)

2) นางสาวสุรวดี รักดี
นักวิชาการอิสระ ด้านศิลปะการแสดง และสื่อสำหรับเยาวชน – ช่วยดำเนินงาน
(อี๋ 08 6500 8682 ee2593@hotmail.com)

3) นายอภิรักษ์ ชัยปัญหา
อาจารย์ประจำ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
(อ.โย 08 1559 3847 yokeeac@gmail.com, yokee_ac@hotmail.com)

4) นางสาวมนัสกานต์ อินทรสังข์
อ.ประจำ คณะวิชาสื่อสารการแสดงและสื่อสมัยใหม่
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต – ศึกษาโรงละครชุมชนที่เกิดขึ้น
(อ.จิ๊บ 08 1550 4222 nu_jib@hotmail.com, arjarn_nujib@hotmail.com)

5) นางสาวชญาดา รุ่งเต่า
รักษาการณ์หัวหน้าภาควิชาสื่อสารการแสดง มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ – สกัดความรู้เป็นแบบจำลองโรงละครชุมชนอย่างยั่งยืน
(อ.ใหม่ 08 1353 2204 chayadarng@hotmail.com)

6) นางสาวสุทธาทิพย์ พยัคชาติ
นักวิชาการอิสระ ด้านศิลปวัฒนธรรม และสื่อสำหรับเยาวชน – วิเคราะห์ สกัดความรู้ เป็นข้อเขียนเชิงวิชาการ
(ก้อย 08 1842 2028 ku_koy@hotmail.com)

7) นางสาวคคนันต์ นพคุณ
ประสานงานกลาง (เบส 08 4426 6680 khakanant@hotmail.com)

และคณะทำงานจัดการจากเครือข่ายละครกรุงเทพ

6. รายละเอียดกิจกรรม (กำหนดการ)

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553
09.30 – 09.45 น.
ผู้ร่วมสัมมนาเดินทางมาถึง – ลงทะเบียน – รับประทานอาหารว่าง
ณ ห้องเทพประทาน ชั้น 7 โรงแรมเวียงใต้ ถ.รามบุตรี บางลำพู กรุงเทพฯ

09.45 – 10.00 น.
นางสาวพิณทิพย์ สัตย์เพริศพราย ผู้อำนวยการโครงการฯ ผู้แทนคณะทำงานวิชาการ เครือข่ายละครกรุงเทพ กล่าวถึงการดำเนินการโครงการฯ
นาย ประดิษฐ ประสาททอง เลขาธิการเครือข่ายละครกรุงเทพ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนา

10.10 – 10.30 น.
ปาฐกถาพิเศษ โดย วิทยากรพิเศษด้านศิลปวัฒนธรรมชุมชน (อยู่ระหว่างประสานงาน จะยืนยันนามของวิทยากรต่อไป)

10.30 – 12.00 น.
ผู้แทนคณะทำงานวิชาการ เครือข่ายละครกรุงเทพ นำเสนอ สรุปผลการศึกษา
เรื่อง “โรงละครโรงเล็ก และหรือ โรงละครชุมชน” ที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย โดยสมาชิกของเครือข่ายละครกรุงเทพ ทั้งสมาชิกประเภทสามัญ และ สมาชิกประเภทวิสามัญ ผู้ให้ความร่วมมือกับเครือข่ายละครเป็นอย่างดีเสมอมา เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น

12.00 – 13.00 น.
รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ณ ห้องอาหารรสสิรินทร์ ชั้น 1 (บุปเฟ่ต์)

13.00 – 14.30 น.
ผู้แทนคณะทำงานวิชาการ เครือข่ายละครกรุงเทพ นำเสนอ “แบบจำลองการจัดการโรงละครชุมชนอย่างยั่งยืนเบื้องต้น”

14.30 – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง

14.45 – 16.00 น.
ผู้แทนคณะทำงานวิชาการ เครือข่ายละครกรุงเทพ ตอบข้อซักถามเกี่ยวกับ “แบบจำลองการจัดการโรงละครชุมชนอย่างยั่งยืนเบื้องต้น”

16.00 – 18.00 น.
พักผ่อน หรือ เดินท่องเที่ยวย่านบางลำพู เลือกสรรอาหารรสเลิศได้ตามร้านค้าต่างๆ ตามอัธยาศัย

18.00 – 19.00 น.
ชมการแสดงที่ “แบบจำลองการจัดการโรงละครชุมชนอย่างยั่งยืนเบื้องต้น” ณ บ้านดุริยประณีต ถนนบางลำพู (หลังวัดสังเวช)

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553
09.30 – 09.45 น.
ผู้ร่วมสัมมนาเดินทางมาถึง – ลงทะเบียนแยกกลุ่ม
ณ ห้องเทพประทาน ชั้น 7 โรงแรมเวียงใต้ ถ.รามบุตรี บางลำพู กรุงเทพฯ

09.45 – 12.00 น.
สัมมนากลุ่มย่อยเพื่อรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง โดยมีผู้ดำเนินการสนทนาประจำกลุ่ม โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ตามกลุ่มเป้าหมาย แยกไปตามห้องประชุมต่างๆ ของโรงแรมเวียงใต้ (มีอาหารว่างบริการระหว่างสัมมนา)

12.00 – 13.00 น.
รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ณ ห้องอาหารรสสิรินทร์ ชั้น 1 (บุปเฟ่ต์)

13.00 – 14.30 น.
ผู้แทนกลุ่มนำเสนอผลสรุปความคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่ได้จากการสัมมนาประจำกลุ่

14.30 – 14.45 น.พักรับประทานอาหารว่าง

14.45 – 15.45 น. ถาม-ตอบข้อซักถามผลสรุปความคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่ได้จากการสัมมนาประจำกลุ่

15.45 – 16.00 น.
ผู้แทนคณะทำงานวิชาการ เครือข่ายละครกรุงเทพ สรุปการสัมมนา
ผู้แทนจาก แผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกเพื่อสื่อศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวปิดการสัมมนา


7. ประโยชน์ที่ได้รับ
7.1 ได้เผยแพร่สรุปผลการศึกษา “โรงละครโรงเล็ก และหรือ โรงละครชุมชน” ที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย โดยสมาชิกของเครือข่ายละครกรุงเทพ ทั้งสมาชิกประเภทสามัญ และ สมาชิกประเภทวิสามัญ ผู้ให้ความร่วมมือกับเครือข่ายละครเป็นอย่างดีเสมอมา เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น
7.2 ได้นำเสนอความรู้ใหม่ “แบบจำลองการจัดการโรงละครชุมชนอย่างยั่งยืนเบื้องต้น” ต่อผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
7.3 ได้ข้อมูลจำเป็นประกอบ “แบบจำลองการจัดการโรงละครชุมชนอย่างยั่งยืน” จากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ในด้านของปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดความเป็นไปได้ และสามารถนำไปพัฒนาให้ใช้ได้จริง ก่อนนำ “แบบจำลองการจัดการโรงละครชุมชนอย่างยั่งยืน” เผยแพร่สู่สาธารณะต่อไป

8. ตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
8.1 ปริมาณข้อมูลจำเป็นที่เพียงพอต่อการประกอบ “แบบจำลองการจัดการโรงละครชุมชนอย่างยั่งยืน” จากผู้เข้าร่วมสัมมนา ในด้านของปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดความเป็นไปได้ และสามารถนำไปพัฒนาให้ใช้ได้จริง
8.2 ระดับความพึงพอใจ และข้อเสนอแนะ ของผู้เข้าร่วมสัมมนา

9. วิธีประเมินโครงการ
9.1 ตรวจสอบความเพียงพอของปริมาณข้อมูลจำเป็นต่อการประกอบ “แบบจำลองการจัดการโรงละครชุมชนอย่างยั่งยืน” จากผู้เข้าร่วมสัมมนา ในด้านของปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดความเป็นไปได้ และสามารถนำไปพัฒนาให้ใช้ได้จริง ที่ได้จากผู้เข้าร่วมสัมมนา
9.2 ตรวจสอบความพึงพอใจ และข้อเสนอแนะ ของผู้เข้าร่วมสัมมนา

10. การรายงานผลการดำเนินงาน
10.1 จัดทำสรุปข้อมูล ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนา “แบบจำลองการจัดการโรงละครชุมชนอย่างยั่งยืนเบื้องต้น” เป็น “แบบจำลองการจัดการโรงละครชุมชนอย่างยั่งยืน” ในรูปแบบ รูปเล่มเชิงวิชาการ เพื่อนำเสนอเป็นรายงาน
10.2 จัดทำบันทึกการสัมมนาในรูปแบบวิดีทัศน์ ภาพนิ่ง และภาพนำเสนอ (presentation) เพื่อนำเสนอเป็นรายงาน







--